Page 69 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 69

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-59

       2.3 	การจัดการศึกษาทางเลือกในประเทศไทย ในด้านการจัดการศึกษาทางเลือกในประเทศไทย
สุชาดา จักรพิสุทธ์ิ และคณะได้ศึกษา เร่ือง “การศึกษาทางเลือก: ฐานข้อมูลและการวิเคราะห์” พ.ศ. 2548
ได้เน้นถึงความมีอยู่จริงของการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย โดยได้ส�ำรวจและจัดท�ำฐานข้อมูล ทะเบียน
(Directory) ชุมชน กลุ่ม องค์กร กิจกรรม และกระบวนการเรียนรู้ที่มีอยู่ในขอบข่ายการศึกษาทางเลือกของ
ประชาชนในปริมณฑล ท่ัวประเทศไทย งานวิจัย ได้น�ำเสนอการจัดแบ่งการศึกษาทางเลือก ออกเป็น 7 ฐาน
การเรียนรู้ ได้แก่

            1) 	การศกึ ษาทางเลอื กทจ่ี ดั โดยครอบครวั หรอื Home School ครอบคลมุ ทง้ั ครอบครวั เดย่ี ว
และกลุ่มครอบครัวหรือเครือข่าย

            2) 	การศึกษาทางเลือกที่อิงกับระบบรัฐ ได้แก่ โรงเรียนในระบบที่จัดกระบวนการเรียน การ
สอนแบบเน้นความรู้เชิงประสบการณ์และการปฏิบัตินอกต�ำราเรียน หรือนวัตกรรมการเรียนรู้

            3) 	การศึกษาทางเลือกสายครูภูมิปัญญา ได้แก่ พ่อครู แม่ครู ปราชญ์ชาวบ้าน ที่สังกัดกลุ่ม
เครือข่ายและด�ำเนินการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่ชนรุ่นหลังทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่ายใน
ความรู้ด้านศิลปะการช่าง การแพทย์พ้ืนบ้านและสมุนไพร การอ่านเขียนอักษรโบราณ นาฏศิลป์พ้ืนบ้าน
เป็นต้น

            4) 	การศึกษาทางเลือกสายศาสนธรรม ซ่ึงจัดกระบวนการการเรียนรู้แก่สมาชิกในสังกัด ทั้ง
แนวเศรษฐกิจพอเพียง การต่อต้านบริโภคนิยม การปฏิบัติสมาธิหรือการปฏิบัติธรรมในแนวทางต่าง ๆ
หลากหลาย ตามความเชื่อ แต่ละส�ำนักและก่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ผู้เข้าร่วม

            5) 	การศกึ ษาทางเลอื กทเี่ ปน็ สถาบนั นอกระบบรฐั ไดแ้ ก่ กลมุ่ กจิ กรรมทางการศกึ ษาทม่ี เี จตนา
ในการจัดกระบวนวิชาความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายของตนท้ังแบบเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถาบัน
การเรียนรู้ขององค์กรพัฒนาเอกชน ศูนย์ ชมรมฯ เช่น สาวิกาสิกขาลัย มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สถาบันพัฒนา
ศักยภาพชุมชน เสมสิกขาลัย เป็นต้น

            6) 	การศกึ ษาทางเลอื กของกลมุ่ การเรยี นรผู้ า่ นกจิ กรม เปน็ ภาคการเรยี นรทู้ กี่ วา้ งขวางหลากหลาย
มากท่ีสุดทั้งกลุ่มการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมออมทรัพย์ การเกษตร การแพทย์พื้นบ้าน การพัฒนาอาชีพ การ
สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรม การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอนามัยและ
สาธารณสุข การดูแลเด็กและเยาวชน การฟื้นฟูผู้ป่วยเอดส์ การป้องกันยาเสพติด การจัดการชุมชน เป็นต้น

            7) 	การศึกษาทางเลือกผ่านส่ือการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ ท้ังที่ผ่านส่ือสารมวลชนประเภท
สิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสมัยใหม่อย่างเว็บไซต์ รวมถึงห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ แหล่งท่องเท่ียว หรือ
แหล่งเรียนรู้สาธารณะท่ีมีความต่อเน่ือง ก่อเกิดการเรียนรู้อย่างใดอย่างหนึ่ง

       จากผลการส�ำรวจของสุชาดา จักรพิสุทธ์ิ และคณะ ในปี 2548 ได้จัดท�ำทะเบียนการศึกษาทางเลือก
รวม 209 แห่ง แบ่งตามภูมิภาค ดังนี้ ภาคเหนือ จ�ำนวน 58 แห่ง ภาคอีสาน จ�ำนวน 51 แห่ง ภาคกลาง 50
แห่ง ภาคใต้จ�ำนวน 50 แห่ง

       แต่ละแห่งมีข้อมูลภูมิหลัง เจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้ เน้ือหาหรือหลักสูตร รูปแบบหรือ
กระบวนการเรียนรู้ และผลกระทบที่เกิดข้ึน โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มูลนิธิเด็ก ซึ่งมีการติดต่อสัมพันธ์กับ
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74