Page 62 - การวิจัยการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 11
P. 62

11-52 การวิจัยการบริหารการศึกษา
            3.3.2	 หลกั ​และ​วธิ ีก​ ารว​ เิ คราะห์
            เกณฑ์ใ​นก​ ารเ​ลือก​ตัวแปรร​ ่วม
                (1)	ตัวแปรร​ ่วมเ​ป็นต​ ัวแปร​ที่​มีร​ ะดับ​การ​วัดใ​นม​ าตราอ​ ันตรภาค หรือส​ ูง​กว่า
                (2)	ตัวแปรร​ ่วม​ควรม​ ี​อิทธิพลต​ ่อต​ ัวแปร​ตาม
                (3)	 เส้น​ถดถอย​ระหว่าง​ตัวแปร​ตาม​กับ​ตัวแปร​ร่วม​ของ​แต่ละ​กลุ่ม​ต้อง​ขนาน​กัน​หรือ​

มี​ความ​ชัน (Slope) เท่า​กัน ซึ่ง​ข้อ​นี้​เป็น​ข้อ​ตกลง​เบื้อง​ต้น​ที่​สำ�คัญ​สำ�หรับ​การ​วิเคราะห์ ANCOVA ถ้า​ขาด​
คุณสมบัติ​ข้อ​นี้​จะ​ไม่​สามารถ​วิเคราะห์ ANCOVA ได้ ดัง​นั้น ใน​การ​วิเคราะห์ ANCOVA ผู้​วิจัย​จึง​ต้อง​
ตรวจ​สอบค​ ุณสมบัติ​ข้อน​ ี้​ก่อน

                (4)	ตัวแปร​ร่วม​ไม่​ควร​มี​อิทธิพล​หรือ​สัมพันธ์​กับ​ตัวแปร​อิสระ เพราะ​ถ้า​ตัวแปร​ร่วม​มี​
ความส​ ัมพันธ์ก​ ับต​ ัวแปรอ​ ิสระ การข​ จัด​อิทธิพล​ของ​ตัวแปรร​ ่วม​ออกจ​ ะ​ทำ�ให้​ลดอ​ ิทธิพลข​ อง​ตัวแปร​อิสระ​ลง​
ด้วย​ทำ�ให้ผ​ ล​การว​ ิจัยไ​ม่ต​ รงก​ ับค​ วาม​เป็น​จริง

  ตัวอย่างท่ี 11.3
          นักวิจัยต้องการเปรียบเทียบนวัตกรรมทางการบริหาร 2 แบบ (GROUP) ต่อความผูกพันต่อ

  อาชีพของครู โดยแบบการวิจัยเป็น two groups pretest–post test design เมื่อนำ�ข้อมูลความผูกพันต่อ
  อาชีพของครู ก่อนการทดลอง (PRETEST) มาทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยพบว่า ค่าเฉลี่ยความผูกพัน
  ต่ออาชีพของครู ก่อนการทดลองของกลุ่มที่ได้รับนวัตกรรมแบบที่ 1 ต่างจากกลุ่มที่ได้รับนวัตกรรมแบบที่ 2
  อย่างมีนัยสำ�คัญ เมื่อการทดลองสิ้นสุดลง นักวิจัยต้องการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความผูกพันต่ออาชีพของครู
  หลังการทดลอง (POSTTEST) ของกลุ่มที่ได้รับนวัตกรรม 2 แบบนั้น

          ในกรณีเช่นนี้นักวิจัยต้องวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความผูกพันต่ออาชีพของครูหลังการ
  ทดลองของทั้งสองกลุ่มด้วยสถิติทดสอบ ANCOVA

          การวิเคราะห์ข้อมูลต้องดำ�เนินการ 2 ขั้น ขั้นแรกทดสอบว่า คะแนนก่อนทดลองสามารถเป็นตัวแปร
  ร่วมได้หรือไม่ เมื่อคะแนนก่อนทดลองสามารถเป็นตัวแปรร่วมได้ จึงทดสอบขั้นที่สองว่าคะแนนเฉลี่ยหลัง
  การทดลองของทั้งสองกลุ่มเมื่อมีคะแนนก่อนทดลองเป็นตัวแปรร่วมต่างกันอย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติหรือไม่

          คำ�สั่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ ขั้นที่ 1
          Analyze → General Linear Model → Univariate
          -	 เลือกตัวแปร POSTTEST เข้าในกล่อง Dependent Variable
          -	 เลือกตัวแปร GROUP เข้าในกล่อง Fixed Factor (s)
          -	 เลือกตัวแปร PRETEST เข้าในกล่อง Covariate (s)
          -	 คลิกปุ่ม Model
          -	 ในกรอบ Specify Model เลือก  Custom
          ในกรอบ Factors & Covariates เลือก GROUP และ POSTTEST ใส่กล่อง Model คลิกตัวแปร
  GROUP และ PRETEST พร้อมกันโดยกดแป้น Shift และในกรอบ Bulid Term (S) เลือก Interaction
  จะได้ตัวแปร GROUP*PRETEST (ปฏิสัมพันธ์ของตัวแปร GROUP และ PRETEST) ถ้าผลการทดสอบ
  อิทธิพลปฏิสัมพันธ์ระหว่าง GROUP และ PRETEST ไม่มีนัยสำ�คัญทางสถิติ แสดงว่า PRETEST มี
  คุณสมบัติที่จะเป็นตัวแปรร่วมได้ ดังตัวอย่างผลการวิเคราะห์
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67