Page 170 - การจัดการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ
P. 170

12-26 การจัดการการผลิตไม้ดอกไม้ประดับเชิงธุรกิจ

       2.2 	การใสป่ ุย๋ เมือ่ ดาวเรอื งมอี ายุ 15 และ 25 วนั ควรใสป่ ุย๋ สตู ร 15-15-15 ในอตั รา 1 ชอ้ นชาตอ่ หลมุ และใส่
ปุ๋ยสูตร 12-24-12 ในอัตรา 1 ช้อนชาต่อหลุม เมื่อดาวเรืองมีอายุ 35 และ 45 วัน โดยการฝังลงในดินตื้นๆ ประมาณ
ครึ่งนิ้ว ห่างโคนต้นประมาณ 6 นิ้ว เสร็จแล้วรดนํ้าให้ชุ่ม ทุกครั้งที่มีการให้ปุ๋ย ควรมีการพรวนดินรอบๆ โคนต้น แล้ว	
กลบที่โคนต้นไว้เนื่องจากดาวเรืองมักมีรากแตกออกจากโคนต้นอีก

       2.3 	การปลิดตายอด  นิยมเรียกว่าการเด็ดตุ้มหรือการแต่งตุ้ม ทำ�เพื่อให้ดาวเรืองแตกพุ่มและจะทำ�ให้ดอก
ดาวเรืองมีขนาดใหญ่ การปลิดยอดนี้ควรทำ�เมื่อดาวเรืองอายุ 21-25 วัน ซึ่งเป็นระยะที่ดาวเรืองมีใบจริงขนาดใหญ่
ประมาณ 4 คู่ และสว่ นยอดมใี บเลก็ ๆ อยูป่ ระมาณ 1-2 คู่ วธิ กี ารปลดิ ยอด ท�ำ ไดโ้ ดยใชม้ อื ซา้ ยจบั ใบคูบ่ นสดุ ทีต่ อ้ งการ
เหลือไว้ แล้วใช้มือขวาดึงส่วนยอดลงทางด้านข้าง เพื่อให้ดอกหลุดออกมา ไม่ควรเด็ดยอดเพราะจะทำ�ให้ส่วนตาของ
ยอดเหลือติดอยูซ่ ึง่ จะเจรญิ เป็นดอกในภายหลัง ท�ำ ใหด้ อกบานไมพ่ ร้อมกนั และมีขนาดเลก็ ปกติดาวเรืองหนึง่ ต้นควร
ไว้ดอกประมาณ 8 ดอก จึงจะได้ดอกที่มีคุณภาพ	 	

       2.4 	การป้องกันกำ�จัดโรคแมลง  โรคและแมลงที่พบเห็นกับดาวเรืองโดยทั่วๆ ไป ได้แก่
            2.4.1 	โรคเหี่ยว เกิดจากเชื้อราไฟทอพเทอรา (phytophthora) มักจะเกิดกับดาวเรืองที่โตเต็มที่ ดอก

กำ�ลังจะบาน โดยจะแสดงอาการที่ใบยอด และจะแสดงอาการในตอนกลางวัน แต่ตอนกลางคืนจะกลับสดเหมือนเดิม
หลังจากนั้นประมาณ 3-4 วัน ก็จะเหี่ยวทั้งต้น ควรป้องกันด้วยการฉีดพ่นสารเคมีกันรา เช่น ไดเทนเอ็ม 45 หรือแคป
แทน โดยใช้อัตราส่วน 15 กรัม/นํ้า 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และถอนต้นที่เป็นโรคเผาทำ�ลายทิ้ง

            2.4.2		เพลี้ยไฟ จะดูดกินนํ้าเลี้ยงจากใบในช่วงที่ดาวเรืองที่มีอายุ 15-45 วัน และจะระบาดมากในช่วง
ฤดูร้อนป้องกันและจำ�กัดโดยการพ่นยา เช่น โตกุไธออน อัตรา 30 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร สัปดาห์ละ 1 ครั้ง และถอนต้น
ที่เป็นโรคเผาทำ�ลายทิ้ง

            2.4.3 	หนอนผีเสื้อกลางคืน จะเข้าทำ�ลายดอกดาวเรือง ในขณะที่ดอกเริ่มบานโดยการวางไข่ในขณะที่	
ยังเป็นดอกตูม ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน และเจริญเติบโตกัดกินกลีบดอก ทำ�ให้ดอกแหว่งเสียหายป้องกัน
และกำ�จัดโดยฉีดพ่นด้วยสารเคมีฆ่าแมลง เช่น ซูมิไซดิน ในอัตรา 10-15 ซีซีต่อนํ้า 20 ลิตร หรือแลนเนท ในอัตรา	
12 กรัมต่อนํ้า 20 ลิตร

3. 	 การเกบ็ เก่ียวและการปฏบิ ตั หิ ลังการเก็บเก่ียว

       ก่อนการตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำ�ไปจำ�หน่าย 2-3 วัน ควรพ่นด้วยนํ้าผสมนํ้าตาลทราย 2 ช้อนแกงต่อนํ้า	
15 ลิตร ฉีดพ่นเฉพาะใบดาวเรือง ทั้งด้านบนและด้านล่าง จะช่วยทำ�ให้ก้านดอกแข็งขึ้น จากนั้นจึงทยอยตัดดอกขาย
ได้ ตั้งแต่ดาวเรืองมีอายุ 55-65 วันหลังจากเพาะเมล็ด การตัดดอกควรตัดให้ชิดโคนต้นมากที่สุดจะทำ�ให้ก้านดอกที่
ติดมามีขนาดยาว และตัดดอกที่ยังมีกลีบดอกตรงกลางดอกเป็นสีเขียวอยู่ ดีกว่าตัดดอกที่บานหมดจนตรงกลางไม่มี
สีเขียว เพราะจะทำ�ให้อายุการปักแจกันสั้นลง

4. 	 ตน้ ทนุ การผลติ ผลตอบแทนและการตลาด

       4.1		ต้นทุนการผลิต
            4.1.1 	การปลูกดาวเรืองตัดดอกในแปลงปลูก โดยทั่วไปต้นทุนการผลิตส่วนใหญ่ประกอบด้วยค่า

เมล็ดพันธุ์ (เมล็ดละประมาณ 75 สตางค์ ถึง 1 บาท) ปุ๋ย สารเคมี และแรงงาน โดยเฉลี่ยต้นทุนในการผลิตดาวเรือง
ประมาณไร่ละ 19,120 บาท แต่ถ้าเป็นการปลูกดาวเรืองในถุงพลาสติกหรือปลูกในกระถางต้นทุนจะแตกต่างกันไป
ตามวัสดุที่ใช้ปลูก โดยเฉลี่ยแล้วต้นทุนการผลิตประมาณ กระถางละ 5-8 บาท

                             ลิขสิทธ์ขิ องมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175