Page 16 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 16

4-6 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

เรือ่ งที่ 4.1.1 ความหมายและความสำ�คัญของการออกแบบการวจิ ัย

       การทำ�วจิ ัยใดๆ กต็ ามควรมกี ารออกแบบการวจิ ยั (research design) เพื่อเปน็ การกำ�หนดแนวทาง
การทำ�วิจัยให้ชัดเจน และมีความเป็นไปได้ การออกแบบการวิจัยมีหลักการคล้ายกับการสร้างสิ่งปลูกสร้างที่
ผู้อยู่อาศัยต้องการ เช่น หากต้องการสิ่งก่อสร้างสำ�หรับอยู่อาศัย สิ่งก่อสร้างที่ต้องการอาจเป็นบ้านสองชั้น
บ้านชั้นเดียว คอนโดมีเนียม หรืออาคารรูปแบบอื่นๆ ก็ได้ การสร้างอาคารเหล่านี้ต้องการใช้วัสดุอุปกรณ์
ต่างๆ มากมายหลายประเภท เช่น อิฐ หิน ทราย ปูน เหล็ก ไม้ และกระจก เป็นต้น เพื่อใช้สร้างอาคารให้
ใช้ประโยชน์ได้ตามต้องการ แต่ก่อนที่อาคารจะถูกสร้างขึ้นมา เราจะไม่สามารถระบุได้เลยว่าจะต้องใช้วัสดุ
อะไรบ้าง จนกว่าเราจะสามารถระบุได้ว่าเราต้องการอาคารประเภทใด รูปทรงใด ขนาดเท่าใด หรือต้องการ
บ้านแบบไหน เช่นเดียวกับการออกแบบการวิจัย นักวิจัยจะไม่สามารถบอกได้เลยว่าเขาจะต้องทำ�อะไรบ้าง
หรือต้องใช้อะไรบ้างในระหว่างการทำ�วิจัย หากนักวิจัยไม่เริ่มต้นที่การออกแบบการวิจัยให้ชัดเจนเสียก่อน
เช่น นักวิจัยอาจจะไม่ทราบว่าจะใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร ตัวแปรอะไรที่ต้องการวัด หรือเครื่องมือวิจัยที่ต้อง
ใช้มีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นเพราะนักวิจัยยังไม่ได้ออกแบบการวิจัย

1. 	ความหมายของการออกแบบการวิจัย

       นักวิชาการหลายๆ ท่านได้กำ�หนดความหมายของการออกแบบการวิจัยไว้จำ�นวนมาก เช่น
       เคอลิงเจอร์ และลี (Kerlinger & Lee, 2000: 449) กล่าวว่า การออกแบบการวิจัย หมายถึง การ
ทำ�แผนการทำ�งาน (plan) และกำ�หนดโครงสร้าง (structure) ของการศึกษา/ตรวจสอบ เพื่อให้ได้มาซึ่ง
ค�ำ ตอบตอ่ ค�ำ ถามวจิ ยั ทกี่ �ำ หนดขนึ้ ค�ำ วา่ “แผนการท�ำ งาน” หมายถงึ แผนการ รายการ หรอื โครงการการท�ำ วจิ ยั
ซึ่งเป็นโครงร่างที่นักวิจัยจะต้องทำ� เริ่มต้นจากการเขียนสมมติฐานการวิจัยไปจนถึงแนวทางการวิเคราะห์
ข้อมูล ส่วนคำ�ว่า “โครงสร้าง” หมายถึง กรอบงาน (framework) หรือองค์ประกอบ (organization)
หรือโครงร่าง (configuration) ของส่วนประกอบของโครงสร้าง ซึ่งต้องจัดวางให้สอดคล้อง/สัมพันธ์กัน
เคอลิงเจอร์และลีอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าอธิบายง่ายๆ โครงสร้าง จะหมายถึง “โมเดล” ที่แสดงความสัมพันธ์
ของตัวแปร โดยส่วนใหญ่การทำ�โมเดลการวิจัยมักจะทำ�ไดอะแกรมหรือวาดภาพความสัมพันธ์ของตัวแปร
ที่นำ�มาศึกษา ซึ่งนักวิจัยต้องอธิบายว่าตัวแปรเหล่านั้นมาจากแนวคิดหรือทฤษฎีใด มีความสัมพันธ์กัน
อยา่ งไร นอกจากนี้ การออกแบบการวิจยั จะต้องแสดงโครงสรา้ งของปญั หาวจิ ยั และแผนการตรวจสอบ หรอื
การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลที่นำ�มาตอบปัญหาวิจัยได้
       โตรชิม (Trochim, 2001: 1) กล่าวว่า การออกแบบการวิจัย (research design) หมายถึง การ
กำ�หนดกลุ่มตัวอย่าง (sample) การวัด (measurement) และตัวแปรที่จะศึกษา (treatment) เข้าด้วยกัน
ซึ่งต้องอธิบายให้เห็นถึงความสอดคล้องของทั้งสามส่วนนี้
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21