Page 74 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 74
4-64 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา
เรือ่ งที่ 4.4.1 ค�ำ ถามวจิ ัยเชิงคณุ ภาพ
การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ วิธีการหาความรู้โดยการพิจารณาปรากฏการณ์ของสังคมจากสภาพ
แวดล้อมตามความเป็นจริงในทุกมิติ เพื่อพิจารณาหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์กับสภาพแวดล้อมนั้น
การวิจัยชนิดนี้เป็นการแสวงหาความรู้ โดยจะเน้นความสำ�คัญของข้อมูลด้านความรู้สึกนึกคิด การให้ความ-
หมายหรือคุณค่าแก่สิ่งต่างๆ ตลอดนิยมค่านิยมและอุดมการณ์ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์นั้นๆ
นอกเหนือจากข้อมูลเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพมักเป็นการศึกษาติดตามระยะยาว และใช้การวิเคราะห์
ข้อมูลแบบตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัยเป็นหลัก จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การเข้าใจความ
เปน็ จรงิ ของสงั คมทกุ มติ ิ โดยประเดน็ ทีก่ ารวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพตอ้ งการศกึ ษา คอื การเขา้ ใจพฤตกิ รรมทางสงั คม
ของมนุษย์ แบบแผนทางสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ นอกจากนี้ การวิจัยเชิงคุณภาพยังมุ่งศึกษา
ความหมายของสิ่งต่างๆ ที่สังคมร่วมกันกำ�หนดขึ้น (สุภางค์ จันทวานิช 2543)
สุภางค์ จันทวานิช (2543) อธิบายว่าการวิจัยเชิงคุณภาพมีลักษณะ ดังนี้
1. เน้นการมองปรากฏการณ์ให้เห็นภาพรวม โดยการมองจากหลายแง่มุม หรือใช้แนวคิดทฤษฎีที่
หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆ อย่างสมบูรณ์
2. เป็นการศึกษาติดตามระยะยาวและเจาะลึก เพื่อให้เข้าใจความเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่
มีความเป็นพลวัต จึงใช้เวลาในการศึกษานานเพื่อศึกษาข้อมูลเชิงลึก จนได้ข้อมูลที่เจาะลึก ลึกซึ้ง และมอง
ได้หลายแง่มุม
3. ศึกษาปรากฏการณ์ในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เพื่อให้มองเห็นบริบททางสังคมและ
วัฒนธรรมตามความเป็นจริง ไม่มีการควบคุมและทดลอง ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยภาคสนาม
4. ค�ำ นงึ ความเปน็ มนษุ ยข์ องผูถ้ กู วจิ ยั ดว้ ยการใหค้ วามเคารพผูถ้ กู วจิ ยั มกี ารสรา้ งความสนทิ สนม
และความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลของผู้ถูกวิจัยให้เกิดความเสียหาย
5. ใชก้ ารพรรณนาและการวเิ คราะหแ์ บบอปุ นยั โดยตอ้ งมกี ารบรรยายสภาพขอ้ มลู เกีย่ วกบั ลกั ษณะ
ทีต่ ัง้ สภาพลมฟา้ อากาศ การด�ำ เนนิ ชวี ติ ในดา้ นตา่ งๆ เชน่ การท�ำ มาหากนิ ความเชือ่ ขนบธรรมเนยี ม ประเพณี
เพื่อให้เข้าใจปรากฏการณ์ดีขึ้น ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้การสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย คือ การนำ�ข้อมูล
เชิงรูปธรรมหลายๆ อย่างมาสรุปเป็นข้อสรุปเชิงนามธรรม โดยพิจารณาจากลักษณะร่วมที่พบ
การตงั้ ค�ำ ถามวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพมาจากความสนใจของนกั วจิ ยั นกั วจิ ยั อาจมจี ดุ เรมิ่ ตน้ ทตี่ า่ งกนั บางคน
มีคำ�ถามวิจัยจากประสบการณ์ส่วนตัว บางคนได้มาจากการทำ�งาน เป็นต้น โดยทั่วไปคำ�ถามวิจัยที่เหมาะสม
ที่จะใช้การวิจัยเชิงคุณภาพศึกษา คือ
1) คำ�ถามวิจัยที่มีความซับซ้อน ไม่สามารถใช้แบบแผนการวิจัยแบบดั้งเดิมศึกษา คำ�ถาม
วิจัยประเภทนี้เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิดของคน ดังนั้น วิธีการเชิงคุณภาพจะให้ข้อมูลตรงกับความต้องการ
ของนักวิจัยมากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ ตัวอย่าง คำ�ถามวิจัยเชิงคุณภาพ เช่น ทัศนคติของนักเรียนเกี่ยวกับ
โลกาภิวัตน์ และโลกาภิวัตน์มีผลต่อการแสวงหาความรู้ของนักเรียนอย่างไร