Page 204 - สังคมโลก
P. 204

8-10 สังคมโ​ลก

       นอกจาก​นี้​แนวคิด​โลก​นิยม​แบบ​ข้าม​ชาติ​ซึ่ง​ไอ​นิส โค​ลด (Inis Claude) เป็น​ผู้​จุด​ประกาย​ความ​คิด​นี้​จาก​
งานเ​ขียนเ​รื่อง​อำนาจ​และ​ความ​สัมพันธ์ร​ ะหว่าง​ประเทศ (Power and International Relations) ในป​ ี 1962 ที่​เห็น​ว่า​
ใน​เรื่อง​การเมือง​ว่า​ด้วย​อำนาจ​นั้น รัฐ​เอง​ไม่​ได้​ผู้​ผูกขาด​กิจกรรม​ระหว่าง​ประเทศ​ไว้​แต่​เพียง​ผู้​เดียว ซึ่ง​ต่อ​มา จอห์น
เบอร์ต​ ัน (John Burton) ได้เ​สนอแ​ นวคิด​ที่ส​ อดคล้อง​กัน​ที่​เห็น​ว่า​รัฐไ​ม่​ได้เ​ป็น​ตัว​แสดงเ​ดียวท​ ี่​ส่งผ​ ลต​ ่อ​ความ​สัมพันธ​์
ระหว่าง​ประเทศ​อีก​ต่อไ​ป เบอร์​ตัน​เสนอ​แนวคิดเ​รื่อง​ประชาคม​โลก (World Society) ซึ่ง​มีล​ ักษณะ​ความ​สัมพันธ์​เป็น​
แบบ​เครือ​ข่าย​ใย​แมงมุม (Cobweb) ซึ่ง​ระบบ​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​ประเทศ​ไม่​ได้​พิจารณา​แต่​เพียง​ความ​สัมพันธ์​
ระหว่าง​รัฐ​เท่านั้น แต่​ลักษณะ​ความ​สัมพันธ์​มี​ความ​ซับ​ซ้อน​มาก​ขึ้น​ทั้ง​ทางการ​เมือง เศรษฐกิจ สังคม​และ​วัฒนธรรม
ซึ่ง​ตั้ง​อยู่​บน​พื้น​ฐาน​ของ​ความ​สมานฉันท์​กลม​เกลียว​โดย​ปราศจาก​การ​ใช้​กำลัง ข้อ​เสนอ​ของ​เบอร์​ตัน​นี้​ดู​เหมือน​ว่า​
เป็นการ​จินตนาการ​ของ​กลุ่ม​แนวคิด​โลก​ใน​อุดมคติ (Utopia) มาก​เกิน​ไป อย่างไร​ก็ตาม​  แนวคิด​นี้​ก็ได้​กระตุ้น​ให้​
ตระหนักถ​ ึง​มิติใ​น​เรื่องข​ องภ​ าวะ​ของก​ ารข​ ้าม​ชาติ​ในป​ ัจจุบัน

       คาร์ล ไคเ​ซอร์ (Karl Kaiser) ได้​พยายาม​อธิบายเ​กี่ยวก​ ับ​การเมืองร​ ะหว่าง​ประเทศใ​ห้​สมบูรณ์​ยิ่ง​ขึ้น​โดย​การ​
อธิบาย​จาก​มุม​มอง​ของ​สังคม​ข้าม​ชาติ (Transnational Society) ว่าการ​มี​ปฏิสัมพันธ์​ระหว่าง​ตัว​แสดง​ทาง​สังคม​ใน​
เรื่อง​ใดเ​รื่อง​หนึ่งเ​ฉพาะ​ด้าน โดย​เน้น​ความส​ ัมพันธ์​ที่​เชื่อม​โยงร​ ะหว่าง​กัน เป็นร​ ูป​แบบข​ อง​องค์การ​ที่ม​ ี​การจ​ ัดร​ ะเบียบ​
องค์การ​ค่อน​ข้าง​ชัดเจน​และ​มี​หน่วย​ปฏิบัติ​การ​อยู่​ใน​รัฐ​ต่างๆ ใน​ระบบ​การเมือง​แตก​ต่าง​กัน เช่น โบสถ์​นิกาย​โรมัน​
คา​ทอ​ลิค บรรษัท​ข้าม​ชาติ องค์การ​นอก​ภาค​รัฐ​ระหว่าง​ประเทศ กลุ่ม​เคลื่อนไหว​ของ​นักศึกษา​และ​การ​ท่อง​เที่ยว11
แบร์​ทร​องด์ บา​ดี้ (Bertrand Badie) และ มา​รี โก​ลด สมุทส์ (Marie-Claude Smouts) นัก​สังคมวิทยา​ความ​
สัมพันธ์​ระหว่าง​ประเทศ​ชาว​ฝรั่งเศส​ได้​อธิบาย​เพิ่ม​เติม​ว่า “ความ​สัมพันธ์ (ระหว่าง​รัฐ) ไม่​ว่า​เกิด​จาก​ความ​ตั้งใจ​หรือ​
เพื่อ​ให้​บรรลุ​วัตถุประสงค์​ใด​ก็ตาม​จะ​เกิด​ขึ้น​ภาย​ใต้​ระบบ​โลก​หรือ​อยู่​เหนือ​ขอบเขต​การเมือง​ใน​รัฐ และ​กิจกรรม
​บาง​ส่วนน​ ั้นอ​ ยู่​นอก​เหนือ​การค​ วบคุมแ​ ละ​การ​เข้าม​ า​เป็นส​ ื่อ​กลางข​ องร​ ัฐ (action médiatrice)”12

