Page 50 - จุลยุทธการวงศ์
P. 50
จุลยุทธการวงศ์ 3366 ฉบับความเรียง (ตอนต้น)
ฝ่ายพระเจ้าเชียงราย พาบริวารท้ังหลายมาสู่สยามประเทศ
ถึงอรัญราวป่าฟากแม่น้ำเมืองกำแพงเพช๑ ข้างตะวันตก บอกกล่าว
เหตุการณ์ท้ังปวงให้แจ้งแก่เจ้าเมืองกรมการท้ังปวง ขอพ่ึงโพธิสมภารเป็น
ข้าขอบขัณฑเสมาอาศัยอยู่สืบไป
ขณะนั้นสมเด็จอมรินทราธิราชพิจารณาดูรู้เหตุว่า พญาน้ันมีบุญญา
ธิการมาก จะได้เป็นเช้ือสายเค้ามูลแห่งกษัตริย์ทั้งหลาย จะได้ทำนุบำรุง
พระพุทธศาสนาในสยามประเทศ จึงลงมาจากเทวโลกด้วยเพศเป็นดาบส
ทรงพรตกิริยางดงามย่ิงนัก มายืนอยู่ตรงหน้าข้างพระท่ีน่ังด้วยเทวฤทธิ์
ร้องห้ามว่าพระเจ้าเชียงรายอย่าไปอื่นเลยข้าศึกหามาตามไม่แล้ว พระองค์
จงให้สร้างเมืองท่ีนี่เถิด จะเป็นมงคลดีอยู่หาภัยมิได้ พระเจ้าเชียงรายเม่ือ
ได้ทรงฟังบังเกิดปีติโสมนัส นมัสการพระดาบสแล้ว ยังคนทั้งหลายให้
จัดแจงตบแต่งที่สร้างเมืองลงในท่ีน้ันพร้อมด้วยกำแพงป้อมคูประตูหอรบ
ปรางค์ปราสาทราชเรือนหลวง โรงช้างโรงม้า ศาลาลูกขุน ถนนหนทาง
ยุ้งฉางบริบูรณ์ทั้งปวง สำเร็จด้วยเทวฤทธ์ิแลราชฤทธ์ิแล้วมิได้ช้า แต่ใน ๔
เดือน เมืองนั้นมีนามบัญญัติช่ือว่าเมืองไตรตรึง๒ ปรากฏมาตราบเท่าทุกวัน
นี้ พระเจ้าเชียงรายเสวยราชสมบัติอยู่ในเมืองนั้นเป็นบรมสุข ปราศจาก
อรินทร์ราชข้าศึกมาช้านาน จำเริญมาด้วยพระราชบุตรราชธิดา มีศรัทธา
เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา บำเพ็ญพระราชกุศลมีให้ทานรักษาศีลเป็นต้น
มาช้านาน หาภัยอันตรายมิได้ตราบเท่าส้ินอายุขัย ส้ินพระชนม์แล้วก็ไป
ตามยถากรรมของพระองค์น้ัน
๑ชื่อเมืองน้ี จุลยุทธการวงศ์ (ความเรียง) ที่พิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๖ ฉบับ
พ.ศ. ๒๔๘๐ ใช้ว่า “กำแพงเพ็ชร” ส่วนประชุมพงศาวดารเล่ม ๔๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๒
ใช้ว่า “กำแพงเพชร” แต่ในจุลยุทธการวงศ์ ฉบับพิมพ์วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐
(พิมพ์แจกในงานปลงศพ นายจ้ือ เทวินทภักติ) ใช้ว่า “เมืองกำแพงเพ็ชร์”
๒ปัจจุบันนิยมเขียนว่า “ไตรตรึงส์”