Page 16 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 16
12-6 การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
1) การประมาณค่าพารามิเตอร์ (Estimation) เป็นเทคนิคการน�ำค่าสถิติจากกลุ่มตัวอย่าง
ไปคาดคะเนหรือประมาณค่าพารามิเตอร์ของประชากร ได้แก่ การประมาณค่าแบบจุด และแบบช่วง
2) การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) สถิติท่ีใช้อ้างอิง ได้แก่
- สถิติเพ่ือเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูล 1 กลุ่มหรือ 2 กลุ่ม โดยการทดสอบ
ค่าที (t-test) การทดสอบค่าซี (Z-test)
- สถิติเพ่ือเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลมากกว่า 2 กลุ่ม โดยการใช้การ
วิเคราะห์แปรปรวน (Analysis of Variance: ANOVA)
- สถติ เิ พอ่ื หาความสมั พนั ธข์ องขอ้ มลู ไดแ้ ก่ ไคสแควร์ (Chi-square) และการทดสอบ
นัยส�ำคัญของสหสัมพันธ์ (Correlation)
3. ลกั ษณะของตัวแปร
ข้อมูล (Data) เป็นค�ำที่ใช้เรียกข้อเท็จจริง ข่าวสาร ซ่ึงอาจเป็นตัวเลขหรือไม่เป็นตัวเลขก็ได้ เช่น
เพศ อายุ ความคิดเห็น ความพึงพอใจ ฯลฯ
ตัวแปร (Variables) คือคุณลักษณะของส่ิงที่ศึกษาซ่ึงเปลี่ยนแปลงค่าได้ในกลุ่มที่ศึกษา เช่น เพศ
แบ่งเป็น เพศชาย เพศหญิง ความพึงพอใจแบ่งเป็น มาก ปานกลาง น้อย ตัวแปรมีความส�ำคัญในการวิจัย
เพราะตัวแปรมีลักษณะและมาตรวัดแตกต่างกันจึงต้องเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลแตกต่างกันด้วย
ในท่ีนี้จะขอกล่าวถึงประเภทของตัวแปรและมาตรวัดตัวแปร ดังน้ี
โดยทั่วไปนิยมแบ่งตัวแปรการวิจัยเป็น 4 แบบ ได้แก่ ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม ตัวแปรเกิน และ
ตัวแปรเชื่อมโยง
3.1 ตวั แปรตน้ หรอื ตวั แปรอสิ ระ (Independent Variable) เป็นตัวแปรท่ีผู้วิจัยก�ำหนดข้ึนมา และ
มีอิทธิพลต่อตัวแปรอื่น เช่น เพศ อายุ รายได้ พฤติกรรมการเปิดรับสาร ฯลฯ
3.2 ตัวแปรตาม (Dependent Variable) เป็นตัวแปรท่ีมีค่าเปล่ียนแปลงตามตัวแปรต้น เช่น
เมื่อพฤติกรรมเปิดรับสาร (ตัวแปรต้น) เปล่ียนไป ความพึงพอใจ (ตัวแปรตาม) จะเปล่ียนตามตัวแปรต้น
ตัวแปรตาม เช่น ความพึงพอใจ ทัศนคติ ความคิดเห็น ฯลฯ
3.3 ตวั แปรเกนิ (Extraneous Variable) เป็นตัวแปรที่มีผลกระทบต่อตัวแปรตาม โดยผู้วิจัยไม่ได้
มุ่งท�ำการศึกษา แต่ท�ำให้ผลการวิจัยขาดความเท่ียงตรงได้ เช่น ประสบการณ์เดิม ความรู้พ้ืนฐานเดิม ฯลฯ
ตัวแปรชนิดน้ีควบคุมได้ในการวิจัยเชิงทดลอง
3.4 ตัวแปรเช่ือมโยง (Intervening Variable) เป็นตัวแปรสอดแทรกท่ีเกิดจากกระบวนการทาง
จิตวิทยา ผู้วิจัยคาดไม่ถึงว่าจะเกิด เช่น ความเบื่อหน่าย วิตกกังวล ตัวแปรชนิดนี้ไม่สามารถควบคุมได้ ฯลฯ
นอกจากน้ี ตัวแปรที่แบ่งตามประเภทการเก็บรวบรวมข้อมูล จะแบ่งเป็น ตัวแปรเชิงปริมาณ และ
ตัวแปรเชิงคุณภาพ
1) ตัวแปรเชิงปริมาณ (Quantitative Variable) เป็นตัวแปรท่ีวัดค่าเป็นตัวเลขได้ เช่น อายุ
รายได้ จ�ำนวนนับ ฯลฯ ตัวแปรเชิงปริมาณ ยังแบ่งออกเป็น ตัวแปรต่อเน่ือง (Continuous Variable) เช่น