Page 21 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 21
การออกแบบการวิจัย 4-11
แทรกซ้อนจึงทำ�ให้การสรุปผลการวิจัยไม่ชัดเจน จากตัวอย่างการเปรียบเทียบวิธีการสอน A1 และ A2
ข้างต้น ความรู้เดิม (prior knowledge) ของนักเรียนถือว่าเป็นตัวแปรแทรกซ้อนตัวแปรหนึ่งที่นักวิจัยไม่ได้
น�ำ มาศกึ ษา ในการออกแบบการวจิ ยั ทีด่ ตี อ้ งพยายามขจดั ตวั แปรแทรกซอ้ นตา่ งๆ ซึง่ อาจท�ำ โดยเลอื กนกั เรยี น
ที่มีเกรดเฉลี่ยเทอมก่อนเท่าๆ กันมาศึกษา เป็นต้น
ในการทำ�วิจัยทางการศึกษา ตัวแปรแทรกซ้อนมีจำ�นวนมากและควบคุมได้ยาก เช่น ในการเปรียบ
เทียบวิธีการสอนของครู ความตั้งใจเรียนของนักเรียน หรือสถานภาพทางเศรษฐกิจของนักเรียน อาจเป็น
ตวั แปรแทรกซอ้ นทีส่ ง่ ผลตอ่ คะแนนสอบของนกั เรยี น ในการออกแบบการวจิ ยั ทีด่ ี นกั วจิ ยั ตอ้ งพยายามท�ำ ให้
ตัวแปรเหล่านี้ส่งผลน้อยที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ วิธีการที่ใช้ในการลดอิทธิผลของตัวแปรแทรกซ้อนมีหลายวิธี
เช่น การเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่ม (random sampling) หรือการจับคู่ (matching) กลุ่มตัวอย่าง
ที่คล้ายคลึงกันเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละเท่าๆ กัน เพื่อทำ�ให้ทั้งสองกลุ่มเท่าเทียมกัน เช่น
ถ้ามีนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ย 3.00 สองคน คนแรกอาจให้เป็นกลุ่มทดลอง อีกคนเป็นกลุ่มควบคุม วิธีการนี้
เรียกว่า การจับคู่ด้วยเกรดเฉลี่ย หากนักวิจัยไม่สามารถควบคุมความคลาดเคลื่อนจากตัวแปรแทรกซ้อน
ด้วยการสุ่มได้ อาจใช้วิธีการควบคุมทางสถิติ เช่น การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม (Analysis of Cova-
riance, ANCOVA) เพื่อปรับให้อิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนเท่ากันทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แต่
ควรตระหนักว่าการควบคุมทางสถิติอาจช่วยแก้ปัญหาได้ไม่ถึง 100%
ตามหลักการแล้ว วิธีการสำ�คัญที่จะช่วยให้นักวิจัยสามารถออกแบบการวิจัยได้ประสบความสำ�เร็จ
ตามหลักของ แมกซ์ มิน และคอน คือ การใช้กระบวนการสุ่ม (randomization) ซึ่งประกอบด้วย การเลือก
ตัวอย่างแบบสุ่ม (random selection) และการเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มการทดลองอย่างสุ่ม (random
assignment) เพราะกระบวนการสุ่มสามารถควบคุมความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนได้ การใช้
กระบวนการสุ่มจึงเป็นวิธีการสำ�คัญสำ�หรับการวิจัยทุกประเภท และถือว่ากระบวนการสุ่มนี้เป็นวิธีการที่
สามารถใช้บอกผลในเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ (causal effect) ได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์
นักวิจัยไม่สามารถใช้กระบวนการสุ่มได้ เช่น การวิจัยทางสังคมศาสตร์ โดยเฉพาะการวิจัยทางการศึกษา
ที่ไม่สามารถสุ่มนักเรียนมาศึกษาทดลองอย่างสุ่มได้ หรือกรณีที่มีประชากรจำ�นวนน้อยก็ไม่เหมาะที่จะใช้
กระบวนการสุ่ม เพราะมีโอกาสที่กลุ่มที่ศึกษาอาจแตกต่างกันได้มากกว่าเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีจำ�นวนมาก ใน
สถานการณ์เช่นนี้ควรใช้วิธีการจับคู่ตัวอย่างเป็นคู่ๆ (matching) ซึ่งเป็นการนำ�กลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะ
เหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันมาจับคู่กัน การจับคู่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้กลุ่มที่ศึกษามีความเท่าเทียมกัน
ซึ่งวิธีการจับคู่สามารถทำ�ได้ 5 วิธี (Kerlinger & Lee, 2000) คือ
1. การจบั คูโ่ ดยเลอื กคนหรอื สิง่ ของทีเ่ หมอื นกนั มาศกึ ษา (matching by equating participations)
ตัวอย่างเช่น ในการวิจัยที่คาดว่าตัวแปร IQ อาจส่งผลต่อผลการวิจัย เช่น การเปรียบเทียบวิธีการสอนสอง
วิธี ที่คะแนนสอบอาจเป็นผลมาจากวิธีสอนและ IQ ของนักเรียน ดังนั้น จึงต้องมีการควบคุม IQ ไม่ให้ส่ง
ผล ถ้าใช้วิธีการนี้ ผู้วิจัยอาจจับคู่นักเรียนที่มี IQ เท่ากัน หรือใกล้เคียงกันเป็นคู่ๆ เช่น นักเรียนที่ IQ 100,
110, 120, 130 และ 140 อย่างละ 2 คน รวม 10 คน แล้วจัดแบ่งนักเรียนออกเป็นสองกลุ่ม แต่ละกลุ่มให้
มีนักเรียน IQ 100, 110, 120, 130 และ 140 เหมือนกัน ประเด็นสำ�คัญของการใช้วิธีนี้ คือ ตัวแปรที่ใช้จับ