Page 54 - จุลยุทธการวงศ์
P. 54
จุลยุทธการวงศ์ 4400 ฉบับความเรียง (ตอนต้น)
ชื่อว่าเทพมหานคร เหตุสำเร็จด้วยอานุภาพเทพยุดา แลชนท้ังหลายชวน
กันมาอาศัยอยู่ ณ เมืองนั้นเป็นอันมาก พระองค์ได้เสวยราชสมบัติทรง
พระนามพระเจ้าสีวิไชยเชียงแสน๑ ปรากฏในสยามประเทศน้ี จุลศักราช
๗๐๖ ปีวอกฉอศก สมเด็จพระเจ้าสีวิไชยเชียงแสนชีวงคต อยู่ในราชสมบัติ
๒๖ ปี แล้วกลองทิพย์น้ันก็อันตรธานหาย สมเด็จพระเจ้าอู่ทองราชโอรสได้
เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้ ๖ พระพรรษา ทรงพระปรารภจะสร้าง
พระนครใหม่ จึ่งให้ราชบุรุษเท่ียวแสวงหาภูมิประเทศ ที่มีพรรณมัจฉาชาติ
ครบบริบูรณ์ ราชบุรุษก็เท่ียวหามาโดยทักขิณทิศ ถึงประเทศที่หนองโสน
กอปรด้วยพรรณปลาพร้อมทุกสิ่ง จึงกลับไปกราบทูล พระเจ้าอู่ทองจึงยก
จตุรงค์โยธาประชาราษฎร์ท้ังปวงมาสู่ประเทศที่นั้น จุลศักราช ๗๑๒๒ ปี
ขาลโทศก ทรงสร้างพระนครเสร็จให้นามช่ือกรุงเทพมหานคร ตามนาม
พระนครเดิม ๑ ให้นามชื่อ ทวาราวดี เหตุมีคงคาล้อมรอบดุจนามเมือง
ทวาราวดี ๑ ให้นามช่ือสีอยุทธยา เหตุเป็นท่ีอยู่แห่งชนชราทั้งสอง ศรีแล
ตาอุทธยา เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่ในที่น้ันนาม ๑ แลนามท้ังสาม
ประกอบกันจึงเรียกว่า กรุงเทพมหานครทวาราวดีศรีอยุธยา สมเด็จ
พระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัติพระชนม์ได้ ๓๗ พระพรรษา
ถวายพระนามสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี๓ แลเม่ือแรกได้ราชาภิเษกน้ัน ได้
๑พระนามน้ี ในจุลยุทธการวงศ์ (ความเรียง) ท่ีพิมพ์ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๖
ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐ และในประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๒ ออกพระนามไว้
ว่า “ศรีวิชัยเชียงแสน” ส่วนที่ใช้ว่า “สีวิไชยเชียงแสน” นั้น เพ่ือให้คงตามต้นฉบับเอกสาร
โบราณสมุดไทยดำ หอสมุดแห่งชาติ อย่างไรก็ดี ในเอกสารประวัติศาสตร์ที่ได้ตรวจสอบ
แล้ว มักนิยมออกพระนามว่า “พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน”
๒พ.ศ. ๑๘๙๓
๓อีกพระนามหนึ่งคือ พระเจ้าอู่ทองหรือสมเด็จพระรามาธิบดีท่ี ๑ ต้นราชวงศ์เชียงราย
ปฐมกษัตริย์ผู้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓-๑๙๑๒