Page 51 - จุลยุทธการวงศ์
P. 51
จุลยุทธการวงศ์ 3377 ฉบับความเรียง (ตอนต้น)
พระราชบุตรแห่งพญานั้น ทรงพระนามช่ือว่าพระเจ้าไตรตรึง ได้
เสวยราชสมบัติสืบมา มีพระราชบุตรราชนัดดาต่อมาถึง ๓ ช่ัว ๔ ชั่ว
พญาเป็นสัมมาทิฐิ มีศรัทธาบำเพ็ญพระราชกุศลมีรักษาศีลแลให้ทาน
เป็นต้น เคารพเล่ือมใสในพระพุทธศาสนา เป็นสุขมาช้านานหาภัยอันตราย
มิได้
ในกาลคร้ังนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมท่ัวทั้ง
ตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึง อันชื่อว่าเมืองแปบน้ันลงมา
ทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่างๆ กล้วยอ้อย
เผือกมันขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหน่ึงอยู่ใกล้
บันไดเรือนบุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้นมะเขือน้ันเนืองๆ ลูกมะเขือน้ันใหญ่โต
งามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือน้ันเป็นท่ีรักท่ีชอบใจยิ่งนัก คร้ันนั้นยังมี
พระราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงพระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อม
บริบูรณ์ด้วยเบญจกัลยาณี จึงมีพระนามชื่อนางแก้วกัลยานี๑ มีอายุได้ ๑๗-
๑๘ ปี มีพระทัยสภัด๒ ยินดีด้วยราคจิต คิดอยากเสวยมะเขือเป็นกำลังย่ิง
นัก จึงให้ทาสาทาสีไปเที่ยวหาซื้อมะเขือ ทาสาทาสีน้ันจึงไปเท่ียวหาซ้ือ
มะเขือท่ีตลาดใต้เหนือหลายแห่งไม่ได้มะเขือ จึงสืบเสาะไปจนถึงไร่ของ
บุรุษน้ัน จึงซ้ือมะเขือลูกใหญ่งามของบุรุษเป็นปมนั้นได้ จึงนำถวายแก่พระ
ราชธิดา พระราชธิดาจึงเสวยมะเขือนั้น จะมีเหตุให้บังเกิดโอชารสซับซาบ
๑ในจุลยุทธการวงศ์ (ความเรียง) ฉบับพิมพ์วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ และที่
พิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคท่ี ๖๖ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐ และในประชุมพงศาวดารเล่ม ๔๑
ฉบับ พ.ศ. ๒๕๑๒ ใช้ว่า “แก้วกัลยาณี”
๒คำน้ีในต้นฉบับเอกสารโบราณสมุดไทยดำเขียนว่า “สภัด” ส่วนในจุลยุทธการวงศ์ ที่
พิมพ์ในประชุมพงศาวดารภาคที่ ๖๖ ฉบับ พ.ศ. ๒๔๘๐ ใช้ว่า “สะกัด” และในจุลยุทธการวงศ์
ท่ีพิมพ์ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๐ (แจกในงานปลงศพนายจ้ือ เทวินทรภักติ) ใช้
ว่า “กะสัน” แต่ในจุลยุทธการวงศ์ ที่พิมพ์ในประชุมพงศาวดาร เล่ม ๔๑ ฉบับ พ.ศ.
๒๕๑๒ ใช้ว่า “สกัด” “สภัด” น่าจะตรงกับคำ “สะพัด”