Page 15 - ไทยศึกษา
P. 15

วรรณกรรมไทย  ๙-5

ความน�ำ

       วรรณกรรมเปน็ ผลิตผลทางภาษาทีบ่ นั ทกึ ประสบการณ์ชีวติ ประวัตขิ องสงั คม และการส่ือความ
รู้สึกนึกคิดของมนุษย์ วรรณกรรมเป็นงานศิลปะท่ีได้พัฒนาสืบทอดต่อมาจนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมท่ี
ส�ำคัญอย่างหนึ่งวรรณกรรมจึงเป็นเคร่ืองบ่งช้ีถึงความเจริญของประเทศชาติ แสดงถึงอารยธรรมที่มีมา
ยาวนาน “เพราะชาตทิ ยี่ งั ไมเ่ จรญิ หรอื ยงั ปา่ เถอื่ นอยนู่ นั้ การพดู จากนั กท็ ำ� แตพ่ อใหร้ เู้ รอ่ื งเทา่ นน้ั ไมม่ คี วาม
คดิ ทใี่ ชค้ �ำให้มศี ิลปะ เช่น แก้วกับอก เจ้าดวงมณฑาทอง คำ� ไพเราะเหลา่ น้ีจะเกดิ ขนึ้ ได้เม่อื มนุษย์มคี วาม
เจริญทางด้านความคดิ แลว้ เทา่ น้ัน”1

       การศึกษาวรรณกรรมจึงช่วยให้ผู้ศึกษาได้รู้และเข้าใจถึงลักษณะพิเศษประจ�ำชาติ วิถีชีวิตความ
เปน็ อยู่ คา่ นยิ ม ความเชอ่ื ขนบธรรมเนยี ม ประสบการณต์ า่ งๆ ของบรรพชนและคนรว่ มสมยั ทผ่ี สู้ รา้ งสรรค์
วรรณกรรมไดป้ ระมวลไวด้ ว้ ย

เรื่องท่ี ๙.๑.๑
ความหมายของวรรณกรรมและวรรณศิลป์

       คำ�  วรรณกรรม ปรากฏใชค้ รงั้ แรกในพระราชบญั ญตั คิ มุ้ ครองศลิ ปะและวรรณกรรม พ.ศ. ๒๔๗๕
เป็นค�ำที่แปลมาจาก literature หมายถึง งานเขียนทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด และมีความมุ่งหมาย
อย่างใด อาจใชค้ ำ� ประพนั ธร์ ้อยแก้วหรือร้อยกรอง อาจเป็นนทิ าน บทละคร นวนยิ าย เรือ่ งสัน้ บทความ
ตำ� รา ประกาศ คำ� อธบิ ายวธิ ีใช้สงิ่ ต่างๆ ใบปลวิ ฯลฯ

         1 กหุ ลาบ มลั ลกิ ะมาส. “วรรณคดี วรรณกรรม และวรรณศลิ ป.์ ” อนสุ รณน์ างราํ เพย จาํ ปรี ตั น.์ บรรณาการในงานฌาปนกจิ ศพ
๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๖ กรุงเทพฯ โรงพิมพส์ ่วนท้องถนิ่ กรมการปกครอง. น. ๓๕.
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20