Page 35 - การวิจัยเบื้องต้นทางสารสนเทศศาสตร์
P. 35
แนวคดิ การวจิ ยั ทางสารสนเทศศาสตร์ 2-25
เรื่องท่ี 2.2.1
ความส�ำคัญของการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์
ในชว่ งหลายปที ผ่ี า่ นมาไดม้ คี วามพยายามผลกั ดนั ใหท้ กุ ฝา่ ยไดเ้ หน็ ความสำ� คญั ของการวจิ ยั และ
ใช้เปน็ เครือ่ งมือในการพฒั นา โดยบรรจไุ วใ้ นกรอบการพัฒนาประเทศซงึ่ ปรากฏในรูปของพระราชบัญญัติ
แผนพัฒนา นโยบาย ยุทธศาสตร์ ทเ่ี น้นให้เห็นความสำ� คญั ของการวจิ ัย ดงั เชน่ นโยบายและยุทธศาสตร์
การวิจัยแห่งชาติ ฉบับท่ี 9 พ.ศ. 2560-2564) มีวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาโดยใช้
การวิจัยและนวัตกรรม มีผลงานวิจัยท่ีมีคุณภาพ มีการน�ำองค์ความรู้และนวัตกรรมจากงานวิจัยไปใช้ให้
เกดิ ประโยชน์ได้จรงิ ในด้านสังคมและเศรษฐกิจ และมคี วามพร้อมดา้ นโครงสรา้ งพ้นื ฐานและบคุ ลากรด้าน
การวิจัยและพัฒนา เพ่ือสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ให้ม่ันคง มั่งค่ัง และยั่งยืน” ยุทธศาสตร์การวิจัย
และนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ไดก้ �ำหนดวสิ ัยทศั นว์ ่า “ประเทศไทยใชก้ ารวิจยั และนวัตกรรม
เป็นก�ำลังอำ� นาจแหง่ ชาติ เพ่ือก้าวไปสูป่ ระเทศท่ีพฒั นาแลว้ ภายใน 20 ปี ด้วยความมนั่ คง ม่งั ค่งั ยงั่ ยืน”
โดยเฉพาะอยา่ งยง่ิ ดา้ นการสรา้ งองคค์ วามรทู้ ม่ี งุ่ เนน้ การวจิ ยั พน้ื ฐานเพอ่ื สะสมความรู้ และการพฒั นาตอ่ ยอด
ด้านวทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี รวมถึงดา้ นสังคมและความเป็นมนษุ ย์ ทีม่ ีความเก่ียวข้องกบั การด�ำเนนิ
ชวี ติ ประจำ� วนั ของคนในสงั คม เชน่ การละเมดิ สทิ ธเิ สรภี าพ การปลกู จติ สำ� นกึ เปน็ ตน้ การจดั ทำ� พระราชบญั ญตั ิ
การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยการจัดต้ังสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติและส�ำนักงานของ
สภานโยบายวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่มีอ�ำนาจหน้าที่และบทบาทสอดคล้องกับพระราชบัญญัติฯ
ซง่ึ เชอ่ื มโยงกบั แผนพัฒนาเศรษฐกจิ และสงั คมแห่งชาติ ฉบับท่ี 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยทุ ธศาสตร์ที่ 8
การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วจิ ัย และนวตั กรรม (สภานโยบายและนวัตกรรมแหง่ ชาติ, 2560)
ในส่วนของการวิจัยทางสารสนเทศศาสตร์ นอกจากจะสอดคล้องและเก่ียวโยงกับแผนพัฒนา
นโยบาย หรือยุทธศาสตร์แล้ว ยังมีความส�ำคัญต่อการจัดการองค์การสารสนเทศ การพัฒนาองค์ความรู้
และวชิ าการทางสารสนเทศศาสตร์ การพฒั นาวิชาชีพทางสารสนเทศศาสตร์ และการพฒั นาสงั คม ดังนี้
1. ความส�ำคัญต่อการจัดการองค์การสารสนเทศ การวิจัยเป็นเคร่ืองมือส�ำคัญของผู้บริหาร
องคก์ ารสารสนเทศในการกำ� หนดนโยบายและยทุ ธศาสตร์ การกำ� หนดแผนและการปฏบิ ตั งิ าน กระบวนการ
วจิ ยั และผลการวจิ ยั จงึ มคี วามสมั พนั ธแ์ ละเกย่ี วขอ้ งโดยตรงกบั การวางแผน การตดั สนิ ใจ และการแกป้ ญั หา
ในองคก์ ารสารสนเทศ การวจิ ยั ประเภทตา่ งๆ ไมว่ า่ จะเปน็ การวจิ ยั เชงิ สำ� รวจ การวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพ การวจิ ยั
เชงิ ปฏบิ ตั ิการ การวจิ ยั ในงานประจ�ำ ฯลฯ ลว้ นมุ่งเน้นการน�ำผลการวิจยั มาใชแ้ ก้ปัญหา พัฒนา ปรับปรุง
และเพ่ิมประสิทธิภาพงานและองค์การสารสนเทศ ดังนั้น การวิจัยจึงมีบทบาทส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลง
องค์การสารสนเทศ สอู่ งค์การแหง่ การเรยี นรู้และองคก์ ารทท่ี นั สมัย มวี ฒั นธรรมการเรียนรู้และการบริหาร
จดั การบนฐานของการวจิ ัย