Page 67 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 67

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-57

            การศึกษาแบบมอนเตสเซอรี่ โดยแพทย์หญิงมาเรีย มอนเตสเซอร์รี่ ชาวอิตาลี (Maria
Montessori) มีแนวคิดที่มุ่งให้เด็กเจริญงอกงามไปตามความต้องการ ตามธรรมของตนเอง และการสร้าง
สภาพแวดล้อม อุปกรณ์เคร่ืองมือช่วยในการเรียนรู้ที่ท�ำให้เด็กสามารถดึงเอาศักยภาพที่มีอยู่ในตัวให้
ปรากฏออกมา

            การศึกษาแบบวอลดอร์ฟ โดยรูดอล์ฟ สไตเนอร์ ชาวออสเตรีย (Waldorf, Rudolf Steiner)
เช่ือว่ามนุษย์ประกอบด้วยกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ ท่ีมีพัฒนาการไปตามช่วงวัย การศึกษาท่ีแท้จริงจะ
ต้องเป็นระบบบูรณาการในการสร้างสรรค์สมรรถภาพท้ังสามประการของมนุษย์ ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก
และพลังของเจตจ�ำนง เพื่อการพัฒนาปัจเจกชนผู้มีอิสระทางปัญญา

            โฮมสคูล (Homeschool) คือ การที่พ่อแม่เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้กับบุตรหลาน
ของตน แทนการส่งเข้าโรงเรียน มีแนวคิดจากนักการศึกษาในสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความเช่ือว่าระบบการศึกษา
แบบในโรงเรียนได้ขยายตัวมาอย่างผิดพลาด ในแง่การเรียนรู้ท่ีแท้จริงเด็กสามารถเติบโตและพัฒนาได้โดย
ไม่ต้องไปโรงเรียน สภาพแวดล้อม รวมทั้งกิจกรรมในวิถีการด�ำเนินชีวิตท่ัวไป สามารถเกิดการเรียนรู้จากตัว
เด็กเองได้

            2.2.2 	แนวคิดตะวันออก ส�ำหรับการศึกษาทางเลือกโดยทั่วไปจะมีความสอดคล้องกับ
พระพุทธศาสนา ค�ำสอน ความเช่ือ และความศรัทธา ให้กลมกลืนกับวิถีธรรมชาติ ได้แก่ นีโอฮิวแมนนิสต์
(Neo-Humanism) โดยพี.อาร์.ซาการ์ โรงเรียนใต้ร่มไม้หรือศานตินิเกตัน โดยรพินทรนาถ ฐากูร และการ
ศึกษาตามแนวคิดปรัชญาของกฤษณะมูรติ เป็นต้น

            นอกจากน้ี ในสมัยปัจจุบันแนวคิดการศึกษาทางเลือกได้แสดงพัฒนาการทางแนวคิด ของ
นักคิดร่วมสมัยหลายท่าน ได้แก่

            พระพรหมคุณาภรณ์ (ปยุต ปยุตโต) เสนอการศึกษาทางเลือกในลักษณะการศึกษาแนวพุทธ
การศึกษาเพ่ือสันติ การศึกษาเพื่อการแก้ปัญหา

            ประเวศ วสี เสนอการปฏิรูปการศึกษา ยกเครื่องการศึกษาเพื่อเป็นสังคมใฝ่การเรียนรู้
            สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เสนอการศึกษาทางเลือกเพ่ือความเป็นไทย
            นิธิ เอียวศรีวงศ์ เสนออุดมศึกษาทางเลือกเพ่ือเป็นการศึกษาของชุมชน
            จากแนวคดิ ทงั้ 2 แนวคดิ นส้ี อดคลอ้ งกบั รายงานวจิ ยั เรอื่ ง โครงการรเิ รม่ิ นวตั กรรมการเรยี นรู้ :
การศึกษาทางเลือก โดย วรินทรา ไกยูรวงศ์ และคณะ (อ้างอิงจากสุชาดา จักรพิสุทธ์ิ และคณะ, 2548:
78-79) ได้เสนอแนวคิด หลักการ หรือกระบวนการของการศึกษาทางเลือกมีรายละเอียดต่อไปน้ี
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72