Page 69 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 69

การออกแบบการวิจัย 4-59

เรื่องที่ 4.3.4 คุณภาพของการวิจยั เชิงทดลอง

       คุณภาพของการวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับความตรง 2 ลักษณะ คือ ความตรงภายใน (internal
validity) และความตรงภายนอก (external validity)

       1. 	ความตรงภายใน การวิจัยเชิงทดลอง ถ้าจะมีความตรงภายในก็ต่อเมื่อสามารถยืนยันว่าตัวแปร
อิสระของการวิจัยเชิงทดลองเป็นสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งทำ�ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตาม กล่าวคือ
สามารถสรุปผลการทดลองได้ว่า ผลการทดลองนั้นเป็นผลมาจากการทดลองไม่ใช่เกิดจากตัวแปรอื่นๆ

       2. 	ความตรงภายนอก การวจิ ยั เชงิ ทดลอง ถา้ จะมคี วามตรงภายนอกกต็ อ่ เมือ่ ผลการวจิ ยั นัน้ สามารถ
สรุปอ้างอิงไปยังประชากรได้ หรือขยายผลการวิจัยไปยังบริบท หรือขอบเขตอื่นๆ ได้ ซึ่งขอบเขตที่ต้องการ
สรุปอ้างอิงไปถึง คือ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทดลอง การวัด ประชากร และเครื่องมือต่างๆ ในระดับที่กว้าง
มากขึ้น

       ปัจจัยที่อิทธิพลต่อความตรงภายใน
            1) 	เหตุการณ์แทรก (history) หมายถึง การที่กลุ่มตัวอย่างได้รับสิ่งต่างๆ ระหว่างการทดลอง

ที่มีผลให้มีค่าของตัวแปรตามเปลี่ยนไป หรือเป็นเหตุการณ์ที่แทรกเข้ามาทำ�ให้ผลการวิจัยบิดเบือน
            2) 	การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวภาพของกลุ่มตัวอย่าง (maturation) หมายถึง การ

ที่กลุ่มตัวอย่างมีการเปลี่ยนแปลงไปวัย หรือมีการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิทยา ชีวภาพ และทางร่างกาย การ
เปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจส่งผลต่อผลการทดลองด้วย

            3) 	การทดสอบ (testing) หมายถึง การวัดครั้งหนึ่งๆ ส่งผลต่อคะแนนการวัดครั้งต่อไป
            4) เครื่องมือและวิธีการวัด (instrumentation) หมายถึง การที่เครื่องมือการวัดมีการเปลี่ยน-
แปลงไป (เฉพาะกรณีที่มีการวัดหลายครั้ง) เช่น สเกลของเครื่องมือเปลี่ยนไม่เหมือนเดิม
            5) 	การถดถอยทางสถติ ิ (statistical regression) หมายถงึ การทีก่ ลุม่ ตวั อยา่ งบางคนมแี นวโนม้
ที่จะมีคะแนนเปลี่ยนไปสู่ค่าเฉลี่ยของกลุ่ม เมื่อมีการวัดหลายครั้ง ปัญหานี้มักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างที่
เลือกมาจากคนที่ได้คะแนนสูงหรือตํ่ามากในขั้นตอนการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
            6) 	ความล�ำ เอยี งในการเลอื กกลุม่ ตวั อยา่ ง (selection) หมายถงึ การเลอื กกลุม่ ตวั อยา่ งในกลุม่
ควบคุมและกลุ่มทดลองได้แตกต่างกัน
            7) 	กลุ่มตัวอย่างสูญหาย (mortality) หมายถึง การที่กลุ่มตัวอย่างไม่อยู่ในการทดลองอีก
ตอ่ ไป ซึง่ อาจเกดิ จากสาเหตหุ ลายประการ เชน่ การปฏเิ สธทีจ่ ะเขา้ รว่ มวจิ ยั ตอ่ ไป การเสยี ชวี ติ หรอื การยา้ ยถิน่
            8) 	ปฏิสัมพันธ์ของการเลือก วุฒิภาวะ และอื่นๆ (selection-maturation interaction, etc.)
หมายถึง การออกแบบการวิจัยที่อาจส่งผลต่อผลการวิจัย
       Cook and Campbell (1979) สรุปปัจจัยสำ�คัญที่มีผลต่อความตรงภายนอกของการวิจัย ซึ่ง
ประกอบด้วย
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74