Page 66 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 66

1-56 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

ของมนุษย์แต่ละคนที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านความถนัด ความสนใจ ความพร้อมในการเรียนรู้
รวมถึงความแตกต่างด้านสภาพแวดล้อมในวิถีชีวิตครอบครัว สังคม วัฒนธรรม และความหลากหลายทาง
ชาติพันธุ์ แม้การศึกษาทางเลือกจะมีรูปแบบวิธีการท่ีหลากหลาย แต่ภายใต้ความแตกต่างหลากหลายน้ันยัง
มีหลักการส�ำคัญร่วมกัน อันได้แก่ การพัฒนาภาวะภายใน และจิตวิญญาณของมนุษย์ การมีวิธีการเรียนรู้ท่ี
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม และเสริมสร้างทักษะจากการปฏิบัติจริงผ่านกระบวนการท่ีสอดคล้องกับ
ธรรมชาติ ทรัพยากรท่ีมีอยู่ และวิถีชีวิตของชุมชน โดยการเคารพตนเอง เคารพเพื่อนมนุษย์ และเคารพ
ธรรมชาติ ทั้งนี้เพ่ือน�ำผู้เรียนไปสู่การเติบโตและพัฒนาเป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ทั้งกาย ใจ และจิตวิญญาณอย่าง
เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก

       ส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (2551) ให้นิยามของการศึกษา
ทางเลือกว่า “การศึกษาทางเลือก หมายถึง การจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนท่ีไม่
ประสงค์จะเรียนในระบบการศึกษาตามปกติ ซึ่งมีเหตุผลมาจากพื้นฐานของบุคคลตามปรัชญาความเชื่อ
ทางการศึกษาและการเรียนรู้ หรือตามปรัชญาความเชื่อทางการเมือง ปรัชญาความเชื่อทางศาสนาและความ
ศรทั ธา หรอื เปน็ การสนองความตอ้ งการสว่ นบคุ คลเปน็ การเฉพาะมใิ ชก่ ารจดั การศกึ ษาทจี่ ดั ใหก้ บั บคุ คลทวั่ ไป
หรอื แม้กระท่งั การตอบสนองของบุคคลทจ่ี ะปฏิเสธระบบความสมั พนั ธร์ ะหว่างผูส้ อนและผเู้ รียนในการศกึ ษา
ระบบปกติ

       รายงานติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัว (2552) ได้รวบรวมค้นหา
นิยามความหมายทางการศึกษาทางเลือก จากเว็บไซต์หลายแห่งจากหลายประเทศ ซ่ึงสุดท้าย กล่าวโดยสรุป
ว่า ในต่างประเทศได้ให้ความหมายการศึกษาทางเลือกท่ีสอดคล้องโดยส่วนใหญ่ว่า “การศึกษาทางเลือก เป็น
รูปแบบการศึกษาที่ไม่ใช่ หรือต่างจากรูปแบบการศึกษากระแสหลัก มีปรัชญาการศึกษาใหม่ที่มีรากฐานมา
จากปรัชญาที่หลากหลายและไม่ยึดติดกับปรัชญาดั้งเดิม โดยมีการเรียนการสอนท่ีมีขอบเขตกว้างขวางและ
หลากหลายรูปแบบมากกว่าการศึกษากระแสหลัก ท่ียึดความต้องการของบุคคลและชุมชนเป็นหลัก”

       2.2 	แนวคดิ ของการศกึ ษาทางเลอื ก วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา (2545: 60-61) กล่าวถึง แนวคิดของ
การศึกษาทางเลือกว่า มีแนวคิดอยู่บนพื้นฐานของจิตวิทยา ปรัชญา ศาสนธรรม มนุษยธรรม และชุมชนท่ี
หลากหลาย เพราะการศึกษาทางเลือกเป็นการศึกษาท่ีหลากหลาย มิใช่ว่าจะได้มาง่าย ๆ เพราะเป็นการต่อสู้
ทางชนช้ัน ท่ีชนช้ันน�ำใช้ระบบการศึกษาสะกดชนชั้นล่างให้ยอมจ�ำนนมานับศตวรรษ ดังนั้น การศึกษาทาง
เลือกจึงเป็นการศึกษาเพ่ือปลดปล่อยมนุษยชาติให้ได้รับอิสรภาพตามแนวทางของแต่ละคน แต่ละชุมชน ที่
จะเลือกเส้นทางไปสู่การเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีสังคมแห่งสันติสุข ซึ่งการศึกษาจะเป็นเคร่ืองมือส�ำคัญ
อย่างหนึ่ง

       ประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาแนวคิดของการศึกษาทางเลือกถูกรับเข้ามาใน
ฐานะนวัตกรรมการศึกษาในระบบโรงเรียน ซ่ึงแนวคิดของการศึกษาทางเลือกจะแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะดังนี้

            2.2.1	 แนวคิดตะวนั ตก มีหลากหลายแนวคิด ได้แก่
            การศึกษาแบบซัมเมอร์ฮิล โดย เอ.เอส. นีล ชาวอังกฤษ (Summerhill, A.S. Neill) แนวคิด
น้ีมุ่งเน้นเสรีภาพของเด็ก จ�ำกัดการใช้อ�ำนาจของผู้ใหญ่ท่ีเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ของเด็ก
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71