Page 26 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 26

4-16 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

เรอื่ งท่ี 4.1.3 	 การตรวจสอบคุณภาพของการออกแบบการวิจยั

       หลังจากที่นักวิจัยกำ�หนดคำ�ถามวิจัยได้แล้ว นักวิจัยต้องมีการคัดเลือกรูปแบบการวิจัยที่เหมาะสม
กับคำ�ถามวิจัยและข้อจำ�กัดของการทำ�วิจัย Hedrick, Bickman และ Rog (1993) อธิบายหลักของการ
ตรวจสอบคุณภาพการออกแบบการวิจัย โดยอีกนัยหนึ่งถือว่าเป็นหลักในการคัดเลือกรูปแบบการวิจัยให้
เหมาะสมกับการวิจัยที่กำ�ลังจะดำ�เนินการ โดยประกอบด้วยหลักการ 3 ด้าน คือ หลักของความน่าเชื่อถือ
(credibility) หลักของความมีประโยชน์ (usefulness) และหลักของความเป็นไปได้ (feasibility) โดยการ
ออกแบบการวิจัยที่ดี นักวิจัยควรคำ�นึงถึงประเด็น 3 ด้านนี้ ซึ่งมีรายละเอียด ต่อไปนี้

       1. 	ความน่าเชื่อถือ (credibility) หมายถึง ระดับของความเหมาะสม (validity) ของการทำ�วิจัย
และระดับที่การออกแบบการวิจัยนั้นเอื้อให้นักวิจัยสามารถสรุปผลการวิจัยได้อย่างเพียงพอ เหมาะสม และ
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

       2. 	ความมีประโยชน์ (usefulness) หมายถึง ระดับที่การออกแบบการวิจัยนั้นช่วยให้สามารถตอบ
คำ�ถามวิจัยได้อย่างเหมาะสม

       3. 	ความเปน็ ไปได้ (feasibility) หมายถงึ การออกแบบการวจิ ยั และแผนการท�ำ วจิ ยั มคี วามเหมาะสม
กับข้อจำ�กัดด้านเวลา และทรัพยากรในการทำ�วิจัย

       สว่ น ฟลคิ (Flick, 2007) กลา่ ววา่ การทจี่ ะประเมนิ วา่ การวจิ ยั ใดๆ ไดอ้ อกแบบการวจิ ยั อยา่ งเหมาะสม
หรือไม่ ให้พิจารณาจากประเด็น ดังต่อไปนี้

       1. 	การกำ�หนดจุดเน้นในการทำ�วิจัยอย่างชัดเจน (clear focus) ซึ่งการกำ�หนดจุดเน้นนี้รวมไปถึง
การมีคำ�ถามวิจัยที่ชัดเจน

       2. 	การออกแบบการวิจัยที่ดีจะช่วยให้ผู้วิจัยสามารถบริหารการวิจัยในด้านทรัพยากรสำ�หรับการ
วิจัย และเวลาได้อย่างเหมาะสม

       3. 	การออกแบบการวิจัยที่ดีต้องระบุวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างและวิธีการที่ใช้ในการวิจัยไว้อย่าง
ชัดเจน

       4. 	การออกแบบการวิจัยที่ดีต้องมีการเชื่อมโยงให้เห็นกรอบทฤษฎี และมาจากการศึกษางานวิจัย
ที่เกี่ยวข้อง

       5. 	การออกแบบการวิจัยที่ดีต้องสะท้อนให้เห็นแนวทางการสรุปอ้างอิงผลการวิจัย และระบุผู้ใช้
ผลการวิจัย

       6. 	การออกแบบการวิจัยที่ดีต้องมีความยืดหยุ่น สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้ข้อมูลที่เหมาะสม
กว่า และการออกแบบการวิจัยที่ดีต้องเหมาะสมกับเงื่อนไขที่ศึกษา

       เคอร์ลิงเจอร์ และลี (Kerlinger & Lee, 2000) กล่าวถึงเกณฑ์ของการออกแบบการวิจัยที่ดีไว้ 4
ประการ ดังนี้
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31