Page 43 - การวิจัยทางการวัดและประเมินผลการศึกษา
P. 43
5-33
เรื่องที่ 5.4.1 แนวทางการวดั ทักษะในศตวรรษท่ี 21 ดา้ นพทุ ธพิ ิสัย
สาระสงั เขป
แนวทางการวัดทักษะในศตวรรษท่ี 21 ประกอบด้วย แนวคิด และกรอบการวัดทักษะในศตวรรษ
ที่ 21 ดังรายละเอียดต่อไปน้ี
1. แนวคิดการวัดทักษะในศตวรรษท่ี 21
การวัดและประเมินผลการเรียนในปัจจุบัน เน้นการทดสอบเป็นหลัก จึงไม่สามารถท�ำให้ผู้เรียนมี
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 ได้ เนื่องจากข้อสอบส่วนใหญ่ มีลักษณะท่องจ�ำและมุ่งเน้นแต่เนื้อหา
ไม่ได้วัดตามประเภทและระดับข้ันพฤติกรรมท่ีระบุไว้ตามมาตรฐานตัวช้ีวัดการเรียนรู้รายวิชา นอกจากน้ัน
ยังไม่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะอ่ืนท่ีจ�ำเป็นต่อการท�ำงาน เช่น ความคิดสร้างสรรค์และการท�ำงาน
เป็นทีม เป็นต้น
ดังนั้น แนวคิดการวัดทักษะในศตวรรษท่ี 21 จึงเป็นการวัดที่ไม่เน้นท่ีแบบทดสอบอย่างเดียว แต่
ควรจะมีการประเมินท่ีหลากหลายโดยเน้นการท�ำผลงานเป็นทีม มีการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อสะท้อนการ
ปฏิบัติงานของผู้เรียนท่ีสามารถน�ำมาปรับปรุงแก้ไขผลงานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสามารถน�ำความรู้ไปใช้ใน
ชีวิตประจ�ำวันได้ ผลงานที่ได้อาจจะเก็บเป็นระบบแฟ้มสะสมงาน ส่วนเงื่อนไขการวัดและประเมินควรมี
หลากหลายมาตรฐานมากกว่าจะมีมาตรฐานเดียว
2. กรอบการวัดทกั ษะในศตวรรษท่ี 21
กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษท่ี 21 มีเป้าหมายไปท่ีการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะใน
ศตวรรษท่ี 21 โดยผู้เรียนจะใช้ความรู้ในสาระหลักไปบูรณาการส่ังสมประสบการณ์กับทักษะ 3 ทักษะเพื่อ
การด�ำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ ส่ือ และเทคโนโลยี
และทักษะชีวิตและอาชีพ
ดังน้ัน การวัดทักษะในศตวรรษท่ี 21 ด้านพุทธิพิสัย จึงต้องเน้นท้ังความสามารถในเน้ือหาวิชาท่ี
เรียนรู้ ความสามารถที่เป็นสาระแกนหลักท่ีน�ำไปใช้ในการท�ำงานได้ รวมทั้งทักษะเพื่อด�ำรงชีวิตในส่วนของ
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมที่วัดเกี่ยวกับความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์นวัตกรรม การคิดวิเคราะห์และการ
แก้ปัญหา และทักษะด้านสารสนเทศ ส่ือ และเทคโนโลยีท่ีเกี่ยวกับความรู้ด้านสารสนเทศ การรู้เท่าทันส่ือ
และการรู้ด้านเทคโนโลยี ส�ำหรับทักษะชีวิตและอาชีพส่วนใหญ่จะวัดด้านเจตพิสัยและทักษะพิสัยมากกว่า
ด้านพุทธิพิสัย
(โปรดอ่านเนื้อหาสาระโดยละเอียดในประมวลสาระชุดวชิ าหนว่ ยท่ี 5 ตอนที่ 5.4 เรื่องที่ 5.4.1)