Page 70 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 70
4-60 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
1. ปฏิสมั พันธ์ของการเลือกกลุ่มตวั อย่างและตวั แปรทดลอง (interaction of selection and treat-
ments) การใช้ทรีตเมนต์กับกลุ่มตัวอย่างที่ต่างกันอาจได้ผลการวิจัยที่ไม่ต่างกัน ทำ�ให้ความตรงภายนอก
ลดลง วิธีควรปฏิบัติในการทดลองเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คือ การจัดบรรยากาศของการทดลองให้สบาย
ผู้เข้าร่วมการทดลองมีความเต็มใจ ไม่มีการบังคับ และปลอดจากภาระงาน
2. ปฏิสัมพันธ์ของบริบทและตัวแปรทดลอง (interaction of setting and treatments) การใช้
ทรีตเมนต์กับกลุ่มตัวอย่างในบริบทที่ต่างกัน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล หรือโรงงาน อาจจะได้ผลไม่เท่ากัน
แนวทางการแก้ไขปัญหา คือ การทำ�วิจัยให้ครอบคลุมทุกบริบท และมีการประสานงานเพื่อขอความร่วมมือ
ในการวิจัยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ปฏิสัมพันธ์ของเหตุการณ์แทรกและตัวแปรทดลอง (interaction of history and treatments)
การใช้ทรีตเมนต์กับกลุ่มตัวอย่างในวันและเวลาบางอย่าง อาจทำ�ให้มีปัญหาในการสรุปผลการวิจัยไปยัง
วันหรือเวลาอื่น เพราะไม่ใช่วันเวลาที่ปกติของสิ่งที่ศึกษา เช่น นักวิจัยทำ�การทดลองกับนักเรียนในวันเสาร์
แทนที่จะเป็นวันธรรมดา เป็นต้น
หลงั จากศึกษาเนอื้ หาสาระเร่อื งที่ 4.3.4 แล้ว โปรดปฏบิ ัติกจิ กรรม 4.3.4
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 4 ตอนท่ี 4.3 เรอื่ งที่ 4.3.4
เรื่องที่ 4.3.5 ตวั อยา่ งการออกแบบการวจิ ัยเชงิ ทดลอง
ตัวอย่างการออกแบบวิจัยเชิงทดลองที่นำ�มาเสนอเป็นผลการวิจัยของ Peterson, Mann, Kealey
and Marek (2000) เกี่ยวกับการศึกษาประสิทธิผลของโครงการป้องกันปัญหาการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นใน
รัฐวอชิงตัน โครงการนี้เรียกว่า โครงการป้องกันการสูบหรี่ของศูนย์วิจัยมะเร็ง เฟรด ฮัทชินสัน (Fred
Hutchinson Cancer Research Center) โครงการนี้เป็นโครงการระยะยาว 15 ปี
วตั ถปุ ระสงค์ของการวจิ ัย
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโครงการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้น
ป.3- ม.6 ในระหว่างการศึกษา และหลังจากจบการศึกษา 2 ปี