Page 91 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 91
การประเมินหลักสูตร 7-81
ของหลักสูตรสถานศึกษา และควรมีการศึกษาค้นคว้าสิ่งที่เป็นความรู้ใหม่ๆ วิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายที่
เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน
3. การน�ำ ผลการประเมนิ ไปใชข้ องสถานศกึ ษาอืน่ ๆ โดยควรศกึ ษาเปรยี บเทยี บโครงสรา้ งหลกั สตู ร
และบริบทของสถานศึกษาตนเอง ตลอดจนศึกษาถึงวัตถุประสงค์ของการประเมินก่อนเพื่อให้ได้สารสนเทศ
ตรงตามที่ต้องการ
กรณีตัวอย่างที่ 2 จากผลการประเมินผลหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏ
พระนคร ดังที่กล่าวไว้แล้วในเรื่องที่ 7.2.2 มีการนำ�ผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ ดังนี้
1. การปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง
ได้ใช้สารสนเทศจากการประเมินหลักสูตรครั้งนี้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรหมวดวิชา
ศึกษาทั่วไปให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำ�หนดโครงสร้างของหลักสูตรให้มีรายวิชาใน
แตล่ ะกลุม่ วชิ ามคี วามสมดลุ กนั และเพิม่ รายวชิ าเลอื กใหม้ ากขึน้ เพือ่ สนองตอบความตอ้ งการ ความสนใจและ
ความถนัดของนักศึกษา กำ�หนดเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย ลดความซํ้าซ้อนและให้มีความยืดหยุ่นที่
สามารถปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้
2. การบริหารจัดการหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
2.1 มหาวิทยาลัยได้ปรับระบบการบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นโดย
มีการตั้งเป็นสำ�นักบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ซึ่งนอกจากจะมีคณะกรรมการบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
แล้ว มีคณะกรรมการบริหารหรือประธานชุดวิชาที่เชื่อมโยงประสานงานการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน
2.2 คณะกรรมการบริหารหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ได้พยายามดำ�เนินการตามบทบาทหน้าที่ให้
ครบถ้วนสมบูรณ์ และจัดระบบการบริหารและประสานงานการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ โดย
มีการวางแผนใช้หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป การสร้างความตระหนัก ความเข้าใจในการจัดการเรียน
การสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปให้แก่อาจารย์ผู้สอน มีการกำ�กับติดตามการจัดการเรียนการสอน และการ
ประชุมสัมมนาการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปทุกภาคการศึกษา เพื่อให้ได้ข้อมูลในการ
ปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างต่อเนื่อง
2.3 สภามหาวทิ ยาลยั มหาวทิ ยาลยั และ/หรอื คณะกรรมการบรหิ ารหมวดวชิ าศกึ ษาทัว่ ไป ไดใ้ ช้
สารสนเทศประกอบการตัดสินใจเก่ียวกับหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยให้การสนับสนุนการปรับปรุง
โครงสรา้ งหลกั สตู รและรายวชิ า คณะกรรมการบรหิ ารหมวดวชิ าศกึ ษาทว่ั ไปไดจ้ ดั ใหม้ รี ะบบขอ้ มลู สารสนเทศ
เกยี่ วกบั การเรยี นการสอนหมวดวชิ าศกึ ษาทว่ั ไปทม่ี คี วามครอบคลมุ ครบถว้ นทส่ี ามารถใชป้ ระกอบการตดั สนิ ใจ
เกี่ยวกับหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การจัดการเรียนการสอน
3.1 มหาวิทยาลัยกำ�หนดนโยบายและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนมุ่งเน้นคุณภาพการจัดการเรียน
การสอนหมวดวชิ าศกึ ษาทว่ั ไป โดยมกี ารก�ำ หนดหลกั เกณฑก์ ารจดั อาจารยผ์ สู้ อน การจดั ท�ำ เอกสารเปน็ แนวทาง
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการมากกว่าเน้ือหาสาระ แนวปฏิบัติในการจัดการเรียน
การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำ�คัญ การสอนแบบเป็นทีม การวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาผู้เรียน