Page 88 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 88

7-78 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

และฐานความคดิ ในการพฒั นาหลกั สตู รทอ้ งถิน่ เรือ่ งขา้ วไทย ส�ำ หรบั นกั เรยี นชัน้ ประถมศกึ ษาปที ี่ 4 จงั หวดั
สุพรรณบุรี และอีกกรณีตัวอย่างหนึ่งคือ สง่า แดงวงษ์ (2552) ได้ประเมินก่อนริเริ่มการพัฒนาหลักสูตรโดย
ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร พบว่า สถานศึกษาควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพความ
ต้องการของท้องถิ่น และตอบสนองต่อนโยบายการจัดการศึกษาของหน่วยงานทางราชการ เพื่อให้นักเรียน
ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองจากประสบการณ์ตรง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในชีวิตประจำ�วันได้
รวมทั้งเป็นผู้อนุรักษ์และสืบสานการทอผ้าอันเป็นภูมิปัญญาของตนเอง รวมทั้งได้ศึกษาความต้องการจำ�เป็น
ในการพัฒนาหลักสูตรจากผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรพัฒนาหลักสูตรการทอผ้า
จากภมู ปิ ญั ญาทอ้ งถิน่ บา้ นหนองกระทุม่ ขึน้ ใชใ้ นโรงเรยี น ผูพ้ ฒั นาหลกั สตู รจงึ ไดใ้ ชส้ ารสนเทศดงั กลา่ วนีเ้ ปน็
ข้อมูลพื้นฐานและฐานความคิดในการพัฒนาหลักสูตรการทอผ้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านหนองกระทุ่ม
สำ�หรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 อำ�เภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี	

       1.2 	การน�ำ ผลการประเมนิ ไปใชเ้ พอื่ จดั ทรพั ยากรการใชห้ ลกั สตู ร กอ่ นการน�ำ หลกั สตู รไปใช้ ผบู้ รหิ าร
หรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องจัดปัจจัยหรือสนับสนุนทรัพยากรสำ�หรับการใช้หลักสูตรให้มีความเหมาะสม ความ
พอเพียง และความพร้อม รวมทั้งความมีคุณภาพของปัจจัยเพื่อให้การนำ�หลักสูตรไปใช้ มีประสิทธิภาพและ
ประสทิ ธผิ ล ดว้ ยเหตนุ ี้ ผูบ้ รหิ ารหรอื ผูเ้ กีย่ วขอ้ งจงึ ตอ้ งมกี ารประเมนิ ปจั จยั ในการด�ำ เนนิ การใชห้ ลกั สตู ร และ
ใช้ข้อมูลผลการประเมินนี้ประกอบการตัดสินใจในการจัด ปรับเปลี่ยนปัจจัยหรือทรัพยากรให้เอื้ออำ�นวย
ต่อการใช้หลักสูตรให้มีประสิทธิภาพที่สุด ดังกรณีตัวอย่างที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครก่อนดำ�เนินการ
ใช้หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป (ฉบับปรุง) ได้ใช้สารสนเทศจากการประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษา
ทั่วไปรอบแรกในการปรับปรุงห้องเรียนให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ปรับปรุงอุปกรณ์ เครื่องมือที่ช่วยในการ
จัดการเรียนการสอนให้มีความพร้อมมากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงชุดวิชา เอกสารประกอบการสอนให้มีคุณภาพ
มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการประชุมสัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้มีศักยภาพในการสอนมากขึ้น

       1.3 	การนำ�ผลการประเมินไปใช้เพื่อการปรับแผน กระบวนการหรือวิธีดำ�เนินการใช้หลักสูตร ใน
ระหวา่ งการด�ำ เนนิ การใชห้ ลกั สตู ร ผูบ้ รหิ ารหรอื ผูเ้ กีย่ วขอ้ งจะตอ้ งมสี ารสนเทศเกีย่ วกบั สภาพการใชห้ ลกั สตู ร
ปญั หา อปุ สรรค จดุ เดน่ จดุ ดอ้ ยของกระบวนการหรอื วธิ กี ารบรหิ ารหลกั สตู รและการจดั การเรยี นการสอน จงึ
ตอ้ งมีการประเมนิ กระบวนการ ศกึ ษาความกา้ วหนา้ หรือปญั หาอุปสรรคในการใชห้ ลักสตู รและใชส้ ารสนเทศ
ดงั กลา่ วนี้ เพือ่ ประกอบการตดั สนิ ใจปรบั แผน กระบวนการ วธิ กี ารด�ำ เนนิ การใชห้ ลกั สตู รและการจดั การเรยี น
การสอนให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังกรณีตัวอย่างที่สถานศึกษามีการนิเทศติดตาม
ผลการใช้หลกั สตู รและการจัดการเรยี นการสอนแล้วนำ�ผลมาปรกึ ษาหารือในคณะกรรมการนเิ ทศภายในหรือ
คณะกรรมการบรหิ ารงานวชิ าการของโรงเรยี นเพือ่ ปรบั ปรงุ แผน วธิ ดี �ำ เนนิ งาน และใหก้ ารชว่ ยเหลอื สนบั สนนุ
ให้การใช้หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้
หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ผู้บริหารก็จะได้ตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้ทันท่วงที	

       1.4 	การนำ�ผลการประเมินไปใช้เพื่อตัดสินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของหลักสูตร หลังจากที่
ผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องได้ดำ�เนินการใช้หลักสูตรครบวงจรตามระยะเวลากำ�หนดไว้แล้ว ก็จะต้องมีการ
ประเมินผลการใช้หลักสูตรทั้งระบบและใช้สารสนเทศจากผลการประเมินตัดสินคุณค่า หรือตรวจสอบ
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93