Page 58 - การอ่านภาษาไทย
P. 58

๖-48 การอา่ นภาษาไทย
  เนื้อเรื่อง ความหมายของเรื่อง และทัศนะของผู้แต่ง การอ่านวรรณคดีอย่างที่กล่าวมาน้ี ต้องนับว่า
  บกพร่องและขาดสาระส�ำคัญไปอย่างน่าเสียดายท่ีสุด”
         “วรรณคดีมิใช่ส่ิงท่ีควรอ่านเพื่อฆ่าเวลา หรือเพื่อความเพลิดเพลินอย่างเดียว การอ่านเพ่ือ
  ความเพลิดเพลินเท่าน้ันจึงเป็นเสมือนกินแต่น้ํามะพร้าวเท่านั้น และท้ิงเน้ืออันอ่อนนุ่มและหวาน
  เสีย...การอ่านเพ่ือหาการสนับสนุนความคิดของตนในวรรณคดี หรือการอ่านเพื่อหนีชีวิตจริงก็น่า
  ต�ำหนิไม่น้อยเหมือนกัน เพราะเป็นการอ่านโดยใจแคบ โดยมีอคติ การอ่านในแง่เจ้าต�ำรา เพื่อ
  สบื สวนขอ้ เทจ็ จรงิ เกยี่ วกบั เหตกุ ารณท์ แ่ี วดลอ้ ม...จนไมน่ ำ� พาตอ่ เนอื้ เรอ่ื งและทศั นะของผแู้ ตง่ และ
  รูปศิลปะของวรรณคดีก็ดี นับเป็นการอ่านเขว ซ่ึงท�ำให้ขาดประสบการณ์อันแท้จริงที่ควรได้รับ
  จากหนังสือน้ัน...ผู้ศึกษาวรรณคดีต้องพยายามเข้าใจ และมองชีวิตในแง่ของกวีดูบ้าง วรรณคดีที่
  มอี ายมุ ากและยงั คงเปน็ ทนี่ ยิ มอยู่ ตอ้ งเปน็ วรรณคดที ม่ี คี วามดวี เิ ศษอยใู่ นเนอ้ื หาเปน็ สว่ นมาก ความ
  ดีวิเศษนี้ เป็นหน้าท่ีของนักศึกษาที่จะค้นหาและเพ่ือความสะดวกแก่การค้นหา ก็จ�ำเป็นท่ีจะต้อง
  ขจัดอคติและความคิดเดิมของตนเสียอย่างน้อยก็ช่ัวคราว การน้อมรับอารมณ์และทัศนคติของกวี
  เช่นน้ี เป็นการเพ่ิมพูนความจัดเจนของชีวิต (experience) ของเราข้ึนเป็นอเนกปริยาย...”

๒. ลักษณะวรรณศิลป์ในร้อยกรอง

       ผลงานร้อยกรองที่มีคุณค่านน้ั นอกจากมคี วามงามด้านภาษา และมีอรรถรสไพเราะเมอื่ อา่ นออก
เสยี งแลว้ ยงั มคี ณุ คา่ อน่ื ๆ อกี มาก เปน็ ตน้ วา่ ใหค้ วามเพลดิ เพลนิ ใหค้ วามรคู้ วามเขา้ ใจในชวี ติ ทต่ี อ้ งเผชญิ
กับสรรพส่ิงตา่ งๆ ทงั้ ในอดตี และปจั จุบัน แตว่ รรณกรรมน้ันๆ จะมีบทบาทดงั กลา่ วได้ ยอ่ มตอ้ งอดุ มด้วย
สุนทรียภาพอันเป็นความงามและคุณค่าทางศิลปะที่แสดงให้เห็นอัจฉริยภาพ และอารยธรรมอันสูงของ
คนในชาติ ซ่ึงลกั ษณะส�ำคัญของคณุ สมบตั ินน้ั คอื วรรณศิลป์

       วรรณศิลป์ หมายความวา่ ศลิ ปะในการเรยี งรอ้ ยถอ้ ยคำ� หรอื ประพนั ธห์ นงั สอื คำ� นม้ี ใี ชค้ รงั้ แรกใน
พระราชบญั ญตั ริ าชบณั ฑติ ยสภา พทุ ธศกั ราช ๒๔๘๕ วรรณศลิ ปน์ เี้ ปน็ สงิ่ ทเี่ สรมิ สรา้ งคณุ คา่ ของวรรณกรรม
ใหส้ งู กวา่ งานประพนั ธโ์ ดยทว่ั ไป และเปน็ สง่ิ ทด่ี งึ ดดู ใหผ้ อู้ า่ นมคี วามสนใจ ชน่ื ชม มคี วามดม่ื ดา่ํ ในรสตา่ งๆ
ของวรรณกรรมนน้ั ๆ

       วรรณศิลป์ มอี งค์ประกอบดังต่อไปน้ี
       ๒.๑ แต่งดี การแตง่ ดี หมายถึง มีศลิ ปะในการเสนอเรื่อง การใช้ภาษาให้มอี รรถรส มีความงาม
หรอื สนุ ทรยี ภาพ โดยเฉพาะในงานรอ้ ยกรอง ผแู้ ตง่ ตอ้ งมคี วามสามารถในการเลอื กสรรรปู แบบฉนั ทลกั ษณ์
ให้เหมาะสมกับเร่ือง เชน่ จะใช้โคลง ฉันท์ ร่าย กาพย์ กลอน หรือใชว้ ิธผี สมผสาน เช่น โคลงสลับกาพย์
ฉนั ทส์ ลบั รา่ ย โคลงและกาพย์ หรอื ใชก้ ลอนลว้ นๆ ซงึ่ กวผี แู้ ตง่ สามารถเลอื กใชจ้ ากรปู แบบทบี่ รรพบรุ ษุ ไทย
ไดป้ ระดษิ ฐค์ ดิ ไวอ้ ยา่ งหลากหลาย (ดงั กลา่ วมาขา้ งตน้ ) และเมอ่ื เลอื กรปู แบบดแี ลว้ ตอ้ งสามารถเลอื กสรร
ถ้อยค�ำบรรจุลงได้พอเหมาะพอดี และส่ือความหมายชดั เจน มลี กั ษณะของการประสานอยา่ งเหมาะสมท้งั
เสียงของคำ� และเนือ้ หาสาระ
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63