Page 71 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 71

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-61

การศกึ ษาในระบบปกติท่วั ไป นกั ศกึ ษาอยตู่ า่ งสถานท่กี นั หา่ งไกลจากสถาบนั และผูส้ อน (นิคม ทาแดง, 2534:
482)

       คีแกน (Keegan, 1990) ได้อธิบายความแตกต่างของการศึกษาทางไกลกับการศึกษาอิสระว่าไม่
สามารถน�ำมาใช้ร่วมกันได้ เพราะแนวคิดของการศึกษาทางไกลไม่จ�ำเป็นต้องศึกษาอย่างอิสระทั้งหมด แต่จะ
ผสมผสานทั้งการมีปฏิสัมพันธ์และศึกษาอย่างอิสระ ผู้สอนในระบบการศึกษาทางไกล คือ ผู้ออกแบบ
หลักสูตร (course designer) หรือผู้จัดโปรแกรมการเรียน (programmer)

       ไมเคิล จี.มอร์ (Michael G. Moore) ผู้พัฒนาทฤษฎีการศึกษาอิสระ (Independence Study) ใน
สหรัฐอเมริกามานานนับ 10 ปี เขามีจุดเน้นอยู่ 2 มิติ คือ การแยกจากกันทางกายภาพระหว่างผู้สอนกับ
ผู้เรียน และการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียนจากชุดการเรียนที่ได้ออกแบบไว้

       เมอื่ พจิ ารณาในดา้ นของผเู้ รยี น ดา้ นวสั ดกุ ารศกึ ษาโดยพน้ื ฐานแลว้ การศกึ ษาทางไกลดจู ะไมแ่ ตกตา่ ง
จากการศึกษาระบบปกติท่ัวไปนัก แต่จะต่างกันในแง่ของกระบวนการส่ือสารวิธีการสอนและกระบวนการ
เรียนรู้เป็นกลุ่ม

       แดเนียล (Daniel, 1995: 7) อธิบายคุณลักษณะพ้ืนฐานของการศึกษาทางไกลว่ามีข้อสรุปเป็น 2
ประการ คือ เป็นการสอนแบบห้องเรียนทางไกล (remote-classroom teaching) ท่ีมีการสื่อสารในลักษณะ
พรอ้ มกนั และเปน็ การสอนทางไปรษณยี ์ (correspondence) ทมี่ กี ารสอื่ สารแบบไมพ่ รอ้ มกนั (asynchronous
communication)

       การศึกษาทางไกลมีรากฐานท่ีผสมผสานมาจากแนวคิดของการศึกษารูปแบบอ่ืน เพราะทฤษฎีของ
การศึกษาทางไกลเก่ียวข้องกับทฤษฎีทางการศึกษาโดยท่ัวไป ทฤษฎีของข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการส่ือสารและ
เทคโนโลยีทางการศึกษา แล้วน�ำมาใช้พัฒนาวิธีคิด และวิธีการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้เรียน

       ทวี นาคบุตร และชนิดา พิทักษ์สฤษดิ์ ได้สรุปความหมายของการศึกษาทางไกลว่าหมายถึง รูปแบบ
ของวิธีการจัดการศึกษาที่การเรียนการสอนไม่มีช้ันเรียน ส่วนใหญ่ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองอย่างอิสระจาก
ชุดการศึกษาทางไกลรายบุคคล ในรูปของส่ือประสมท่ีสถาบันการศึกษาได้ออกแบบไว้และจัดส่งไปให้ โดย
ผู้สอนกับผู้เรียนมิได้เผชิญหน้ากัน แต่จะมีการเข้ารับการสอนเสริมบ้างเป็นครั้งคราวตามเวลาและสถานที่
ที่ก�ำหนดไว้

       3.2		ความส�ำคัญของการศึกษาทางไกล การศึกษาทางไกลท�ำให้เกิดการเปล่ียนแปลง ความ
เคลื่อนไหว และได้มีการหันมาพิจารณาทบทวนด้านการศึกษาในหลายประเด็นที่ส�ำคัญ การศึกษาทางไกลมี
บทบาทและความส�ำคัญในด้านต่าง ๆ คือ

            1) 	จัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอ้ือประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางทุกระดับ
การลดข้อจ�ำกัดเร่ืองสถานที่ สามารถจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนจ�ำนวนมากท่ีอยู่กระจัดกระจายตาม
ท้องถิ่นท่ีห่างไกล

            2) 	สนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการศึกษา การออกแบบสื่อวิธีการสอนในรูปของ
ชุดการเรียนรายบุคคล (Individualized Learning Packages) ท่ีมุ่งให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองในเวลาและ
สถานที่ท่ีผู้เรียนสะดวก ตลอดจนมีการออกแบบผลิตสื่อหลากหลายรูปแบบเพ่ือสนองความต้องการของ
ผู้เรียน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76