Page 87 - การวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
P. 87
สถิติเพื่อการวิจัยเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 12-77
ตารางที่ 12.27 การเปรียบเทยี บความพึงพอใจของนกั ศกึ ษาจำ�แนกตามภมู ภิ าค (n = 77)
ภูมภิ าค แหล่งความแปรปรวน df SS MS F P
.42 .50
กลาง ระหว่างกลุ่ม 4 .06 .02
เหนือ ภายในกลุ่ม 74 8.54 .12
ใต้ รวม 78
ตะวันออกเฉียงเหนือ
กทม.
p < .05
จากตารางที่ 12.27 พบว่านักศึกษาท่ีมีภูมิภาคต่างกันมีความพึงพอใจไม่แตกต่างกัน
บทวิเคราะห์ การวิจัยเรื่องน้ีเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ซ่ึงมีวัตถุประสงค์เชิงบรรยายและ
เปรียบเทียบข้อมูลมากกว่า 2 กลุ่ม จึงใช้สถิติพรรณนาและสถิติอ้างอิง ดังนี้
วัตถุประสงค์ข้อ 1 ใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน เพราะเครื่องมือวิจัยเป็นมาตร
ประมาณค่า 5 ระดับ ส่วนวัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็นการเปรียบเทียบความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างจ�ำแนก
ตามภูมิภาค จึงต้องใช้สถิติอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) เพราะเป็นการเปรียบเทียบ
ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่ม ในที่นี้มี 5 ภูมิภาค
อย่างไรก็ตาม การวิจัยทางเทคโนโลยีและส่ือสารการศึกษาท่ีใช้สถิติอ้างอิงประเภทอื่น ได้แก่
การถดถอยพหูคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เส้นทาง นักวิจัยสามารถท�ำได้ ในที่นี้ขอยก
ตัวอย่างการวิจัยที่ใช้สถิติการถดถอยพหูคูณ การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เส้นทาง เพื่อให้
เข้าใจได้ ชัดเจนข้ึน ดังน้ี
1. การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) เป็นการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตั้งแต่
2 ตวั ขนึ้ ไป โดยทต่ี วั แปรหนง่ึ เปน็ ตวั แปรตามหรอื ตวั แปรเกณฑ์ และตวั แปรหนง่ึ เปน็ ตวั แปรอสิ ระหรอื ตวั แปร
ท�ำนาย ผลของการวัดความสัมพันธ์สามารถบอกได้ว่าตัวแปรอิสระหรือตัวแปรท�ำนายมีความสัมพันธ์กับ
ตัวแปรตามหรือไม่ ทิศทางของความสัมพันธ์เป็นอย่างไร