Page 40 - วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยว
P. 40

14-30 วัฒนธรรมกับการทอ่ งเทย่ี ว

บทประพนั ธข์ องเขาเรอ่ื ง The Gentleman in the Parlour: A Record of a Journey From Rangoon
to Haiphong แปลเปน็ ภาษาไทยวา่ สภุ าพบรุ ษุ ในหอ้ งพกั ผอ่ นของโรงแรม : บนั ทกึ การเดนิ ทางจากยา่ งกงุ้
(ประเทศเมียนมา) ถึงไฮฟอง (ประเทศเวียดนาม) (แปลโดยผู้เขียน) ท้ังยังเป็นท่ีน่าสนใจว่าการจัดท�ำ
หนังสือน�ำเที่ยวก็เป็นปัจจัยส�ำคัญอย่างหน่ึงท่ีท�ำให้สยาม/ไทยเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างชาติด้วย เห็นได้
จากการทท่ี างการรถไฟแหง่ ประเทศไทยไดต้ พี มิ พห์ นงั สอื ทมี่ ชี อื่ วา่ Guide to Bangkok with Notes on
Siam แปลเปน็ ภาษาไทยวา่ แนะนำ� กรงุ เทพมหานครกบั จดหมายเหตสุ ยาม (แปลโดยผเู้ ขยี น) ซงึ่ แตง่ โดย
อีริค ไซเดนฟาเดน (Erik Seidenfaden) นักชาติพันธุ์วิทยาและมานุษยวิทยาชาวเดนมาร์กท่ีเข้ามาใน
ประเทศไทยในช่วง ค.ศ. 1906-1947 แต่ทว่าหนงั สือท่ไี ดร้ บั ความนยิ มเปน็ อยา่ งมากคอื โลนลี แพลนเนต็
(Lonely Planet) ซ่ึงเป็นช่ือท่ีคุ้นกันในบริบทร่วมสมัย โดยหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1982 ได้ให้ข้อมูล
เก่ยี วกบั การท่องเทีย่ วไทย วถิ ีการด�ำเนินชวี ิต ศลิ ปะ ฯลฯ (Beek, Steve Van, (2016) (ฉบับแปลภาษา
ไทย ไมม่ ีการระบุเลขหนา้ ))

       การปรับตัวของชนช้ันน�ำสยามในบริบทของการรับอิทธิพลแบบตะวันตกเข้ามาปรับใช้กับตนเอง
น้ัน จะเห็นได้ว่าการท่องเท่ียวเปน็ กจิ กรรมการพักผอ่ นเพ่อื ความเพลดิ เพลิน และเพื่อความรู้เปน็ กจิ กรรม
ทเ่ี กิดขน้ึ ในสงั คมสยาม/ไทย โดยจะเห็นไดว้ ่าในชว่ งปลายครสิ ต์ศตวรรษท่ี 19 ถึงต้นคริสตศ์ ตวรรษท่ี 20
มหี ลกั ฐานท่เี ปน็ บันทกึ การเดนิ ทาง บนั ทึกประจำ� วัน บันทึกความทรงจำ� ตา่ งๆ จากการเดินทางทอ่ งเที่ยว
เป็นจ�ำนวนมากโดยกลุ่มคนที่เดินทางท่องเที่ยวในเวลาดังกล่าวก็คือ ข้าราชการ ขุนนาง ปัญญาชนชาว
สยาม/ไทยทั้งในและนอกราชส�ำนัก ท้ังยังได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่อีกด้วย แม้ว่าหลายคนจะเดินทางเพ่ือ
ไปทำ� งาน แตก่ พ็ บวา่ กม็ ที เ่ี ดนิ ทางเพอื่ พกั ผอ่ น หรอื ทเี่ รยี กวา่ เทยี่ ว บนั ทกึ การเดนิ ทางของคนเหลา่ นถ้ี อื วา่
ส่ิงที่พวกเขาพบเห็นเป็นความรู้ (ธงชัย วินิจจะกูล, 2560, น. 51-52) ท้ังยังจะเห็นได้ว่ามีการน�ำเสนอ
ขอ้ มลู เกย่ี วกบั การทอ่ งเทย่ี วทเี่ ปน็ ไปในเชงิ ของการแนะนำ� ดว้ ย เหน็ ไดจ้ าก สมเดจ็ กรมพระยาดำ� รงราชา-
นุภาพท่ีทรงแนะน�ำสถานท่ีท่องเท่ียวในเมืองไทยไว้ในหนังสือ อธิบายเรื่องเที่ยวทะเลตะวันออก โดย
ทรงแนะน�ำไว้ 15 เสน้ ทาง ยกตวั อยา่ งเชน่ เสน้ ทางท่ี 2 เทยี่ วทางชายทะเลปกั ษใ์ ต้ จบั ตงั้ แตเ่ มอื งเพชรบรุ ี
ไปจนถึงเมืองตรังกานู เส้นทางที่ 4 เที่ยวทางล�ำน�้ำแม่กลอง จับตั้งแต่เมืองสมุทรสงครามขึ้นไปจนถึง
ไทรโยคและศรีสวัสดิ์ เส้นทางที่ 9 เทย่ี วนครราชสีมา ข้ึนทางสระบุรี ลงช่องตะโก เส้นทางที่ 12 เท่ียวหวั
เมืองเขตลาวพวน (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาด�ำรงราชานุภาพ6, 2504, น. 12-13 อ้างใน
ปิ่นเพชร จ�ำปา, 2545, น. 58) เป็นที่น่าสนใจว่าการท่องเที่ยวท่ีเกิดข้ึนยังมีความสัมพันธ์กับการรักษา
อาการเจ็บปว่ ย ซึ่งการเดนิ ทางไปในที่ซ่ึงมอี ากาศดเี ปน็ ค�ำแนะน�ำหนึ่งของแพทย์ โดยจะเหน็ ไดว้ า่ ในสมยั
พระบาทสมเดจ็ พระจลุ จอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) นนั้ ชนชั้นสูงนยิ มรกั ษาอาการเจบ็ ป่วยดว้ ยการ
ไปพักผ่อนตากอากาศ และมีการเดินทางไปตามท่ตี ่างๆ เพ่ือเพ่มิ พนู ความรู้ดว้ ย (ป่นิ เพชร จ�ำปา, 2545,
น. 56-59)

       จากงานศึกษาของปรีดี หงษส์ ตน้ เรือ่ ง Wela Wang: Technologies, Markets, and Morals
in Thai Leisure Culture, 1830s-1932 ซงึ่ เปน็ การศกึ ษาเกย่ี วกบั เวลาวา่ งในบรบิ ทของสงั คมสยาม/ไทย

         6 ด�ำรงราชานุภาพ, สมเดจ็ พระเจา้ บรมวงศ์เธอกรมพระยา. (2504). อธบิ ายเรือ่ งเทีย่ ว เท่ยี วทะเลตะวันออก. กรงุ เทพฯ:
คุรสุ ภา.
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45