Page 20 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 20
4-10 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
มีความสนใจสูง และตํ่า แล้วสุ่มนักเรียนเหล่านี้เป็นกลุ่มด้วยวิธีการสอน A1 และ A2 ตามลำ�ดับ ดังนั้น จะ
เห็นว่ามีกลุ่มที่ศึกษา 4 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่มจะต้องมีความแตกต่างกันมากที่สุด จึงจะสรุปได้ว่า
วิธีการสอนวิธีใดดีกว่ากัน การจะจำ�แนกนักเรียนออกเป็นกลุ่มที่มีความสนใจสูงและตํ่าต้องใช้เครื่องมือวัด
ที่มีคุณภาพ ซึ่งการออกแบบการวิจัยส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาและเลือกใช้เครื่องมือวิจัยให้เหมาะสม
วิธีการสอน
A1 A2
สูง กลุ่ม1: วิธีสอน A1 ความสนใจสูง กลุ่ม 2: วิธีสอน A2 ความสนใจสูง
ความสนใจ
กลุ่ม 3: วิธีสอน A1 ความสนใจตํ่า กลุ่ม 4: วิธีสอน A2 ความสนใจตํ่า
ตํ่า
ภาพท่ี 4.1 ตัวอยา่ งการออกแบบการวิจยั เพื่อเปรยี บเทยี บการสอน
2. มิน (min) มาจากคำ�ภาษาอังกฤษว่า minimize แปลว่า ทำ�ให้เล็กลง หรือทำ�ให้ลดลง ใน
การออกแบบการวิจัย คำ�ว่า “มิน” หมายถึง การทำ�ให้ความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนลดลง ความ
แปรปรวนของความคลาดเคลื่อนเป็นความแปรปรวนเชิงสุ่ม (random error) ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเป็นศูนย์ แหล่ง
ของความคลาดเคลื่อนเหล่านี้อาจเป็นความคลาดเคลื่อนในการวัด (measurement errors) ซึ่งอาจเกิด
จากเครื่องมือวิจัยไม่มีคุณภาพในด้านความตรงและความเที่ยง ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ตั้งใจตอบ มีการเดา
ความสะเพร่า ความเหนื่อยล้า หรือปัจจัยอื่นๆ ของกลุ่มตัวอย่าง และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจาก
ความแตกต่างระหว่างกลุ่มตัวอย่าง (individual differences) ที่สุ่มมาด้วย เช่น กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมี
ความรู้ จิตใจ และภูมิหลังต่างกัน เพราะนักวิจัยอาจสุ่มตัวอย่างนี้ด้วยวิธีการที่ไม่เหมาะสม
วิธีการลดความคลาดเคลื่อนของการวัด คือ การออกแบบการสร้างเครื่องมือวัดให้มีความตรง
(validity) และความเทีย่ ง (reliability) สงู ๆ และจดั สถานการณก์ ารวดั ให้เหมาะสม ดังนั้น ประเดน็ การสร้าง
เครือ่ งมอื วจิ ยั จงึ เปน็ ประเดน็ สำ�คญั ในการออกแบบการวจิ ยั สว่ นการลดความคลาดเคลือ่ นจากความแตกตา่ ง
ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ดี คือ การใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เหมาะสมเพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นตัวแทน
และกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มควรมีความคล้ายคลึงกันทั้งด้านความรู้ จิตใจ และภูมิหลัง
3. คอน (con) หมายถงึ การควบคมุ (control) ใหค้ วามแปรปรวนของปจั จยั แทรกซอ้ นใหค้ งที่ หรอื
การออกแบบการวิจัยที่ทำ�ให้ความแปรปรวนในตัวแปรตามที่เป็นผลมาจากตัวแปรแทรกซ้อนให้มีปริมาณ
น้อยที่สุด ในการวิจัยทางการศึกษาความแตกต่างของค่าคะแนนหรือผลการวัดตัวแปรของกลุ่มตัวอย่าง
ที่นักวิจัยสนใจศึกษา แล้วความแตกต่างนั้นเกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ปัจจัยที่เราสนใจศึกษา ถือว่าเป็น
ผลจากปัจจัยแทรกซ้อนที่มาจากปัจจัยที่ถือว่าเป็นตัวแปรแทรกซ้อน (extraneous หรือ confounding
variable) ตวั แปรแทรกซอ้ นหรอื ปจั จยั อืน่ ๆ จะสง่ ผลใหค้ า่ ของตวั แปรตามทีเ่ ราวดั บดิ เบอื นไป ผลของตวั แปร