Page 17 - ทฤษฎีและการวิจารณ์ภาพยนตร์
P. 17
ทฤษฎีภาพยนตรพ์ ื้นฐาน 2-7
แนวคิดของมุนสเตอร์เบิร์ก
หนังสือเรื่อง The Photoplay: A Psychological Study ของมุนสเตอร์เบิร์ก วิพากษ์ถึง
พัฒนาการของภาพยนตร์ทั้งในส่วนที่เป็นพัฒนาการภายนอกอันมาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยี (The
Outer Development of the Moving Pictures) และพัฒนาการภายในของภาพยนตร์เอง (The Inner
of the Moving Pictures) ตลอดจนอธบิ ายเกย่ี วกบั จิตวทิ ยาของภาพยนตร์ (The Psychology of the
Photoplay) และสุนทรยี ศาสตรข์ องภาพยนตร์ (The Esthetics of the Photoplay)
มนุ สเตอรเ์ บริ ก์ มคี วามเหน็ วา่ บรรดาของเลน่ และเครอื่ งมอื สรา้ งภาพเคลอ่ื นไหวลว้ นเปน็ การพฒั นา
ทางเทคโนโลยีของภาพเคล่ือนไหว ซึ่งเกิดจากความสงสัยใคร่รู้ทางวิทยาศาสตรข์ องนักวิทยาศาสตร์และ
นักประดิษฐ์นับจากฟาเรเดย์ (Faraday) จนถึงมายบริดจ์ (Muybridge) อันเป็นแรงกระตุ้นทาง
วิทยาศาสตรเ์ พอื่ ท่จี ะวิเคราะหแ์ ละท�ำความเขา้ ใจเกีย่ วกบั อาการเคลื่อนไหว มไิ ด้ค้นหาในสงิ่ ท่ีจะทำ� ใหม้ า
เป็นสื่อบันเทิงและศิลปะอย่างในปัจจุบัน จึงเป็นเพียงพัฒนาการชั้นนอกของภาพยนตร์ ส่วนพัฒนาการ
ช้ันในนั้นมุนสเตอร์เบิร์กมองว่าภาพยนตร์เป็นศิลปะแขนงใหม่ และเป็นศิลปะอิสระที่มิใช่อีกภาคหน่ึง
ของละครเวทีหรือตัวแทนของละครเวที แต่เป็นส่ือท่ีมีผลเกี่ยวพันกับกระบวนการทางจิต เขาชี้ให้เห็น
ว่าขณะท่ีชมภาพยนตร์น้ัน จินตนาการ การรับรู้ ความจ�ำและอารมณ์ของผู้ชมได้ถูกตัวสื่อหลอมรวมเข้า
ด้วยกันท�ำให้เห็นเป็นภาพเคล่ือนไหวลวงตาขึ้น พูดในเชิงจิตวิทยาก็คือภาพเคลื่อนไหวหรือภาพยนตร์
นั้นเกิดข้ึนภายในจิตใจซึ่งสร้างความเป็นจริงขึ้นมาน่ันเอง แล้วภาพยนตร์ก็ยังเป็นศิลปะรูปแบบใหม่ท่ี
เป็นอิสระจากละครเวที ด้วยภาพยนตร์สามารถถ่ายภาพฉากจริงๆ ได้ สามารถเปล่ียนฉากหน่ึงไปเป็น
อกี ฉากหนง่ึ ไดภ้ ายในพรบิ ตา แลว้ ยงั ชวนคนดมู องตามนกั แสดงไปยงั ทต่ี า่ งๆ และรวมฉากทงั้ หลายไวด้ ว้ ย
กนั เพอ่ื ใหเ้ ราสงั เกตไดว้ า่ มอี ะไรเกดิ ขน้ึ ในฉากเหลา่ นนั้ ในเวลาเดยี วกนั แมก้ ระทงั่ ยงั สามารถควบคมุ คนดู
ใหจ้ ดจอ่ อยกู่ บั รายละเอยี ดโดยการใชว้ ธิ กี ารถา่ ยภาพระยะใกล้ (close-up) ซงึ่ เปน็ ความแตกตา่ งจากละคร
เวที
มุนสเตอร์เบิร์กได้อธิบายถึงองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่เข้ามามีบทบาทต่อจิตใจของเราขณะท่ี
ก�ำลังชมภาพยนตร์ว่าคือ ความลึกและการเคล่ือนไหว (depth and movement) ความต้ังใจ (attention)
ความจ�ำและจินตนาการ (memory and imagination) รวมทั้งอารมณ์ (emotions)
ภาพแบนๆ บนจอภาพยนตรย์ อ่ มตา่ งจากภาพสามมติ ใิ นโลกจรงิ ทลี่ อ้ มรอบตวั เรา มนุ สเตอรเ์ บริ ก์
ชน้ี ำ� ต่อไปถงึ ความแตกต่างระหวา่ งสิ่งทเี่ ราร้กู ับส่ิงทเ่ี ราประทับใจ เขากล่าววา่ เม่ือน่ังชมภาพยนตร์ เราไม่
อาจพูดได้ว่าภาพที่เราเห็นบนจอน้ันเป็นภาพแบน (flat pictures) เปรียบเทียบกับการใช้กล้องสองตา
(stereoscope) ทีเ่ มอื่ เรามองในกลอ้ งไปยงั ภาพท่ีตา่ งกันเพยี งเล็กน้อย 2 ภาพ ท้ังทเี่ ราเห็นภาพแบนทง้ั
คู่แต่เราก็รูส้ ึกไดท้ นั ทถี ึง “ความลึก” ของภาพ เม่อื ไรกต็ ามทีส่ ายตาเห็นภาพสองภาพเชน่ น้นั ระบบจิตใจ
จะรวมเอาภาพน้นั เข้ามาไว้ การร้วู ่าภาพแบนไมไ่ ด้เกี่ยวข้องกับการรับรูใ้ นความลกึ ความลึกท่ีประทบั อยู่
ในใจถูกสร้างข้ึนด้วยองค์ประกอบจ�ำนวนหน่ึง อันได้แก่ ขนาด มุมมอง เงา และการเคลื่อนไหว โดย
มนุ สเตอรเ์ บริ ก์ เปรยี บเทยี บจอภาพยนตรเ์ หมอื นดงั จานแกว้ หากนำ� มายกสอ่ งดเู รากจ็ ะเหน็ ภาพในความลกึ
ทอ่ี ยดู่ า้ นหลงั จานแกว้ ออกไป ซง่ึ กเ็ หมอื นกบั การทเี่ ราจอ้ งมองจอภาพยนตร์ สายตาทงั้ สองขา้ งของเราเหน็