Page 59 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 59

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-49

และรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ได้จัดท�ำเป็นรายงานเร่ือง “การศึกษา
เพื่อชีวิตและสังคม” ซึ่งครอบคลุมการจัดการศึกษา ทั้งโครงสร้างระบบการศึกษา ระบบบริหารการศึกษา
เนื้อหาสาระกระบวนการเรียนรู้ บทบาทและฐานะของครู การลงทุนทางการศึกษา กฎหมายการศึกษา เป็นต้น
แม้ว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งน้ันจะมิได้น�ำไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ แต่ก็ได้ด�ำเนินการไปบางส่วนในด้านการ
ปรับปรุงระบบบริหารการประถมศึกษาและระบบบุคลากรครู (สิปปนนท์ เกตุทัต, 2545: 5-12)

3. 	แนวทางการจดั การศกึ ษาไทยในชว่ ง พ.ศ. 2542-2550

       การจดั การศกึ ษาตง้ั แต่ พ.ศ. 2542 เปน็ ตน้ มา เปน็ การจดั การศกึ ษาตามแนวทางของพระราชบญั ญตั ิ
การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และท่ีแก้ไขเพ่ิมเติม (ฉบับท่ี 2) พ.ศ. 2545 การจัดการศึกษาตามพระราช
บัญญัตินี้ถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปการศึกษาคร้ังที่สาม ซึ่งเป็นผลจากข้อเสนอของคณะศึกษา การศึกษาไทยใน
ยุคโลกาภิวัตน์ คณะศึกษาฯ น้ี ประกอบด้วยนักวิชาการท้ังภาครัฐและเอกชน ได้เริ่มหารือและศึกษาแนวทาง
การปฏิรูปการศึกษาต้ังแต่ พ.ศ. 2537 ได้จัดสัมมนา ระดมความคิด จัดท�ำเอกสารเผยแพร่ เช่น ความฝัน
ของแผ่นดิน ความจริงของแผ่นดิน เป็นต้น สัมภาษณ์บุคคลกลุ่มต่าง ๆ แพร่กระจายความคิด ร่วมกับหน่วย
งานของรัฐด�ำเนินการร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและกระตุ้นให้องค์กรต่าง ๆ ร่วมมือกันผลักดัน
ให้มีการปฏิรูปการศึกษา แนวคิดของการปฏิรูปการศึกษาคร้ังนี้สรุปได้ว่า เป็น “การศึกษาเพื่อน�ำทางสู่สังคม
แห่งปัญญาและการเรียนรู้” (สิปปนนท์ เกตุทัต, 2545: 14-17)

       พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติเป็นกฎหมายการศึกษาของประเทศ มีสาระครอบคลุมความ
มุ่งหมายและหลักการ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ระบบการศึกษา แนวการจัดการศึกษา การบริหารและ
การจัดการศึกษา มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
ทรัพยากรและการลงทุนเพ่ือการศึกษา และเทคโนโลยีเพ่ือการศึกษา สาระต่าง ๆ ท่ีกล่าวมาสรุปได้ดังน้ี

       3.1 	ความมุ่งหมายและหลกั การ ในหมวด 1 ได้ระบุความมุ่งหมายของการจัดการศึกษาว่าต้องเป็น
ไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ท่ีสมบูรณ์ท้ังร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม
และวัฒนธรรมในการด�ำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อ่ืนอย่างมีความสุข จากความมุ่งหมายของการศึกษา
ดังกล่าว การจัดการศึกษาจะต้องยึดหลักตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้ระบุไว้ดังต่อไปนี้

            มาตรา 8 การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังน้ี
            1) 	เป็นการศึกษาตลอดชีวิตส�ำหรับประชาชน
            2) 	ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
            3) 	การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเน่ือง
            มาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังน้ี
            1) 	มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
            2) 	มีการกระจายอ�ำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วนท้องถ่ิน
            3) 	มีการก�ำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและ
ประเภทการศึกษา
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64