Page 31 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 31

กิจกรรมส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 9-21

            ในการให้เหตุผลแบบนิรนัยข้างต้น เรามี
                ข้อความ “จำ�นวนคู่ คือ จำ�นวนเต็มที่หารด้วย 2 ลงตัว” เป็นเหตุกรณีทั่วไป
                ข้อความ “48 หารด้วย 2 ลงตัว” เป็นเหตุกรณีเฉพาะ
                ข้อความ “48 เป็นจำ�นวนคู่” เป็นผลสรุปเฉพาะ

            เมื่อเรายอมรับ “เหตุ” ว่าเป็นจริง นั่นคือ ยอมรับว่า “จำ�นวนคู่ คือ จำ�นวนเต็มที่หารด้วย 2
ลงตัว” และ “48 หารด้วย 2 ลงตัว” เป็นจริงแล้ว การสรุปว่า “48 เป็นจำ�นวนคู่” จึงเป็นการสรุปที่ถูกต้อง
ดังนั้น การให้เหตุผลนี้ถือว่าเป็น การให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล

            ขอ้ สงั เกตประการหนงึ่ เกยี่ วกบั การใหเ้ หตผุ ลแบบนริ นยั กค็ อื การใหเ้ หตผุ ลแบบนริ นยั ค�ำ นงึ ถงึ
ความสมเหตุสมผลของผลสรุปที่ตามมาจากเหตุเป็นสำ�คัญ โดยไม่ได้คำ�นึงถึงว่า ผลสรุปนั้นจะเป็นจริงหรือ
ไม่ ถา้ หากเหตทุ ีเ่ รายอมรบั เปน็ เทจ็ ผลสรปุ ทีส่ มเหตสุ มผลนัน้ อาจเปน็ เทจ็ กไ็ ด้ ดงั นัน้ ในการน�ำ การใหเ้ หตผุ ล
แบบนิรนัยไปใช้ในการสรุปข้อเท็จจริงต่างๆ เราจะต้องตรวจสอบก่อนว่า เหตุที่เรายอมรับนั้นเป็นจริงหรือไม่
ถ้าเราไม่แน่ใจว่าเหตุที่เรายอมรับนั้นเป็นจริง เราไม่ควรสรุปว่า ผลสรุปที่สมเหตุสมผลของเรานั้นเป็นจริง

ตวั อยา่ ง 	  พจิ ารณาการใหเ้ หตุผล ต่อไปน้ี
               เหตุ: 	 1. 	 จำ�นวนเฉพาะทุกจำ�นวนเป็นจำ�นวนคี่
               	 2.	 	2 เป็นจำ�นวนเฉพาะ
               ผล:	 	 	 2 เป็นจำ�นวนคี่

              ในการให้เหตุผลแบบนิรนัยข้างต้น เรามี
                  ข้อความ “จำ�นวนเฉพาะทุกจำ�นวนเป็นจำ�นวนคี่” เป็นเหตุกรณีทั่วไป
                  ข้อความ “2 เป็นจำ�นวนเฉพาะ” เป็นเหตุกรณีเฉพาะ
                  ข้อความ “2 เป็นจำ�นวนคี่” เป็นผลสรุปเฉพาะ

       เมื่อเรายอมรับ “เหตุ” ว่าเป็นจริง นั่นคือ ยอมรับว่า “จำ�นวนเฉพาะทุกจำ�นวนเป็นจำ�นวนคี่” และ
“2 เป็นจำ�นวนเฉพาะ” เป็นจริงแล้ว การสรุปว่า “2 เป็นจำ�นวนคี่” จึงเป็นการสรุปที่ถูกต้อง ดังนั้น การให้
เหตุผลนี้ถือว่าเป็น การให้เหตุผลที่สมเหตุสมผล

       จากรูปแบบการให้เหตุผลแบบอุปนัยและการให้เหตุผลแบบนิรนัย จะเห็นว่า การให้เหตุผลทั้งสอง
แบบข้างต้นเป็นการให้เหตุผลที่มีการดำ�เนินการที่สวนทางกัน กล่าวคือ การให้เหตุผลแบบอุปนัยเป็นการใช้
กรณีเฉพาะเป็นเหตุแล้วสรุปผลเป็นกรณีทั่วไป ขณะที่การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นการใช้กรณีทั่วไปเป็นเหตุ
แล้วสรุปผลเป็นกรณีเฉพาะ

       อย่างไรก็ตาม การให้เหตุผลแบบสหัชญาณ การให้เหตุผลแบบอุปนัย และการให้เหตุผลแบบนิรนัย
อาจเป็นกระบวนการที่สืบเนื่องกัน โดยเฉพาะในการสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ ดังแสดงในภาพที่ 9.2
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36