Page 30 - จุลยุทธการวงศ์
P. 30

จุล​ยุทธการ​วงศ์ 	 1166 ฉบับ​ความ​เรียง (ตอน​ต้น)
สุก​โข​ไทย ด้วย​เคารพ​โดย​สุจริต แล้ว​พญา​นั้น​จึง​พระราชทาน​เงิน​ทอง​
เครื่อง​อุปโภค​บริโภค​เป็น​อัน​มาก​แก่​บุรุษ​แก​่กับ​ทั้ง​ภริยา แล้ว​รับ​พระ​ราช
บุตร​นั้น​ไป​ส่​ูพระราชวัง ให้​ชำระ​สระ​สรง​พระองค์​สรีร​กาย​ลูบไล​้ทา​พระ​สุคนธ​์
ของ​หอม​บริบูรณ​์สรรพ​ประดับ​พระ​ภูษา​อลังการ์​รัต​นา​ภ​รณ​์สรรพ​พิจิตร​งาม​
เลิศ​แล้ว ให​้พระ​ราชบุตร​แก้ว​นั่ง​เหนือ​พระเพลา​พลาง​เชยชม​โสมนัส แล้ว​
จัด​เครื่อง​สัก​กา​ระ​พิธ​ีทำขวัญ​สมโภช ทำขวัญ ๓ วัน ตาม​บุราณ​ราช​
ประเพณ​ีสืบ​มา​ จำเดิม​แต่​น้ัน​เจ้า​ร่วง​ราช​ก​ุมา​นั้น เป็น​ท​่ีเสน่หา​รัก​ใคร​่แห่ง​
พระ​บิดา เข้า​เฝ้า​อุปัฏฐาก​พระ​บิดา​มา​ช้า​นาน​มี​ศรัทธา​เลื่อมใส​ใน​พระพุทธ​
ศาสนา จึง​ถวาย​บังคม​ลา​สมเด็จ​พระ​บิดา​บวช​ใน​พระพุทธ​ศาสนา​เป็น​
สามเณร​เล่า​เรียน​พรหมจรรย​์ม​ีสต​ิปัญญา​มาก เป็น​พหู​สูตร​ปรนนิบัติ​เป็น​อัน
​ด​ีตราบ​เท่า​ได​้อุปสมบท ปรากฏ​ด้วย​วาจา​สิทธ​์ิว่า​สิ่ง​ใด​เป็น​ส่ิง​นั้น ม​ีบุญ​ญาธิ​
การ​เดชานุภาพ​อิทธิฤทธิ​์มาก หา​ปุถุชน​จะ​เปรียบ​เสมอ​มิได้ คร้ัง​น้ัน​ท้าว​
พญา​ท้ัง​หลาย​ใน​สยาม​ประเทศ​ทุก​เมือง มี​เมือง​สุก​โข​ไท​เป็นต้น ไป​เป็น​
เมือง​ข้ึน​แก​่เมือง​กำ​ภ​ูชาธิ​บดี๑ มหานคร ​พระ​เจ้า​ล​โว๒ อัน​อย​ู่ใน​เมือง​ลพบุรี​
ส่ง​ส่วย​น้ำ​ใน​สระน้ำ​เสวย พระเจ้า​สุก​โข​ไท​ส่ง​ส่วย​น้ำ​อัน​ม​ีอยู่​ใน​ภูเขา​หลวง​ใส่​
ตุ่ม​บรรทุก​เกวียน​เข็น​น้ำ​น้ัน​ไปถวาย​แก​่พระเจ้า​กำ​ภู​ชาธ​ิบดี​มิได​้ขาด ณ
เมือง​กำภู​ชา​โน้น อยู​่มา​วัน​หนึ่ง​พระ​ภิกข​ุคือ​พระร่วง​นั้น เห็น​เขา​ขับ​เกวียน​
เข็น​น้ำ​ไป​ดัง​น้ัน จึง​ถาม​ร​ู้เนื้อ​ความ​ว่า​เขา​เข็น​น้ำ​ส่วย​ไป​ส่ง​ถวาย​แก่​พระเจ้า​
กรุง​กำ​ภู​ชาธิ​บดี ดัง​น้ัน จึง​ว่า​แต่​นี้​ไป​อย่า​เอา​น้ำ​ใส่​ตุ่ม​เลย ทำตา​ราง​บน​
เรือน​เกวียน​แล้ว​เอา​น้ำ​เท​ใส​่ตาราง​ขัง​ไป​ไม่​รั่ว เข็น​ไป​ถวาย​แก่​พญา​กำ​ภู​ชา
ธิ​บดี​เถิด คน​ชาวน้ำ​ส่วย​ท้ัง​หลาย​จึง​กระทำ​ตาม​คำ​พระร่วง​ว่า​ดัง​น้ัน เข็น​น้ำ​

	 ๑ปัจจุบัน​นิยม​เขียน​ว่า “กัมพูชา” ส่วน​จุล​ยุทธการ​วงศ์ ฉบับ​พิมพ​์วัน​ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ 

พ.ศ. ๒๔๘๐ ใช​้ว่า กำ​พ​ูชาธ​ิบดี​มหานคร​และ​ใน​ประชุม​พงศาวดาร​ภาค​ท่ี ๖๖ พ.ศ. ๒๔๘๐ 

และ​ประชุม​พงศาวดาร​เล่ม ๔๑ พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช​้ว่า เมือง​กัมพ​ูชาธ​ิบด​ีมหานคร

	 ๒ปัจจุบัน​นิยม​เขียน​ว่า “พระเจ้า​ละโว้”
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35