Page 31 - วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
P. 31
ภูมิทัศนว์ ฒั นธรรมกับการทอ่ งเทีย่ ว 14-21
น. 16) ไดส้ รปุ นยิ ามของภมู ทิ ศั นว์ ฒั นธรรมเอาไวว้ า่ เปน็ สงิ่ ทสี่ ะทอ้ นออกมาในลกั ษณะทเ่ี ปน็ รอ่ งรอย หลกั
ฐานทแ่ี สดงให้เห็นถึงการเปล่ียนแปลงทเ่ี กิดข้ึนกบั พื้นที่ ท้งั ผืนแผ่นดนิ พนื้ ที่ภมู ปิ ระเทศ ไปจนถงึ สภาพ-
แวดล้อมต่างๆ โดยมนุษย์ (เน้นโดยผู้เขียน) อันเป็นผลสืบเน่ืองมาจากการด�ำเนินกิจกรรมท่ีสัมพันธ์กับ
บริบทของคนแตล่ ะกลุม่ ซ่งึ แสดงออกท้ังในเชงิ ท่ีเป็นรปู ธรรมและนามธรรม (เนน้ โดยผเู้ ขยี น) มีการสัง่ สม
สืบทอดมาอย่างยาวนาน ส�ำหรับสิ่งท่ีเป็นรูปธรรมในท่ีน้ีคือ สิ่งท่ีจับต้องได้ (Tangible) ยกตัวอย่างเช่น
การตั้งถน่ิ ฐานอยูร่ วมกนั เปน็ กลุ่ม การสรา้ งบา้ นเรือน การจดั การชลประทาน การสรา้ งเส้นทางคมนาคม
พื้นที่การเกษตร ส�ำหรับตัวอย่างของส่ิงที่เป็นนามธรรมในที่น้ีคือ สิ่งท่ีจับต้องไม่ได้ (Intangible) เช่น
ความคดิ ความเชอ่ื ความรสู้ กึ ทม่ี ตี อ่ พน้ื ที่ หรอื สถานทซ่ี ง่ึ สามารถรบั รไู้ ดจ้ ากวถิ ขี องผคู้ นและสภาพแวดลอ้ ม
ในพ้ืนที่น้ันๆ หรืออาจเกิดจากประสบการณ์ส่วนบุคคลก็ได้ ดังกล่าวน้ีท�ำให้พื้นท่ีหรือสถานท่ีน้ันๆ มี
อัตลักษณเ์ ฉพาะ
ยอ้ นกลบั ไปกอ่ นหนา้ นนั้ ในหนังสือสถาปัตยกรรมไทยพน้ื ถิน่ ที่ตพี ิมพใ์ น พ.ศ. 2525 ในโอกาส
ทปี่ ระเทศไทยเฉลมิ ฉลองกรงุ รตั นโกสนิ ทรม์ อี ายคุ รบ 200 ปี ในหนงั สอื เลม่ นไี้ ดก้ ลา่ วถงึ ภมู ทิ ศั นว์ ฒั นธรรม
ไว้เช่นกัน น้ันก็แสดงให้เห็นว่าค�ำค�ำน้ีน�ำมาใช้ในแวดวงวิชาการไทยมาก่อนที่แนวคิดนี้จะเข้าสู่อนุสัญญา
มรดกโลกใน ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) แต่กย็ ังไม่มหี ลกั ฐานแน่ชดั ว่าใช้เปน็ ครัง้ แรกเม่อื ใด ในหนังสอื ดงั
กล่าวก็ได้อธิบายเกี่ยวกับภูมิทัศน์วัฒนธรรม ซ่ึงสรุปได้ว่า เป็นการกระท�ำของมนุษย์ที่สัมพันธ์กับสภาพ
แวดล้อมทางกายภาพ เป็นไปในเชิงของการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ขึ้นมา เช่น บ้านเรือน ถนน อาคาร
สาธารณะต่างๆ พ้ืนที่ศูนย์กลางชุมชน ขณะเดียวกันส่ิงที่สร้างข้ึนน้ีก็ได้กลายเป็นส่ิงท่ีสะท้อนให้เห็นว่า
มนษุ ย์มีเง่ือนไขในการดำ� เนนิ วิถชี ีวติ อยา่ งไร มรี ากฐานความคดิ ความเช่อื อย่างไร ซง่ึ ในแต่ละพืน้ ท่กี จ็ ะมี
ความแตกต่างกันออกไปตามแต่บรบิ ท (เทียมสรู ย์ สิริศรศี ักด์ิ และ Natsuko Akagawa, 2553, น. 108-
109)
กลา่ วโดยสรปุ การใหค้ ำ� อธบิ ายเกยี่ วกบั ภมู ทิ ศั นว์ ฒั นธรรมในชว่ งทผ่ี า่ นมามอี ยอู่ ยา่ งหลากหลาย
หากแต่สิ่งท่ีเป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ การผสมผสานระหว่างการท�ำงานของธรรมชาติ และมวล
มนษุ ยชาติ ซงึ่ ไดช้ ใ้ี หเ้ หน็ อยา่ งชดั เจนวา่ สงิ่ ทเ่ี กดิ ขนี้ อยา่ งหลกี เลย่ี งไมไ่ ดก้ ค็ อื ความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งผคู้ น
และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่อยู่รอบตัว และเป็นท่ีแน่นอนว่าในบริบทพ้ืนที่ซึ่งมีความแตกต่างกันก็
ย่อมที่จะสะท้อนภูมิทัศน์วัฒนธรรมท่ีแตกต่างกันออกไปด้วย ดังกล่าวน้ีเห็นได้ง่ายๆ จากการมีเทคนิค
เฉพาะ หรือรูปแบบเฉพาะเก่ียวกับการใช้พื้นท่ี การแสดงออกทางด้านความเชื่อที่สัมพันธ์กับในเร่ืองของ
จติ วิญญาณทีส่ ัมพนั ธก์ บั ธรรมชาตริ อบตัว
ภายหลังจากองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้
ประชมุ มรดกโลก ใน ค.ศ. 1992 โดยได้น�ำเอา Cultural Landscape รวมไวเ้ ปน็ ประเภทหนึ่งมรดกโลก
ในอนุสญั ญามรดกโลก เป็นผลท�ำให้คำ� ค�ำนเี้ ป็นทร่ี ู้จักกนั อย่างแพร่หลายมากข้ึน และกไ็ ด้ทำ� ใหค้ ำ� คำ� นไ้ี ป
ปรากฏอย่ใู นบริบทของการด�ำเนนิ การท่ีเป็นไปเพื่อการอนรุ ักษ์ รกั ษา คมุ้ ครอง ปกปอ้ ง และพฒั นา และ
ในส่วนต่อไปนี้ผู้เขียนจะอธิบายในส่วนท่ีเก่ียวข้องกับแนวคิดที่เกี่ยวเนื่องกับค�ำนี้ เพ่ือท่ีจะช้ีให้เห็นว่ามี
ทิศทางเป็นอยา่ งไร และมกี ารน�ำไปปรับประยกุ ตใ์ ช้ในบริบทใด อย่างไรบ้าง โดยมีรายละเอยี ดดังตอ่ ไปน้ี