Page 59 - จุลยุทธการวงศ์
P. 59

จุล​ยุทธการ​วงศ์ 	 4455 เรื่อง​พระร่วง​สุโขทัย


                           


สุริย​ราชา​เมื่อ​แรก​ได้​ราช​สมบัติ พระชนม์​ได้ ๒๐ พรรษา​อย​ู่ใน​ราช​สมบัติ
๒๗ พรรษา เสด็จ​สวรรคต พระชนม์​ได้ ๔๗ พรรษา พระองค​์ประสูต
ิ​
วัน​จันทร์


      ล​ุจุลศักราช ๕๗๐ พระ​จัน​ทก​ุมาร​ราชโอรส​ได​้ขึ้น​ครอง​ราชสมบัติ​
ทรง​พระนาม​ว่า พระเจ้า​จันทรา​ชา พระองค์​ทรง​สร้าง​เมือง​ศุ​โข​ไทย๑ ขึ้น​
ครอง​ราช​สมบัติ​ต่อ​ไป ม​ีพระ​อัครมเหส​ีทรง​พระนาม​ว่า​สุริยา​เทวี พระองค​์
เสวย​น้ำ​สระ​เมือง​ลพบุรี พลเมือง​ชาว​ลพบุร​ีเป็น​ส่วย​น้ำ​เสวย อยู่​มา​วัน​หน่ึง​
พระองค์​เสด็จ​ไป​ประพาส​ป่า พร้อม​ด้วย​พล​โยธา​ทวย​หาญ​เป็น​อัน​มาก ได้​
ทอด​พระเนตร​เห็น​นาง​กุมาร​ีคน​หน่ึง มี​รูป​โฉม​ลักษณะ​งดงาม​ยิ่ง​กว่า​นาง​
มนุษย์​ทั้ง​หลาย พระองค์​ม​ีความ​เสน่หา๒ รัก​ใคร่​ได​้ตรัส​ประโลม​ปราศรัย​แล​
ได้​ร่วม​อภิรมย​์ด้วย​นาง​นั้น​ครั้น​แล้ว​พระองค์​ก็​ม​ีพระทัย​ปฏิพัทธ์​ผูกพัน​ตรัส๓
ประ​เล้า​ประโลม​จะ​พา​นาง​ไป​ส่​ูราชวัง จะ​ตั้ง​ไว​้เป็น​เอก​อัคร​นารี นาง​จึง​ทูล​ว่า
ข้า​พระองค์​มิใช​่เป็น​หญิง​มนุษย์ เป็น​เชื้อ​ชาต​ินาง​นาค​กุมาร​ีแปลง​กาย​ข้ึน​มา​
เท่ียว​ใน​เมือง​มนุษย์ จะ​ตาม​เสด็จ​พระองค​์ไป​มิได้ ถ้า​ข้า​พระองค​์ได​้ร่วม​หม​ู่
นาง​สนม​นาฏ ราช​บริจาริกา​ของ​พระองค​์ใน​พระราชวัง ข้า​พระองค์​โกรธ​
เคือง​ผ​ู้ใด​ข้ึน​มา​แล้ว๔ มนุษย์​เหล่า​น้ัน​จะ​ทน​พิษ​อัน​เป็น​ของ​ข้า​พระบาท​มิได้​
จะ​พา​กัน​ตาย​เสีย​สิ้น เพราะ​ฉะน้ัน​ข้า​พระบาท​จะ​ขอ​บังคม​ลา​พระองค​์กลับ​
ไป​ยัง​เมืองนาค ทูล​ดัง​นั้น​แล้ว​นาง​นาค​กุมาร​ีนั้น​ก​็หาย​ไป​จาก​สถาน​ท​ี่นั้น

	 ๑ปัจจุบัน​เขียน​ว่า “เมือง​สุโขทัย”

	 ๒เนื้อ​ความ​ช่วง​น้ี ใน​เร่ือง​พระร่วง​สุโขทัย​ที่​พิมพ์​ใน​คำ​ให้การ​ชาว​กรุง​เก่า ฉบับ พ.ศ.
๒๔๕๗ และ​ใน​ประชุม​พงศาวดาร​ภาค​ท่ี ๖๖ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐ รวม​ท้ัง​ใน​ประชุม​พงศาวดาร
เล่ม ๔๑ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช​้ว่า “....มี​ความ​เสน่หา เล้าโลม และ​ได้​ร่วม​อภิรมย์​ด้วย....”

	 ๓เน้ือ​ความ​ตอน​น้ี ใน​ฉบับ​อ่ืนๆ ที​่ได้​ระบ​ุชื่อ​มา​ใน​ข้าง​ต้น​ใช​้ว่า “....ตรัส​ชวน​จะ​พา​นาง​ไป

​ส​ู่ราชวัง...”

	 ๔เนื้อ​ความ​ต่อ​จาก​นี้ ใน​ฉบับ​อื่นๆ ท่​ีได​้ระบุ​ช่ือ​มา​ใน​ข้าง​ต้น ใช​้ว่า “โกรธ​เคือง​ผ​ู้ใด​ข้ึน​มา​
แล้ว ก็​จะ​พ่น​พิษ​ตาม​วิสัย​นาค มนุษย์​เหล่า​นั้น​จะ​ทน​พิษ​อัน​เป็น​ของ​ข้า​พระบาท​มิได้...”
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64