Page 76 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 76

4-66 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

การศึกษาส่งผลต่อวิธีการสอนของครูอย่างไร การศึกษาปรากฏการณ์อาจไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ได้
ครบถ้วน แต่ต้องการให้บุคคลตระหนักและรับรู้

       1.2 	การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนา (ethonagraphy) มาจากรากศัพท์ทางมานุษยวิทยาว่า “ภาพ
วาดของคน” ในการวิจัยเชิงคุณภาพภาพ การศึกษาชาติพันธุ์วรรณนาเป็นวิธีการที่ใช้อธิบายวัฒนธรรมของ
มนุษย์ วิธีการศึกษานี้มีหลักการพื้นฐานว่าคนมีลักษณะร่วมกัน เช่น อาศัยในพื้นที่เดียวกัน ศาสนาเดียวกัน
เผ่าเดียวกัน และมีประสบการณ์ร่วมกัน การศึกษาให้ถึงรากเหง้าของวัฒธรรมของคนจะสามารถช่วยให้
ปฏิบัติต่อกันได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับวัฒนธรรม เช่น การศึกษาวัฒนธรรมของชาวเขา อาจจะช่วยให้
ทราบแนวทางการส่งเสริมสุขภาพของพวกเขาได้ดีขึ้น การศึกษาวัฒธรรมของโรงเรียนขนาดเล็ก อาจจะพบ
แนวทางในการพัฒนาโรงเรียนได้ตรงกับความต้องการของครู นักเรียน และชุมชน เป็นต้น

       1.3 	การสร้างทฤษฎีจากข้อมูล (grounded theory) มาจากการศึกษาวิจัยทางพยาบาล เป็นวิธีการ
ศึกษาที่คล้ายกับการศึกษาปรากฏการณ์ แต่มีความเข้มมากกว่า เพราะคำ�อธิบายปรากฏการณ์ที่มุ่งศึกษา
ต้องเป็นความรู้ใหม่ ซึ่งจะถูกนำ�ไปใช้พัฒนาทฤษฎีเพื่ออธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป การเก็บข้อมูล
สำ�หรับการวิจัยนี้มีหลายวิธี เช่น การสัมภาษณ์ ซึ่งต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลทันทีระหว่างการสัมภาษณ์ เพื่อ
นำ�ผลการวิเคราะห์ไปวางแผนเก็บข้อมูลภาคสนามต่อไป

       1.4 	การวิจัยกรณีศึกษา (case study) เป็นการศึกษาข้อมูลเชิงลึกในบุคคลคนเดียว หรือคนกลุ่ม
เล็กๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกมากกว่าการวิจัยเชิงปริมาณ นอกจากนี้ ยังอาจใช้ศึกษากรณีที่มีความซับซ้อน
มากขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆ

2. 	การเลือกกลมุ่ ตวั อย่าง

       ผู้วิจัยต้องมีการอธิบายการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งอาจเป็นคน เหตุการณ์ หรือวัฒนธรรม ก็ได้ ขึ้น
อยู่กับหัวข้อการวิจัย การเลือกกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยเชิงคุณภาพต่างจากการสุ่มในงานวิจัยเชิงปริมาณมาก
คอื กรอบการสุ่มในงานวิจยั เชงิ คุณภาพมกั เปลี่ยนแปลงไปในขณะที่ท�ำ การวจิ ัย เพราะนกั วจิ ยั อาจตอ้ งการได้
ข้อมูลใหม่ ซึ่งต้องเลือกคนมาศึกษาใหม่ การเลือกกลุ่มตัวอย่างอาจกำ�หนดจากผู้วิจัยหรือสิ่งที่เห็นชัดก่อน
จากนั้นอาจได้ข้อมูลเพิ่มเติมจากการสัมภาษณ์ว่าควรจะเลือกใครมาศึกษาต่อไป วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้กันมากในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive rampling) การสุ่ม
กลุ่มตัวอย่างง่าย (convenient sampling) และการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ (chain sampling หรือ
snowball technique)

3. 	การเตรยี มตัวท�ำ งานภาคสนาม

       การทำ�งานภาคสนามมี 4 ขั้นตอน คือ
       3.1 	ขนั้ เลอื กสนาม ตอ้ งพจิ ารณาความเหมาะสมวา่ สนามนนั้ สามารถตอบปญั หาวจิ ยั ไดห้ รอื ไม่ มขี นาด
พอเหมาะ (ไมใ่ หญเ่ กนิ ไป) การเดนิ ทางสะดวกในการเดนิ ทาง ทีพ่ กั อาศยั อาหารการกนิ และมคี วามปลอดภยั
เมื่อเลือกสนามได้แล้ว นักวิจัยต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จำ�เป็นให้ครบถ้วน อาจต้องศึกษาความเป็นอยู่
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81