Page 63 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 63

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-53

สค.บศ. สถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาคเอกชน และต่างประเทศ ส่งเสริมให้มีการจัดท�ำแผนพัฒนาครูและ
บุคลากรทางการศึกษาเป็นรายบุคคล (ID Plan) และให้มีการพัฒนาที่ตรงตามความต้องการของหน่วยงาน
และบุคคล เพื่อให้การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นเคร่ืองมือในการเปล่ียนแปลงและพัฒนา
คุณภาพการศึกษาได้อย่างแท้จริง

            4) 	ด้านการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่อให้มีความสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา
รอบสอง ด�ำเนินการวิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการทั้งระบบตั้งแต่ระดับสถานศึกษา ระดับเขตพ้ืนท่ีการ
ศึกษา และระดับส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน เพื่อปรับปรุงส่วนที่ไม่เข้มแข็ง แก้ไข และจัด
ระบบให้มีความเข้มแข็งเหมาะสมกับการจัดการศึกษาในทุกระดับท้ังการจัดหน่วยงานให้มีความเหมาะสมกับ
ภารกิจองค์กร การพัฒนาระบบการบริหารจัดการการก�ำหนดขอบเขตบทบาทหน้าท่ีของหน่วยงานหรือองค์
คณะบุคคล เป็นต้น เพื่อให้การบริหารจัดการและการจัดโครงสร้างองค์กรเป็นปัจจัยสู่ความส�ำเร็จของการ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน

              หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเร่ืองท่ี 1.3.1 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 1.3.1
                      ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 1 ตอนท่ี 1.3 เร่ืองที่ 1.3.1

เรื่องท่ี 1.3.2 	แนวคดิ ทางการศึกษารว่ มสมยั

       แนวคิดทางการศึกษาร่วมสมัยเป็นแนวคิดทางการศึกษาท่ีมีการกล่าวถึงกันในอดีต และในปัจจุบัน
ยังถือว่ามีความส�ำคัญ และควรพิจารณาในการจัดการศึกษา เพื่อให้การศึกษาตอบสนองความต้องการใน
ภาพรวมไดอ้ ยา่ งทวั่ ถงึ ทกุ ภาคสว่ น แนวคดิ ทางการศกึ ษารว่ มสมยั มหี ลายแนวคดิ ในทน่ี เ้ี สนอแนวคดิ ในเรอื่ ง
การศึกษาตลอดชีวิต การศึกษาทางเลือก และการศึกษาทางไกล แต่ละแนวคิดมีรายละเอียดดังน้ี

1. 	การศึกษาตลอดชวี ิต

       1.1 	ความหมายของการศึกษาตลอดชีวติ (Lifelong Education) ค�ำว่า “การศึกษาตลอดชีวิต” นั้น
ประกอบไปด้วยค�ำส�ำคัญ 3 ค�ำ คือ “Life” หรือ “ชีวิต” ชีวิตของบุคคลมีความเก่ียวข้องสัมพันธ์กับปัจจัย
หลายด้านทั้งด้านสังคม ส่ิงแวดล้อมศาสนา เศรษฐกิจ และการเมือง “Lifelong” หรือ “ช่วงชีวิตหรือตลอด
ชีวิต” ช่วงเวลาการด�ำเนินชีวิตของบุคคลต้ังแต่เกิดจนตายจะผ่านช่วงวัยต่าง ๆ “Education” หรือ “การ
ศึกษา” คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม โดยการถ่ายทอดความรู้การฝึก
การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลงความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68