Page 35 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 35

กิจกรรมส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 9-25

จำ�ลอง เป็นต้น มาช่วยในการสื่อสารที่นอกจากการสื่อสารผ่านช่องทางการสื่อสาร การฟัง การพูด การอ่าน
การเขียน การดู และการแสดงท่าทาง

       การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำ�เสนอจะมีประสิทธิภาพ ถ้าการสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์และการนำ�เสนอนั้นมีจุดมุ่งหมาย เนื้อหาของแนวคิด ความคิดเห็นหรือกระบวนการทาง
คณิตศาสตร์ และรูปแบบของการสื่อความหมายหรือการนำ�เสนอที่ชัดเจน ตลอดจนครู เพื่อนนักเรียน หรือ
ผู้เกี่ยวข้องมีเจตนาที่จะรับข่าวสารและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

       เพื่อให้การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำ�เสนอมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น ครูควรให้นักเรียน
ได้รับประสบการณ์ต่อไปนี้

       1.	 	มีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง กล่าวคือ ให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้รับสารมีโอกาสได้ซักถามหลังจาก
ฟังคำ�อธิบาย มีโอกาสนำ�เสนอแนวคิดหรือเหตุผลที่ต่างออกไป หรือได้ลองลงมือปฏิบัติ

       2.	 	มีโอกาสทราบผลการกระทำ�ทันที กล่าวคือ ให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้ส่งสารได้รับคำ�ติชมวิพากษ์
วิจารณ์ทันทีในโอกาสแรกที่เป็นไปได้ ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทราบว่าผู้รับสามารถรับสารได้ดีเพียงใด

       3.	 	มีความรู้สึกภาคภูมิใจและประสบการณ์ที่เป็นความสำ�เร็จ กล่าวคือ มีการท้าทายให้นักเรียนซึ่ง
เป็นผู้รับสารได้คิดหรือได้ทำ� ทั้งนี้ เพราะเมื่อทำ�ได้สำ�เร็จก็จะเกิดความภาคภูมิใจ

       4.	 	มีโอกาสได้รับสารทีละน้อยตามลำ�ดับขั้น กล่าวคือ ให้นักเรียนซึ่งเป็นผู้รับสารได้ใคร่ครวญ
ตามทีละน้อยจากง่ายไปยาก จนเข้าใจในเนื้อหาของสารที่จะได้รับ

กิจกรรมทใ่ี ช้ในการเสริมสร้างการสอ่ื ความหมายทางคณิตศาสตรแ์ ละการนำ�เสนอ

       ในการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำ�เสนอ นักเรียนจะต้องอาศัยสัญลักษณ์ ตัวแปร
ตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ หรือแบบจำ�ลอง มาช่วยในการเสนอแนวคิดหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์มี
ความกะทัดรัด ชัดเจน และง่ายต่อการทำ�ความเข้าใจ ทั้งนี้ เพื่อให้ครู เพื่อนนักเรียน หรือผู้เกี่ยวข้องสามารถ
รับรู้แนวคิดหรือการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ได้อย่างถูกต้องและตรงประเด็น นอกจากกิจกรรมการเรียน
การสอนตามปกติที่ครูต้องเสริมสร้างให้นักเรียนได้มีการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำ�เสนอ
ระหว่างกันแล้ว กิจกรรมที่ครูสามารถนำ�มาใช้ในการเสริมสร้างการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการ
นำ�เสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ (1) การสืบสวนสอบสวน (inquiry) (2) การเขียนอนุทิน (writing a
journal) (3) การเขียนรายงาน (writing a report) และ (4) การเขียนโปสเตอร์ (making a poster)

       1. 	การสืบสวนสอบสวน เป็นกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการให้นักเรียนได้สร้างข้อคำ�ถาม
ทดลอง สำ�รวจ สังเกตผลที่ได้ และสร้างความรู้ใหม่หรือข้อความคาดการณ์ทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง
ประกอบด้วยขั้นตอนสำ�คัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้

            ขั้นที่ 1	 ขั้นสร้างข้อคำ�ถาม (asking questions)
            ขั้นที่ 2	 ขั้นสร้างความรู้ใหม่ (creating new knowledge)
            ขั้นที่ 3	 ขั้นอภิปรายสิ่งที่ค้นพบ (discussing discoveries)
            ขั้นที่ 4	 ขั้นสะท้อนความรู้ใหม่ (reflecting on the new knowledge)
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40