Page 38 - ประวัติศาสตร์การเมืองและเศรษฐกิจไทย
P. 38

12-28 ประวตั ศิ าสตร์การเมอื งและเศรษฐกิจไทย
       ปัญหาส�ำคัญทางการเมืองของรัฐบาลนายชวน หลีกภัยคือการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาค

ไม่มีเอกภาพ โดยลักษณะรัฐบาลผสมหลายพรรคท่ีมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนน�ำ แต่การขัดแย้งไม่ได้
เกิดขึ้นจากรัฐมนตรีท่ีต่างพรรคกันเหมือนรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ กลับเป็นความขัดแย้งในพรรค
เดียวกันและเป็นเรื่อง “เกาเหลา” กันส่วนบุคคลระหว่างนายศุภชัย พานิชภักด์ิ รองนายกรัฐมนตรีฝ่าย
เศรษฐกิจกับนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ซึ่งลามไปสู่การบริหารนโยบาย
เศรษฐกิจมหภาคที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรายงานต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน
รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ขั้นตอนปฏิบัติในการบริหารดังกล่าวท�ำให้เกิดการท�ำงานแบบโชว์เดี่ยว
ของรฐั มนตรกี ระทรวงการคลงั มากกวา่ จะเปน็ การรว่ มแรงรว่ มใจกนั ของฝา่ ยเศรษฐกจิ ของรฐั บาล นอกจาก
ทำ� ใหเ้ กดิ การลดทอนประสทิ ธภิ าพในการบรหิ ารเศรษฐกจิ มหภาคของรฐั บาลแลว้ ยงั ทำ� ลายความนา่ เชอ่ื ถอื
ของรฐั บาลโดยรวม25 ท้ังยงั สง่ ผลใหก้ ารแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ประสบผลสำ� เรจ็ เท่าท่คี วรอกี ดว้ ย

       การบริหารนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลมีอุปสรรคอีกประการหน่ึงคือการสร้างความคาดหวังแก่
ประชาชนในทศิ ทางทดี่ แี ตไ่ มส่ ามารถบรหิ ารใหส้ มดงั หวงั ได้ ดว้ ยการมองโลกในแงด่ หี รอื ทศั นะแบบสขุ นยิ ม
(optimism) ทคี่ าดหวงั ไปในทางบวกของเศรษฐกจิ เปน็ สญั ญาประชาคม ท้ังความคาดหวงั เก่ยี วกับภาวะ
เศรษฐกิจและความคาดหวังเกี่ยวกับนโยบาย แต่ท้ายท่ีสุดแล้วทีมงานเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่มีความ
สามารถจะบริหารเศรษฐกิจให้เป็นดังหวัง โดยเฉพาะการท�ำนายในแง่ดีว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวด้วยอัตราที่
เปน็ บวกและในเวลาทรี่ วดเรว็ กวา่ ทเ่ี ปน็ จรงิ กด็ ี และมอี ตั ราเตบิ โตทสี่ งู กวา่ ทเ่ี ปน็ จรงิ กด็ ี ลว้ นแลว้ แตท่ ำ� ลาย
ความนา่ เชอื่ ถอื ของรฐั บาลในการบรหิ ารเศรษฐกิจ ซ้�ำยังไมย่ อมรบั ฟงั ค�ำวจิ ารณจ์ ากคนในรฐั บาลและนอก
รัฐบาลเพ่ือปรับปรุงนโยบายอีกด้วย26 และเมื่อความศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเริ่มลดน้อยลง
นายชวน หลีกภัยจึงได้ประกาศยบุ สภา และก�ำหนดให้มกี ารเลือกตง้ั ใหม่ในวนั ท่ี 6 มกราคม 2544
กิจกรรม 12.3.1

       ปัญหาสำ� คญั ทางการเมอื งของรฐั บาลนายชวน หลีกภัย ในสมยั ที่ 2 คอื อะไร
แนวตอบกิจกรรม 12.3.1

       ปัญหาส�ำคัญทางการเมืองของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ในสมัยที่ 2 คือ การบริหารนโยบาย
เศรษฐกจิ มหภาคไมม่ เี อกภาพ โดยลกั ษณะรฐั บาลผสมหลายพรรค แตก่ ารขดั แยง้ เปน็ ความขดั แยง้ ในพรรค
เดยี วกนั นำ� ไปสู่การลดทอนประสิทธภิ าพในการบริหารเศรษฐกจิ มหภาคของรฐั บาลแลว้ ยังท�ำลายความ
นา่ เชอ่ื ถอื ของรฐั บาลโดยรวม ทงั้ ยงั สง่ ผลใหก้ ารแกไ้ ขปญั หาเศรษฐกจิ ไมป่ ระสบผลสำ� เรจ็ เทา่ ทคี่ วรอกี ดว้ ย

         25 รงั สรรค์ ธนะพรพนั ธ,์ุ เศรษฐกจิ ไทยหลงั วกิ ฤตการณ์ ปี 2540, (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545), 228-231.
         26 รงั สรรค์ ธนะพรพันธุ์, เศรษฐกจิ ไทยหลังวิกฤตการณ์ ปี 2540, (กรุงเทพฯ: คบไฟ, 2545), 237-239.
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43