Page 22 - จุลยุทธการวงศ์
P. 22
จุลยุทธการวงศ์ 88 ฉบับความเรียง (ตอนต้น)
นิกรมฤคีสัตว์จตุบาททวิบาท แลท้องแถวธาราน้ำไหลในซอกห้วยคูหา
ศิลาดาษ รุกขชาติน้อยใหญ่ในประเทศท่ีนั้น ครั้นเสด็จพระราชดำเนินไป
ทอดพระเนตรแลไปแต่ข้างโน้นข้างน้ี จ่ึงได้เห็นซ่ึงนางนาคนิมิตตัวเป็นงู
เล็ก ยินดีด้วยราคจิตสังวาสกับด้วยงูดินรัดรึงซึ่งกายอันเกี่ยวพันกันอยู่ในที่
น้ัน พระองค์จึงพิจารณาดู เห็นงูตัวเมียน้ันรูปงามประหลาดคอแดงหงอน
แดง จึงแจ้งว่าน้ีชะรอยเป็นนางนาคตระกูลสูง จึงทรงพระดำริว่านางงูน้ีรูป
งามเป็นตระกูลนาคอันสูงศักดิ์ มิควรท่ีจะมารักสังวาสกับงูดินตระกูลต่ำ
คร้ันทรงพระราชดำริแล้ว เอาไม้เท้าเข้าเขี่ยค้ำคัดให้งูทั้งสองพลัดออกจาก
กันต่างตัวต่างไป นางนาคน้ันมีความละอายโกรธซ่ึงพญานั้น จึงคิดว่ากูควร
จะฆ่าเสียซึ่งพญานี้ ก็ให้บังเกิดไพรีตกใจกลัวด้วยบุญญานุภาพศีลแห่ง
พญานั้น มิอาจกระทำร้ายได้ ก็ปลาสนาการอันตรธานกลับคืนลงไปสู่นาค
พิภพแห่งตน เข้าไปสู่สำนักแห่งพระราชบิดามารดา นั่งในที่ควรแล้ว
นมัสการไหว้พระราชบิดามารดา โรทนฺตี แกล้งกระทำมารยาร้องไห้ด้วย
ความโกรธน้ัน จึงกล่าวโทษใส่ความแก่พญาสุกโขไทย๑ ว่า เทว ข้าแต่พระ
ราชบิดา ข้าพเข้าอำลาพระองค์ขึ้นไปรักษาอุโบสถศีลในถ่ินมนุษย์เที่ยวชม
ประเทศหาท่ีสบายที่ภูเขาหลวงใกล้เมืองสุกโขไทย ประเทศที่น้ันประดับ
ไปด้วยรุกขชาติลดาดาษเครือวัลย์ ภูเขาน้ันมีคูหาถ้ำห้วยเหว ชะเงื้อมผา
๑ในต้นฉบับเอกสารโบราณ สมุดไทยดำ หอสมุดแห่งชาติ เรื่องจุลยุทธการวงศ์ เลขท่ี
๑/ธ ๔๖ มัดท่ี๖ ใช้ว่า “พญาสุกโขไทย” แต่จุลยุทธการวงศ์ ฉบับพิมพ์วันท่ี ๑๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ และจุลยุทธการวงศ์ท่ีพิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคท่ี ๖๖ ฉบับ
พิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ และในประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๐ ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้เหมือน
กันว่า “พระยาสุโขทัย” คำว่า “พญา” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
และฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ หมายถึง เจ้าแผ่นดิน, ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า แต่ในสมัยสุโขทัย
ใช้ว่า พรญา