Page 70 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 70

1-60 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

ผู้จัดการศึกษาทางเลือกอยู่อย่างต่อเนื่อง ท�ำให้สุดท้ายได้ผลพอท่ีจะสรุปว่า ส่วนใหญ่ยังด�ำเนินการอยู่ แต่
ไม่สามารถยืนยันประสิทธิผลของการด�ำเนินงาน และจ�ำนวนท่ีแน่นอนอย่างเป็นทางการได้ และย่ิงหากนับ
รวมการศึกษาทางเลือกท่ีเข้าไปอยู่ในโรงเรียน ครอบครัว โฮมสคูล ซึ่งมีเพ่ิมข้ึนทุกปี ทั้งจ�ำนวนผู้จัดและรูป
แบบการจัดการศึกษาทางเลือกในสังคมไทย

3. 	การศึกษาทางไกล

       การศึกษาทางไกลเป็นแนวทางการจัดการศึกษาอีกรูปแบบหน่ึงที่ผู้เรียนผู้สอนอยู่ไกลกัน เป็นระบบ
ที่มีประสิทธิภาพและเป็นท่ียอมรับกันท่ัวโลก การท�ำความเข้าใจกับการศึกษาทางไกลในที่น้ี เสนอความหมาย
ของการศึกษาทางไกล ความส�ำคัญของการศึกษาทางไกลและรูปแบบของการศึกษาทางไกลมีรายละเอียด
ดังน้ี

       3.1 	ความหมายของการศึกษาทางไกล ค�ำว่าการศึกษาทางไกลมีการใช้ค�ำท่ีแตกต่างกันไป เช่น
“Distance Education” “Distance Learning” และ “Distance Teaching” รวมทั้งได้อธิบายความ
หมายและคุณลักษณะของการศึกษาทางไกลไว้หลากหลายแนวคิด นอกจากศึกษาค�ำจ�ำกัดความของการ
ศึกษาทางไกลแล้ว การพิจารณาจากหลายแง่มุมท่ีเก่ียวข้องกับการศึกษาทางไกลให้กว้างขวางออกไปเพื่อ
วิเคราะห์เชื่อมโยงความคิดก็จะเกิดความเข้าใจวิธีการศึกษาทางไกลได้ลุ่มลึกยิ่งข้ึน

       ใน “Dictionary of Distance Education Terminology” อธิบายความหมายของการศึกษา
ทางไกล คือ การศึกษาที่ด�ำเนินการผ่านทางไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรศัพท์ โดยไม่
ได้ติดต่อส่ือสารแบบเผชิญหน้ากันโดยตรงระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน มีการสอนด้วยวัสดุการศึกษาที่ออกแบบ
จัดเตรียมไว้โดยเฉพาะเพื่อส่งถึงผู้เรียนแต่ละคนหรือกลุ่มผู้เรียน ความก้าวหน้าของผู้เรียน ตรวจสอบจาก
แบบฝึกหัดท่ีเป็นข้อเขียนหรือเทปที่ส่งให้ผู้สอนตรวจ แล้วส่งกลับไปยังผู้เรียน เพ่ือดูข้อเสนอแนะจากผู้สอน
คีแกน (Keegan, 1980) ได้อธิบายค�ำจ�ำกัดความของการศึกษาทางไกลว่า ผู้สอนกับผู้เรียนแยกจากกัน
(non-contiguous) เป็นการศึกษาจากภายนอกที่ใช้เกณฑ์มาตรฐานการศึกษาทางไกลของสถาบัน (external
study) ไม่มีชั้นเรียน (off campus) การศึกษาสมทบ (extramural)

       วิจิตร ศรีสอ้าน ให้ความหมายของ “การเรียนการสอนทางไกล (Distance Learning) หมายถึง
ระบบการเรียนการสอนท่ีไม่มีชั้นเรียน แต่อาศัยส่ือประสม อันได้แก่ สื่อไปรษณีย์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุ
โทรทัศน์และการสอนเสริม รวมท้ังศูนย์บริการการศึกษาเป็นหลัก โดยมุ่งให้ผู้เรียนเรียนได้ด้วยตนเองอยู่ที่
บ้านไม่ต้องมาเข้าช้ันเรียนตามปกติ” และ“การสอนทางไกล (Distance Teaching) มีความหมายโดยทั่วไป
ว่า ผู้เรียนและครูผู้สอนต่างอยู่ห่างไกลกัน มีโอกาสพบกันบ้างบางโอกาส และสามารถมีกิจกรรมร่วมกันผ่าน
การใช้สื่อการสอนต่าง ๆ ที่ใช้อ�ำนวยความสะดวกต่อการเรียนของนักศึกษา” (วิจิตร ศรีสอ้าน, 2529: 5-9)

       นิคม ทาแดง ได้อธิบาย “การศึกษาทางไกล” (Distance Education) ว่าเป็นค�ำท่ีประเทศยุโรปใช้
เป็นระบบการศึกษาที่พัฒนามาในท�ำนองเดียวกันกับการศึกษาอิสระ (Independence Study) ของอเมริกา
ซึง่ มคี วามหมายรวมท้ังการศึกษาทางไปรษณยี แ์ ละการศกึ ษาระบบเปดิ ดว้ ย การศึกษาทางไกลเป็นการจัดการ
เรียนการสอนโดยการใช้ส่ือต่าง ๆ ส่งไปให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองโดยไม่ต้องเข้าช้ันเรียนเป็นประจำ� เหมือน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75