Page 81 - การวิจัยและสถิติทางการศึกษา หน่วยที่ 4
P. 81
การออกแบบการวิจัย 4-71
สนทนากลุ่ม และการวิเคราะห์เอกสาร การทำ�ความเข้าใจวิธีการ ขั้นตอน และประเด็นในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล เตรียมรายละเอียดต่างๆ ในการดำ�เนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น แบบบันทึกการสัมภาษณ์ แบบ
บันทึกเอกสาร แบบบันทึกการสังเกต เป็นต้น จากนั้นจัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลภาค
สนาม ได้แก่ สมุดบันทึก เครื่องบันทึกเสียง คอมพิวเตอร์พกพา (computer notebook) กล้องถ่ายรูป และ
ของทีร่ ะลกึ ทีจ่ ะมอบให้แก่โรงเรยี น ส�ำ หรบั บริบททีใ่ ช้ในการวิจัย ผูว้ จิ ยั ไดต้ ดิ ต่อประสานงานกบั ทางโรงเรียน
เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
3) การเลือกกรณีศึกษา ผู้วิจัยได้ขอคำ�ปรึกษาในการคัดเลือกกรณีศึกษาจากศึกษานิเทศก์
ในพื้นที่ของกรณีศึกษาเอง เนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาทหน้าที่ในการดูแลโรงเรียนในสังกัด และได้ทำ�การคัด
เลือกกรณีศึกษาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้กรณีศึกษาคือ โรงเรียนในเมือง
วิทยา (นามสมมติ) เป็นโรงเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต
1 และโรงเรียนทอฝันวิทยา (นามสมมติ) เป็นโรงเรียนในระดับประถมศึกษา สังกัดสำ�นักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 โดยกำ�หนดเกณฑ์ในการคัดเลือก
(1) เป็นโรงเรียนที่อยู่ในโครงการโรงเรียนเพื่อนเด็ก
(2) เป็นโรงเรียนที่ได้รับการยอมรับจากเขตพื้นที่การศึกษาว่ามีการปฏิบัติที่ดีในการ
ดำ�เนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
(3) เปน็ โรงเรยี นทีม่ บี คุ ลากรในโรงเรยี นใหค้ วามรว่ มมอื เตม็ ใจ และใหค้ วามชว่ ยเหลอื
ในการเก็บข้อมูล
ระยะที่สอง เป็นการศึกษาภาคสนาม โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลใน
บริบทโรงเรียนที่ 1 เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพทั่วไปของพื้นที่กรณีศึกษา ได้แก่
สภาพทั่วไปของชุมชนที่บริบทตั้งอยู่ สภาพทั่วไปของโรงเรียน ครูนักเรียน การจัดการเรียนการสอน การ
ดำ�เนินงานต่างๆ ของโรงเรียน ปฏิบัติงานการดำ�เนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ผลการใช้ระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนในการพัฒนาผู้เรียน ช่วงที่ 2 เป็นการเก็บข้อมูลในบริบทโรงเรียนที่ 2 เป็นเวลา 4 สัปดาห์
เช่นเดียวกับบริบทที่ 1
ในการเขา้ สูส่ นามเพือ่ เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู ผูว้ จิ ยั เดนิ ทางไปส�ำ รวจสถานทีต่ ัง้ ของโรงเรยี นและเสน้ ทาง
ในการเก็บข้อมูลด้วยตนเองทั้งสองโรงเรียนก่อนเข้าสู่สนามจริง เพื่อความสะดวกในการเก็บรวบรวม
ข้อมูล และสร้างความสัมพันธ์กับผู้ให้ข้อมูลในเบื้องต้น โดยผู้วิจัยเลือกเก็บข้อมูลที่โรงเรียนในเมืองวิทยา
อำ�เภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ก่อน เนื่องจากผู้วิจัยมีความสะดวกในการเก็บข้อมูล ประกอบกับผู้วิจัยมี
ภูมิลำ�เนาอยู่ในจังหวัดพิษณุโลกอยู่แล้ว แล้วจึงดำ�เนินการเก็บข้อมูลวิจัยในกรณีศึกษาที่ 2 คือ โรงเรียน
ทอฝนั วทิ ยา อ�ำ เภอหางดง จงั หวดั เชยี งใหม่ โดยใชร้ ะยะเวลาในการด�ำ เนนิ การเกบ็ ขอ้ มลู โรงเรยี นละ 4 สปั ดาห์
การสรา้ งความสมั พันธก์ ับผูใ้ หข้ ้อมลู ผู้บรหิ ารสถานศึกษา การสร้างความสมั พนั ธก์ บั ผูบ้ ริหารสถานศกึ ษานัน้
ผู้วิจัยได้ประสานงานกับผู้บริหารสถานศึกษาโดยตรง ตั้งแต่การเริ่มติดต่อเพื่อขออนุญาตเข้าเก็บข้อมูล โดย
การโทรศัพท์ติดต่อ และส่งหนังสือราชการขอความร่วมมือ ซึ่งผู้วิจัยได้อธิบายถึงวัตถุประสงค์และเหตุผลใน
การทำ�วิจัย ผู้บริหารโรงเรียนยินดีให้ผู้วิจัยเข้าไปเก็บรวบรวมข้อมูลครูผู้สอน ในการสร้างความสัมพันธ์กับ