       นอกจากน​ แี​้ นวคดิ อ​ ืน่ ท​ กี​่ ลา่ วถ​ งึ อ​ งคก์ ารร​ ะหวา่ งป​ ระเทศ เชน่ แนวคดิ โ​ลกธ​ รร​ มาภบ​ิ าล (Global Governance)
ทพี​่ ยายามไ​มใ่​หศ​้ ึกษาอ​ งค์การร​ ะหว่างป​ ระเทศโ​ดยย​ ึดต​ ิดก​ ับโ​ลกต​ ามส​ ภาพค​ วามเ​ปน็ จ​ รงิ ห​ รือโ​ลกใ​นอ​ ดุ มคต1ิ 3 แนวคิด​
โลก​ธร​รมาภิ​บาล​นี้​อธิบาย​ว่า​ถึง​แม้​จะ​ปราศจาก​รัฐบาล​อย่าง​เป็น​ทางการ โลก​ก็​ยัง​มี​โครงสร้าง​ทาง​สถาบัน​ทาง​สังคม
กฎเ​กณฑ์ ค่า​นิยม จารีต​ประเพณีอ​ ื่น​อีกท​ ี่ใ​ช้​ร่วมก​ ัน (shared normative principles) ซึ่ง​เป็นต​ ัวก​ ำหนดก​ รอบ​การ​
ดำเนินค​ วาม​สัมพันธ์ร​ ะหว่าง​กัน ซึ่งโ​ลกไ​ม่​จำเป็น​ต้อง​ดำเนิน​ไปต​ ามแ​ นวคิด​ของส​ ัจนิยม​หรือ​เสรีนิยม​เสมอ​ไป

       แนวคิดป​ ระกอบส​ ร้างท​ างส​ ังคม (Constructivism)14 เป็นอ​ ีกห​ นึ่งแ​ นวคิดท​ ี่ใ​ห้ค​ วามส​ ำคัญก​ ับโ​ครงสร้างท​ าง​
สังคม​ของ​ความ​สัมพันธ์​ระหว่าง​ประเทศ แนวคิด​นี้​เห็น​ว่า​โลก​ทาง​สังคม​มี​ลักษณะ​ปฏิสัมพันธ์​เชิง​สห​อัต​วิสัย​ระหว่าง​
กัน (Intersubjective) โดยพ​ ยายามช​ ี้​ให้​เห็นว​ ่า​ปัจเจก​ชน​ที่​มุ่ง​แสวงหา​ผล​ประโยชน์ใ​ห้​ได้​มาก​ที่สุด​ปรับ​พฤติกรรม​ที่​

         11 Dario BATISSTELLA. Thèories des relations internationales, 2e èdition revue et augmentèe, Presses de Sciences
Po, Paris, 2006, p. 193, ดูเ​พิ่มเ​ติม Karl KAISER, La politique transnationale, Vers une thèorie de la politique multinationale,
1969, dans Philippe BRAILLARD, Théories des relations internationales, PUF, Paris, 1977.

         12 เพิ่ง​อ้าง
         13 ขจิต จิตต​เส​วี องค์การ​ระหว่าง​ประเทศ พิมพ์ค​ รั้ง​ที่ 2 ฉบับ​แก้ไข​ปรับปรุง สำนัก​พิมพ์​วิญญูชน กรุงเทพมหานคร 2553 หน้า 36
         14 เนื่องจาก​ยัง​ไม่มี​การ​บัญญัติ​ศัพท์​นี้​ไว้​อย่าง​แน่ชัด ที่​ประชุม​คณะ​กรรมการ​ผลิต​ชุด​วิชา​สังคม​โลก​จึง​ได้​พยายาม​บัญญัติ​ศัพท์
Constructivism ไว้​ว่า​แนวคิด​ประกอบ​สร้าง แต่​ผู้​เขียน​ขอ​ใช้​คำ​ว่า​แนวคิด​ประกอบ​สร้าง​ทาง​สังคม​แทน​ด้วย​เหตุผล​ที่​ว่า “ความ​สัมพันธ์​ของ​
หน่วย​ต่าง​ทาง​สังคม​ระหว่าง​ประเทศ​เกิด​จาก​การ​สร้าง​และ​การ​ขัดเกลา​ทาง​สังคม​ของ​กลุ่ม​ต่างๆ จน​เกิด​เป็น​บรรทัดฐาน​และ​ความ​รู้สึก​ร่วม​กัน​ทาง​
สังคม” นักค​ ิด​กลุ่มป​ ระกอบ​สร้าง​ทางส​ ังคมไ​ด้แก่ จอห์น เซิร์ล (John Searle) โรเ​บิร์ต โจ​วิส (Robert Jovis) เฟ​รดร​ ิช กราท​ อค​ ​วิล (Friedrich
Kratochwil) นิ​โคลั​ส โอนู​ฟ (Nicholas Onuf) ราฟ เพท​แมน (Ralph Pettman) อ​เลก​ซาน​เด​อร์ เวน​ด์ (Alexander Wendt) จอห์น รุก​กี้
(John Ruggie) เอมม​ านูเ​อล เอดเ​ลอ​ร์ (Emmanuel Edler) มาร์​ธา ฟิน​ ม​อร์ (Martha Finnemore) และอ​ มิ​ตาฟ อาจารย​ า (Amitav Acharya)
เป็นต้น

                             ลขิ สทิ ธ์ิของมหาวิทยาลัยสโุ ขทัยธรรมาธิราช
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209