Page 80 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 80

4-70 การวิจัยและสถิติทางการศึกษา

การแสดงความคดิ เหน็ ตลอดจนการโตแ้ ยง้ ผูว้ ิจยั จงึ ไดจ้ ดั สนทนากลุม่ โดยมเี ป้าหมายเพื่อ 1) ตรวจสอบการ
ดำ�เนินงานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา และ 2) เพื่อตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นจากการดำ�เนิน
งานในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน การจัดกระทำ�ข้อมูล ผู้วิจัยนำ�ข้อมูลที่ได้มาจากขั้นตอนการเก็บรวบรวม
ข้อมูลมาทำ�การลดทอนข้อมูล ตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล โดยกระบวนการทั้ง 3 กระบวนการนี้จะทำ�
ควบคู่กันไปกับกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล และขั้นตอนสุดท้ายนำ�ข้อมูลที่ได้มาเขียนรายงานการวิจัย

            1) 	 การลดทอนข้อมูล (data reduction) การลดทอนข้อมูล หมายถึง วิธีการ “เลือกเฟ้นหา
จุดที่น่าสนใจ อันจะทำ�ให้เข้าใจง่าย สรุปย่อ ปรับข้อมูลดิบที่เก็บจากสนาม” การปรับลดทอนข้อมูลดิบนั้น
นักวิจัยทำ�อยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่การเลือกสนาม การตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลอะไรที่จะแสดงแนวคิด และใน
ช่วงการเก็บข้อมูลก็กระทำ�เช่นเดียวกัน คือ การลงรหัส การทดสอบแนวคิด รวมเป็นกลุ่มแบ่งเป็นส่วนๆ
เขียนข้อสรุปชั่วคราว และแปลงข้อมูลอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเขียนรายงานเสร็จ นักวิจัยเป็นผู้ตัดสินใจว่า
ข้อมูลกลุ่มไหนจะลงรหัส กลุ่มไหนจะใช้สรุป กลุ่มไหนไม่ใช้เพราะซํ้ากับกลุ่มก่อน

            2) 	 การตรวจสอบข้อมูล ผู้วิจัยทำ�การตรวจสอบข้อมูลโดยพิจารณาถึงความพอเพียง ความ
ถูกต้อง และความน่าเชื่อถือ โดยการตรวจสอบแบบสามเส้า (triangulation) คือ เก็บข้อมูลจากหลายๆ ฝ่าย
หรอื หลายๆ วธิ ใี นการเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ในเรือ่ งเดยี วกนั โดยสอบถามจากผูใ้ หข้ อ้ มลู เชน่ ครผู ูส้ อน ผูบ้ รหิ าร
ผู้ปกครอง และนักเรียนในประเด็นเดียวกัน พร้อมกับการสังเกตพฤติกรรมปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
เหล่านี้ จนกระทั่งได้ความคิดเห็นในเรื่องนั้นๆ ออกมาตามที่คนในสังคมรู้สึก

การดำ�เนินการวิจัย

       ผู้วิจัยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ
(informal interview) และแบบเจาะลึก (in-depth interview) การวิเคราะห์เอกสาร (documentary
analysis) และการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) โดยผู้วิจัยทำ�การเก็บข้อมูลภาคสนามด้วย
ตนเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

       ระยะที่หนึ่ง เป็นการศึกษาก่อนลงภาคสนามเพื่อกำ�หนดกรอบในการสังเกต การวิเคราะห์เอกสาร
และแนวคำ�ถามที่ใช้ในการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล

       ผู้วิจัยได้ทำ�การศึกษาก่อนลงภาคสนาม โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การขอคำ�
ปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ความรู้ในประเด็นการวิจัย และผู้มีประสบการณ์การวิจัยใน
ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งช่วยให้ผู้วิจัยสามารถมองปัญหาวิจัยได้ชัดเจนขึ้น ตลอดจนการเลือกกรณี
ศึกษา และการเลือกผู้ให้ข้อมูล โดยมีรายละเอียด ดังนี้

            1) 	 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (documentary research) ผู้วิจัยศึกษาเอกสาร
และงานวจิ ยั ทีเ่ กีย่ วขอ้ งกบั ระบบดแู ลชว่ ยเหลอื นกั เรยี นของโรงเรยี น และการวจิ ยั เชงิ คณุ ภาพแบบกรณศี กึ ษา
เพื่อกำ�หนดกรอบแนวคิดในการสังเกต การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เอกสาร

            2) 	 การเตรยี มตวั เขา้ สูส่ นามวจิ ยั ของผูว้ จิ ยั ผูว้ จิ ยั ใชว้ ธิ กี ารเกบ็ รวบรวมขอ้ มลู โดยการสงั เกต
แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างเป็นทางการและการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การ
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85