Page 87 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 87

การประเมินหลักสูตร 7-77

เรือ่ งท่ี 7.4.2 แนวปฏบิ ตั ิในการน�ำ ผลการประเมนิ หลกั สตู รไปใช้

       การนำ�ผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ ผู้บริหาร หรือผู้เกี่ยวข้องที่ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับหลักสูตร
จะต้องคำ�นึงถึงลักษณะและแนวปฏิบัติในการนำ�ผลการประเมินหลักสูตรไปใช้ ซึ่งจะทำ�ให้เกิดประโยชน์ต่อ
การพัฒนาปรับปรุง พัฒนาหลักสูตร การบริหารหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การนำ�ผลการประเมิน
หลักสูตรไปใช้มีลักษณะและแนวปฏิบัติในการนำ�ไปใช้ ดังนี้

1. 	ลักษณะของการน�ำ ผลการประเมินหลกั สตู รไปใช้

       การนำ�ผลการประเมินหลักสูตรไปใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจของผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องในการ
เลือกทางเลือกในการดำ�เนินการเกี่ยวกับหลักสูตรได้ในลักษณะต่างๆ ดังนี้

       1.1 	การนำ�ผลการประเมินไปใช้เพื่อการพัฒนาหลักสูตร โดยหน่วยงานทางการศึกษาหรือ
สถานศกึ ษาไดใ้ ชส้ ารสนเทศจากการประเมนิ กอ่ นการพฒั นาหลกั สตู ร ประกอบการตดั สนิ ใจในการรเิ ริม่ พฒั นา
หลกั สตู ร เพื่อใหไ้ ดห้ ลกั สตู รทีม่ คี ณุ ภาพ มคี วามเหมาะสมกับสภาพปจั จุบันและตอบสนองความตอ้ งการของ
ผู้เรียน ผู้ปกครอง และสังคม โดยผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้องจะต้องแสวงหาสารสนเทศให้ครบถ้วน เพียงพอ
ต่อการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งจะต้องมีการประเมินความต้องการจำ�เป็น หรือการประเมินสภาวะแวดล้อมของ
หลักสูตร เพื่อให้มีเหตุผลที่เพียงพอและเกิดความมั่นใจต่อการพัฒนาหลักสูตร ตัวอย่างเช่น

            1.1.1 สถาบันการศึกษาทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่ได้
ตื่นตัวเนื่องจากได้วิเคราะห์หรือประเมินแนวโน้มของสภาพการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 ที่
ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ทำ�ให้สถาบันการศึกษาได้ใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องนี้ตัดสินใจ
พัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องอาเซียนในหลายลักษณะ เช่น หลักสูตรอาเซียนศึกษา เป็นต้น

            1.1.2 สถาบันการผลิตครูหลายแห่งได้วิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของการผลิต
ครูของประเทศพบว่า มีความต้องการครูสาขาวิชาการประถมศึกษา จึงได้ใช้สารสนเทศดังกล่าวนี้ตัดสินใจ
พัฒนาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษาเพื่อผลิตครูให้ตอบสนองความต้องการใช้ครู
สาขาวิชาการประถมศึกษา

            1.1.3 สถานศึกษาขั้นพื้นฐานหลายแห่งได้ศึกษาบริบทของชุมชนที่สถานศึกษาตั้งอยู่และ
ประเมินความต้องการจำ�เป็นของหลักสูตรท้องถิ่นแล้วใช้สารสนเทศดังกล่าว เป็นข้อมูลพื้นฐานสำ�หรับการ
พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาหรือหลักสูตรท้องถิ่น ดังตัวอย่างที่เยาวรัตน์ เชี่ยวชาญ (2552) ไดัศึกษาข้อมูล
พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร พบว่า สถานศึกษาควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและ
สังคมในท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ชีวิตของตนเองและท้องถิ่น และได้ศึกษาความต้องการจำ�เป็น
ในการพัฒนาหลักสูตรซึ่งพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่า ควรพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องข้าวไทย สำ�หรับ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้พัฒนาหลักสูตรจึงได้ใช้สารสนเทศเป็นข้อมูลพื้นฐาน
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92