Page 14 - ไทยศึกษา
P. 14

๙-4 ไทยศึกษา

ตอนที่ ๙.๑
ข้อพินิจเบ้ืองต้นเก่ียวกับวรรณกรรมไทย

โปรดอา่ นหวั เร่อื ง แนวคดิ และวตั ถปุ ระสงค์ของตอนท่ี ๙.๑ แลว้ จงึ ศกึ ษารายละเอยี ดต่อไป

  หัวเร่ือง

          ๙.๑.๑ 	ความหมายของวรรณกรรมและวรรณศิลป์
          ๙.๑.๒		ปจั จยั ทสี่ ง่ ผลต่อวรรณกรรมไทย
          ๙.๑.๓ 	ประเภทของวรรณกรรม

  แนวคิด

          ๑.	 ว รรณกรรมมคี วามหมาย ๒ ประการ ความหมายอยา่ งกวา้ งหมายถงึ งานเขยี นทวั่ ๆ ไป
             ความหมายอย่างแคบตรงกับค�ำว่าวรรณคดี ซ่ึงหมายถึงงานเขียนที่แต่งดี มีคุณค่า
             ประกอบด้วยวรรณศิลป์ คือใช้ภาษาที่ไพเราะ แสดงอารมณ์และความรู้สึกนึกคิดของ
             มนุษยอ์ ย่างประณตี ในหน่วยการสอนนใี้ ชค้ ำ� วรรณกรรมในความหมายอย่างแคบ

          ๒.	 ป จั จัยทส่ี ง่ ผลตอ่ การเปล่ยี นแปลงและพัฒนาการของวรรณกรรมมหี ลายประการ ปจั จัย
             ที่ส�ำคัญ คือ เหตุการณ์บ้านเมือง ภาวะผู้น�ำ  อุปกรณ์การผลิตวรรณกรรม การศึกษา
             ของทวยราษฎร์ และอิทธิพลจากต่างประเทศ

          ๓.	 ประเภทของวรรณกรรมแบ่งได้ตามลักษณะของการประพันธ์และแบ่งตามลักษณะของ
             เนื้อหา หากแบ่งตามลักษณะการประพันธ์แบ่งได้เป็นร้อยกรองและร้อยแก้ว หากแบ่ง
             ตามเน้อื หาโดยรวมแบง่ ได้เปน็ วรรณกรรมแนวจรรโลงสงั คม วรรณกรรมแนวจรรโลงใจ
             และวรรณกรรมปัจจุบัน

  วัตถุประสงค์

          เมอ่ื ศึกษาตอนที่ ๙.๑ จบแล้ว นกั ศกึ ษาสามารถ
          ๑.	 อธบิ ายความหมายของวรรณกรรมและวรรณศิลป์ได้
          ๒.	 อธิบายปัจจัยท่สี ง่ ผลตอ่ วรรณกรรมไทยได้
          ๓.	 บอกความแตกตา่ งและจัดวรรณกรรมเขา้ ประเภทต่างๆ ได้
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19