Page 17 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 17

การออกแบบการวิจัย 4-7

       แมคมินแลน และชูเมคเกอร์ (McMillan & Shumaker, 1997: 33) กล่าวว่า การออกแบบ
การวจิ ยั (research design) หมายถงึ แผนและโครงสรา้ งของการศกึ ษาวจิ ยั ทีก่ ำ�หนดขึน้ เพือ่ ใหม้ หี ลกั ฐานมา
ตอบค�ำ ถามวิจยั ได้ การออกแบบการวจิ ัยมุ่งอธิบายกระบวนการศึกษาวิจยั กลุ่มตัวอยา่ ง และวธิ ีการรวบรวบ
ข้อมูล (จากใคร ภายใต้สถานการณ์อะไร)

       กล่าวโดยสรุป การออกแบบการวิจัย หมายถึง การกำ�หนดโครงสร้างต่างๆ ของการวิจัย (structure
of research) หรือองค์ประกอบของการวิจัย คือ คำ�ถามวิจัย สมมติฐานการวิจัย ตัวแปรที่จะศึกษา กลุ่ม
ตัวอย่าง การวัด/เครื่องมือการเก็บข้อมูล และแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล ให้สอดคล้องกันและเพียงพอ
เพื่อให้นักวิจัยได้ข้อมูลหรือผลการศึกษามาตอบคำ�ถามวิจัยได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ

       โดยทั่วไปองค์ประกอบหรือโครงสร้างที่ควรระบุในการออกแบบการวิจัย ได้แก่ คำ�ถามวิจัย
วัตถุประสงค์ของการทำ�วิจัย กรอบแนวคิดของการวิจัย และผลการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับจากการทำ�วิจัย การ
ออกแบบการวิจัยมีความสัมพันธ์อย่างมากกับคำ�ถามวิจัย เพราะคำ�ถามวิจัยจะเป็นสิ่งที่ทำ�ให้นักวิจัยคิดและ
เลือกแนวทางการทำ�วิจัย โดยมีหลักการว่านักวิจัยต้องออกแบบการวิจัย และกระบวนการวิจัยให้สามารถ
ตอบค�ำ ถามวจิ ยั ไดอ้ ยา่ งเหมาะสม การตัง้ ค�ำ ถามวจิ ยั ตา่ งกนั อาจจะออกแบบการวจิ ยั ตา่ งกนั ถงึ แมว้ า่ จะศกึ ษา
ในประเด็นเดียวกัน ดังนั้น จะเห็นว่าในบางครั้งการอธิบายเรื่องการออกแบบการวิจัยมักจะเริ่มต้นที่การตั้ง
คำ�ถามวิจัยก่อน จากนั้นจึงเสนอวิธีการออกแบบการวิจัยที่สอดคล้องกับคำ�ถามวิจัยต่อไป

       ในการออกแบบการวิจัย สิ่งที่นักวิจัยควรยึดถือ คือ หลักของการใช้เหตุผลในการคิดและการทำ�
วิจัยในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการวิจัย เพราะองค์ประกอบหรือแผนการวิจัยที่นักวิจัยกำ�หนดขึ้นจาก
การออกแบบการวิจัยต้องมีความสัมพันธ์กันตามหลักตรรกะ หรือมีความสัมพันธ์กันตามหลักของเหตุผล
หากนักวิจัยกำ�หนดองค์ประกอบที่ไม่เกี่ยวข้องกันมาเป็นแนวทางการทำ�วิจัย จะทำ�ให้ไม่สามารถได้ข้อมูล
มาตอบคำ�ถามวิจัยได้ถูกต้อง ผลการวิจัยที่มาจากสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกันก็ย่อมทำ�ให้ไม่สามารถนำ�ไปเชื่อมโยง
กันได้อย่างมีเหตุผลด้วยเช่นกัน เช่น หากนักวิจัยต้องการศึกษาผลของนวัตกรรมที่ช่วยส่งเสริมการอ่านออก
เขยี นได้ของนักเรียน และตั้งคำ�ถามวิจยั ว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาการอ่านของนักเรียนได้
หรือไม่ ในการนี้ นักวิจัยควรมีกลุ่มตัวอย่างทั้งที่เป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับนวัตกรรม กับกลุ่มควบคุมซึ่งเป็น
กลุ่มที่ไม่ได้รับนวัตกรรม จึงจะทำ�ให้ทราบได้ว่านวัตกรรมที่ใช้มีประโยชน์มากน้อยแค่ไหน การที่ออกแบบ
การวจิ ยั โดยไมม่ กี ลุม่ ควบคมุ จะใหน้ กั วจิ ยั สรปุ ผลการวจิ ยั ไมช่ ดั เจนวา่ นวตั กรรมทีส่ รา้ งขึน้ มคี ณุ ภาพแคไ่ หน

       การออกแบบการวจิ ยั ที่ดีจะทำ�ให้ไดผ้ ลการวจิ ัยทีม่ คี ณุ คา่ ถกู ต้อง ช่วยให้นกั วจิ ยั พัฒนาองค์ความรู้
ที่ได้จากการทำ�วิจัยได้มากขึ้น ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อทั้งแวดวงวิชาการและสังคมต่อไป

2. 	วัตถุประสงค์ของการออกแบบการวิจยั

       วัตถุประสงค์หลักของการออกแบบการวิจัย คือ เพื่อให้นักวิจัยสามารถตอบคำ�ถามวิจัยที่กำ�หนด
ขึ้นได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เคอลิงเจอร์ และลี (2000: 450) อธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการ
ออกแบบการวิจัยไว้อย่างละเอียด โดยกล่าวว่า การออกแบบการวิจัยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายพื้นฐาน
สำ�คัญ 2 ประการ คือ
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22