Page 201 - สังคมโลก
P. 201
องค์การร ะหว่างป ระเทศ 8-7
เข้าด้วยกัน โดยผ่านกระบวนการการรวมกลุ่ม มีผสมผสานกันทางการเมือง สนองตอบต่อความต้องการของหน่วย
การเมือง จนในท ี่สุดม ีก ารร วมต ัวอย่างก ลมกลืนจ นเป็นป ระชาคมเดียวกันแ ละค อยส ่งเสริมให้ส มาชิกม ีค วามร ู้สึกเป็น
พวกเดียวกันแ ละพ ึ่งพาอ าศัยก ันอ ย่างส ันติ โดยย ึดส มมติฐานข องป ระชาคมแ ห่งค วามม ั่นคง (Security Community)
ว่าเป็นรูปแบบของความร่วมมือระหว่างประเทศในสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งที่จะนำไปสู่การบูรณาการได้ โดย
มีการคาดหวังของประชาชนและโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำทางการเมืองที่จะแสวงหาสันติภาพและความมั่นคงร่วมกัน
แนวคิดแบบบูรณาการแบ่งย่อยได้เป็น 4 กลุ่มแนวคิดที่สำคัญคือ แนวคิดสหพันธรัฐนิยม (Federalism) แนวคิด
พหุน ิยม (Pluralism) แนวคิดภ ารกิจนิยม (Functionalism) และแนวคิดภ ารกิจนิยมใหม่ (Neo-Functionalism)
แนวคิดสหพันธรัฐนิยม เป็นพวกที่ต้องการให้มีการบูรณาการในเชิงนิตินัยและมีลักษณะเป็นองค์การ
เพราะพวกนี้เห็นว่าการที่รัฐไม่ต้องตกอยู่ใต้กฎหมายใดๆ ทำให้มีลักษณะที่ไร้ระเบียบกฎเกณฑ์ (Anarchic) และ
นำไปสู่สงคราม5 แนวคิดกลุ่มนี้ต้องการให้มีการจัดตั้งสหพันธรัฐที่มีการบูรณาการในเชิงนิตินัยและมีลักษณะเป็น
องค์การระหว่างประเทศขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับสากล โดยให้องค์การระหว่างประเทศนี้เป็นองค์การที่มี
อำนาจเหนือรัฐ (Supranational Organisation) สามารถบังคับและลงโทษรัฐสมาชิกได้ มีกองกำลังปกป้องตนเอง
จากผู้รุกรานภายนอกองค์การ รวมถึงมีค วามมั่นคงภายในและระบบเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพร่วมกัน เพื่อเป็นการ
ให้ความเชื่อมั่นและเป็นการตอบแทนกับรัฐที่เสียสละอำนาจอธิปไตยบางส่วนเพื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตาม
รัฐท ี่เข้ามาร่วมย ังคงอำนาจร ะดับรัฐบ างส ่วนไว้ซึ่งถ ือว่าเป็นการแ บ่งส รรอ ำนาจ (Distribution of Powers) ระหว่าง
รัฐต ่างร ะดับก ันในร ูปแ บบข องร ัฐธรรมนูญซ ึ่งเกิดจ ากก ารเจรจาต กลงร ่วมก ันว ่าข อบเขตข องอ ำนาจข องอ งค์ก ารฯ และ
อำนาจของร ัฐมีอ ยู่แ ค่ไหน อย่างไร กล่าวโดยส รุปคือแนวคิดส หพันธรัฐเป็นข ้อเสนอเกี่ยวก ับห นทางนำพาร ัฐอ ธิปไตย
ต่างๆ ไปส ู่ความส ำเร็จในอ ันท ี่จ ะรวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
แนวคิดพหุนิยม เป็นแนวคิดที่เห็นว่าการบูรณาการของประชาคมการเมืองนั้นเกิดจากความรู้สึกที่เป็นมิตร
