Page 19 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 19

การออกแบบการวิจัย 4-9

เรอ่ื งท่ี 4.1.2 หลกั การออกแบบการวิจยั

       เพือ่ ใหก้ ารออกแบบการวจิ ยั มคี ณุ ภาพ คอื ชว่ ยใหน้ กั วจิ ยั สามารถตอบค�ำ ถามวจิ ยั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม
ชัดเจน และประหยัด นักวิจัยควรเข้าใจหลักการออกแบบการวิจัย เพราะความเข้าใจในหลักการของการ
ออกแบบการวิจัยจะช่วยในการวางแผนการทำ�วิจัย และเลือกวิธีการทำ�วิจัยให้สามารถตอบคำ�ถามวิจัยได้
อย่างแท้จริง

       จากที่กล่าวมาแล้วว่า การออกแบบการวิจัยมีวัตถุประสงค์สำ�คัญ คือ ควบคุมความแปรปรวน
ทั้งสามแบบที่กล่าวมาข้างต้นตามคำ�กล่าวของเคอลิงเจอร์ และลี (Kerlinger & Lee, 2000) ซึ่งถือว่าเป็น
หลักการสำ�คัญที่นักวิจัยควรคำ�นึงถึงในการออกแบบการวิจัย เราเรียกหลักการนี้อย่างย่อๆ ว่า หลักแมกซ์
มิน คอน (max min con principle) ซึ่งมาจากคำ�ว่า maximize system variance, control extraneous
systematic variance และ minimize error variance ตามลำ�ดับ การอธิบายหลักการนี้จะเห็นภาพได้
ชัดเจนมากในการวิจัยเชิงทดลอง แต่อย่างไรก็ตาม การออกแบบการวิจัยประเภทอื่นๆ ก็ควรประยุกต์ใช้
หลักการนี้ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นหลักการสำ�คัญของการออกแบบการวิจัยที่ช่วยให้การทำ�วิจัยมีความรัดกุม
และเหมาะสม ทำ�ให้ผลการวิจัยมีความชัดเจน ซึ่งจะเกิดประโยชน์อย่างมากในการนำ�ผลการวิจัยไปใช้ ไม่ว่า
จะเป็นการนำ�ไปใช้ด้านการกำ�หนดนโยบาย ด้านการปฏิบัติงาน และการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ

       1. 	แมกซ์ (max) มาจากคำ�ภาษาอังกฤษ maximize แปลว่า ทำ�ให้เพิ่มขึ้น ในการออกแบบการวิจัย
ค�ำ นี้ หมายถงึ การออกแบบการวจิ ยั ทีท่ �ำ ใหค้ วามแปรปรวนของตวั แปรตามเกดิ มาจากตวั แปรอสิ ระทีต่ อ้ งการ
ศึกษาให้มากที่สุด ตัวอย่างการออกแบบการวิจัยนี้คือ การออกแบบการวิจัยเชิงทดลอง โดยให้เงื่อนไขของ
การทดลองต่างกันมากที่สุด เช่น ในการออกแบบการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีสอนของครูสอง
ห้องที่ใช้วิธีการสอนต่างกัน หลักการที่ควรจะทำ�ในการเปรียบเทียบนี้คือ นักเรียนทั้งสองห้องควรได้รับวิธี
การสอนที่แตกต่างกัน เพื่อให้สามารถตรวจสอบผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองห้องที่เรียนด้วยวิธีการต่าง
กันได้ นักวิจัยควรออกแบบการวิจัยให้สามารถทราบว่าความแตกต่างของคะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน
ทั้งสองห้องเป็นผลมาจากวิธีสอนของครูที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ผลจากปัจจัยอื่นๆ หากนักเรียนทั้งสองห้องได้
คะแนนสอบต่างกันเนื่องมาจากปัจจัยอื่นๆ เช่น ครูห้องแรกเรียนจบตรงสาขาที่สอน ส่วนครูห้องที่สองสอน
ไม่ตรงสาขาที่เรียนมา จะไม่ช่วยให้ทราบได้เลยว่าวิธีการสอนใดมีประสิทธิภาพมากกว่ากัน เพราะนักเรียน
ทั้งสองห้องอาจมีคะแนนสอบต่างกันเพราะวุฒิการศึกษาของครูด้วย ไม่ใช่เพราะวิธีสอนอย่างเดียว

       นอกจากนี้ การออกแบบการวิจัยที่มีการจัดกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มๆ และทำ�วิจัยเชิงทดลอง
กับกลุ่มเหล่านี้ เช่น การศึกษาเปรียบเทียบผลการสอนสองวิธี (A1 และ A2) นักวิจัยอาจทราบว่านอกจาก
วิธีสอนแล้ว ความสนใจในการเรียนของนักเรียนก็มีส่วนสำ�คัญต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อ
ผลสมั ฤทธิท์ างการเรยี นของนกั เรยี น ดงั นัน้ นกั วจิ ยั จงึ ควรออกแบบการวจิ ยั โดยน�ำ ความสนใจในการเรยี นมา
วิเคราะห์ด้วย ดังภาพที่ 4.1 โดยวัดความสนใจของนักเรียนแล้วแบ่งนักเรียนออกเป็นสองระดับ คือ กลุ่มที่
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24