Page 77 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 77

การออกแบบการวิจัย 4-67

ภาษา และวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้ากับคนในชุมชนได้ และสามารถทราบได้ว่าผู้ที่
ให้ข้อมูลสำ�คัญ (key informant) เป็นใคร

       3.2 	ขั้นแนะนำ�ตัว ประกอบด้วย การบอกวัตถุประสงค์ของการวิจัยอย่างตรงไปตรงมา (ถ้าสามารถ
ทำ�ได้ โดยไม่ส่งผลต่อการได้ข้อมูลที่ถูกต้อง) สาเหตุที่เลือกสนามนี้ ข้อมูลที่ได้จะนำ�ไปทำ�อะไร ผลที่เขาจะ
ได้จากการวิจัย และขอเวลาในการให้ข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูล

       3.3 	ขัน้ สรา้ งความสมั พนั ธ์ อาจใชว้ ธิ กี ารรว่ มกจิ กรรมของชมุ ชนอยา่ งเตม็ ใจ เพือ่ สรา้ งความคุน้ เคย
กับชาวบ้าน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดความลำ�เอียงในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการตีความหมายข้อมูล

       3.4 	ขั้นเริ่มทำ�งาน ประกอบด้วย การทำ�แผนที่ ทั้งด้านกายภาพของชุมชน แผนที่เชิงประชากร เช่น
จำ�นวนครัวเรือน จำ�นวนสมาชิก และแผนที่สังคม เช่น เครือญาติ กิจกรรมทางสังคม การปกครอง แผนที่
เวลา เช่น เวลาที่กิจกรรมในชุมชนเกิดขึ้นเป็นประจำ� นอกจากนี้ ต้องดำ�เนินเลือกตัวอย่างเพื่อเลือกว่าจะไป
พบใครก่อน ข้อมูลที่ต้องการคืออะไร วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคืออะไร

4. 	การตรวจสอบความถูกต้องของผลการศึกษา

       การตีความหมายข้อมูลวิจัยเชิงคุณภาพมีความเป็นอัตนัยสูง เพราะต้องอาศัยการตีความของ
นักวิจัย ซึ่งอาจมีความคลาดเคลื่อน เนื่องจากอคติของนักวิจัย หรือเป็นเพราะกลุ่มตัวอย่างตอบข้อมูลไม่
ชัดเจน ตีความยาก โดยทั่วไปการวิจัยเชิงคุณภาพมักเก็บข้อมูลหลายๆ แหล่งเพื่อยืนยันข้อค้นพบจากการ
วิจัย และลดความคลาดเคลื่อนจากการตีความของนักวิจัย ในการนี้ นักวิจัยต้องวางแผนว่าจะใช้ข้อมูลจาก
แหล่งใดบ้าง หรือกลุ่มใดบ้าง การวางแผนเหล่านี้มีลักษณะเป็นพลวัต อาจมีการปรับเปลี่ยนได้ในขณะทำ�การ
วิจัย กล่าวคือ เมื่อมีข้อมูลไม่ชัดเจนต่อการสรุปผลการวิจัย หรือไม่เพียงพอที่จะสรุปความ นักวิจัยอาจเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มที่ต้องการได้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ซึ่งการจะตัดสินใจว่าควรเก็บข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของนักวิจัย กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเรียกว่า การตรวจสอบ
สามเส้า (triangulation) ซึ่งประกอบด้วย การตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (data triangulation) โดย
พิจารณาคุณภาพของข้อมูลจากเวลาที่ได้ ข้อมูลสถานที่ และผู้ให้ข้อมูล การตรวจสอบสามเส้าด้านผู้วิจัย
(investigator triangulation) คือ การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เมื่อใช้นักวิจัยหลายคนเก็บข้อมูล
เดียวกัน การตรวจสอบสามเส้าด้านทฤษฎี (theory triangulation) คือ การตรวจสอบว่าถ้าเปลี่ยนแนวคิด
ทฤษฎีต่างไปจากเดิมจะทำ�ให้ตีความข้อมูลต่างกันหรือไม่ และการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีการเก็บรวบรวม
ข้อมูล (methodological triangulation) คือ การใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ กัน เพื่อรวบรวมข้อมูล
เรื่องเดียวกัน

5. 	การวเิ คราะห์ข้อมลู

       วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่สำ�คัญ มี 3 วิธี
       5.1 	การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (induction) คือ วิธีการตีความสร้างข้อสรุปจากรูปธรรมและ
ปรากฏการณ์ที่มองเห็น ถ้าข้อสรุปยังไม่ชัดเจนต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม นักวิจัยต้องวิเคราะห์ข้อมูล
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82