ต่อกัน มีการติดต่อสื่อสารและมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างใกล้ชิด จนเห็นว่าสงครามไม่ใช่ทางออกของการยุติ
ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ตัวชี้วัดระดับของการบูรณาการว่ามีมากน้อยเพียงใดให้ดูจากการติดต่อระหว่างรัฐทั้ง
ทางการเมือง เศรษฐกิจและส ังคม มีก ารเยือนระหว่างผู้นำข องร ัฐ มีการส ื่อสารคมนาคม มีก ารเคลื่อนย้ายทุน แรงงาน
สินค้าแ ละบริการจนถึงร ะดับท ี่มีผลป ระโยชน์ร่วมกันแ ล้วก ็จ ะน ำไปส ู่การ บูร ณาการร ะหว่างร ัฐอย่างมั่นคง
รากฐานข องแ นวคิดพ หุน ิยมม ีแ นวคิดม าจ ากท างส ังคมวิทยาก ารเมือง (Political Sociology) ที่ม ีก ารแ บ่งป ัน
อำนาจระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่แข่งขันระหว่างกันในสังคม ในการเมืองระหว่างประเทศ มีการนำเอาแนวคิดนี้มาอธิบาย
การเมืองระหว่างประเทศ (Interstate Politics) กับการเมืองภายในรัฐ (Intrastate Politics) โดยได้อ้างถึงความ
จำเป็นข องก ารพ ึ่งพาร ะหว่างก ันแ ละก ัน (Interdependence) โดยเฉพาะอ ย่างย ิ่งในท างเศรษฐกิจ ตามแ นวคิดพ หนุ ิยม
นี้บรรดารัฐต่างๆ ไม่จำเป็นต้องเสียสละอำนาจอธิไตยของตนเองให้กับองค์การที่เหนือกว่าแต่อย่างใด รัฐยังคงไว้ซึ่ง
อำนาจอ ธปิ ไตยแ ละเอกราชข ณะเดยี วกนั ก ม็ คี วามม ัน่ คงป ลอดภยั จ ากก ารบ รู ณาการ ดว้ ยเหตนุ จี้ งึ ท ำใหแ้ นวคดิ พ หนุ ยิ ม
เป็นท ี่น ิยมอย่างแพร่ห ลาย ซึ่งในการจัดต ั้งอ งค์การระหว่างป ระเทศในตอนแรกม ักนำเอาแนวคิดนี้ไปอ้างอิงอยู่เสมอ
แนวคิดภารกิจนิยม เป็นแนวคิดที่เสนอว่าการสรรหาสิ่งของเพื่อสนองความจำเป็นร่วมกัน (Provision of
Common Needs) สามารถรวบรวมประชาชนชาติต่างๆ ข้ามพรมแดนกันได้ กลุ่มนี้จึงเน้นมิติด้านสวัสดิการเพื่อ
ความม ั่งคั่งและการอยู่ดีก ินด ีข องประชาชนในสังคมโลก (Wealth-Welfare Dimension) และเน้นความเป็นเอกภาพ
ระหว่างป ระชาชนแ ละร ัฐแ ทนทีจ่ ะเป็นการแ บ่งแ ยกร ะหว่างก ัน แนวคิดข องก ลุ่มน ีค้ ือก ารก ่อต ั้งอ งค์การร ะหว่างป ระเทศ
ทีส่ อดคล้องก ับค วามต ้องการด ้านเศรษฐกิจแ ละส ังคมโดยเน้นโครงสร้างแ ละข อบเขตห น้าทีข่ องอ งคก์ ารฯ ใหเ้หมาะก ับ
5 ธารท อง ทองสวัสดิ์ หน่วยท ี่ 8 แนวคิดทั่วไปว ่าด ้วยอ งค์การร ะหว่างประเทศ ใน เอกสารก ารส อนช ุดว ิชาก ฎหมายร ะหว่างป ระเทศแ ละ
องค์การระหว่างป ระเทศ หน่วยที่ 6-10 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรร มาธิร าช นนทบุรี 2530 หน้า 631
ลขิ สิทธิข์ องมหาวิทยาลยั สุโขทัยธรรมาธิราช