Page 58 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 58

1-48 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเก่ียวกับวิชาชีพครู

วิจัยเร่ือง “ปรีชาญาณสยาม: บทวิเคราะห์ด้านการศึกษา” สรุปได้ว่าในเชิงแนวคิดทางการศึกษา การศึกษา
ไทยเน้นคนเป็นหัวใจของการศึกษา การศึกษาจะต้องใช้ประโยชน์ได้ เน้นในเรื่องของจรรยาและอาชีพควบคู่
กัน ส่งเสริมคนเรียนเก่งและให้โอกาสคนเรียนอ่อน และเน้นการเคารพผู้อาวุโส รวมท้ังผู้อาวุโสกว่าจะให้
ความเมตตาและสงเคราะห์ผู้ด้อยอาวุโสกว่าด้วย ส่วนเอกลักษณ์ในเชิงวิธีการนั้น สรุปได้ว่า การศึกษาท่ีดี
เกิดจากคนและสิ่งแวดล้อมคู่กันไป เน้นการฝึกปฏิบัติ ให้คนทุกกลุ่มในสังคมเข้ามามีส่วนร่วม ด�ำเนินการ
ศึกษาแบบค่อยเป็นค่อยไป ค่อยเปลี่ยน ค่อยแปลง ด�ำเนินอย่างใช้เวลา ความคิดริเริ่มและความเป็นผู้น�ำใน
ทางปฏิบัติมักจะเริ่มจากระดับสูง

2. 	แนวทางการจดั การศึกษาไทยในช่วง พ.ศ. 2475-2542

       การจัดการศึกษาในช่วงนี้ เริ่มนับต้ังแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญา-
สิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตยเม่ือ พ.ศ. 2475 จนถึงก่อนการประกาศใช้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542

       ในสมัยเร่ิมเปล่ียนแปลงการปกครอง ได้มีการประกาศใช้แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2475 โดย
มีความมุ่งหมายให้พลเมืองทุกคนได้รับการศึกษาพอเหมาะกับอัตภาพของตน พอสมควรแก่ภูมิปัญญาและ
ทุนทรัพย์ ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งท่ี 2 ได้น�ำระบบทหารเข้ามาสู่โรงเรียนและสร้างกระแสความรู้สึก
ชาตินิยมข้ึน ในช่วงหลังสงคราม การศึกษาไทยได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกามากขึ้นในด้านการวางแผน
การศึกษา การจัดท�ำหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน และการอบรมครู ต่อมาได้มีแผนพัฒนาการศึกษา
แห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 และจัดเป็นส่วนหน่ึงของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผน
พัฒนาการศึกษาแห่งชาติได้มีการประกาศใช้ฉบับใหม่ทุก ๆ 5 ปี

       ส�ำหรับแนวคิดและจุดมุ่งหมายการจัดการศึกษาน้ัน ประยูร ศรีประสาธน์ (2547: 37) ได้สรุปไว้ว่า
การจัดการศึกษาช่วงเปล่ียนแปลงการปกครองมีจุดเน้นให้โรงเรียนกับชุมชนร่วมมือกันจัดการศึกษา การ
จัดการศึกษาเน้นภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติ เน้นการใช้สภาพแวดล้อมเป็นส่ือในการจัดการเรียนการ
สอน การจัดการเรียนการสอนต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของท้องถ่ินและชุมชนเพื่อให้ผู้จบการศึกษา
อยู่ประกอบอาชพี และท�ำประโยชน์แกป่ ระชาชน และเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธปิ ไตย ส�ำหรบั แนวคดิ
และจดุ ม่งุ หมายของการจดั การศึกษาในยุคพฒั นาประเทศตามแผนพัฒนาฯ ฉบับตา่ ง ๆ ยงั คงเนน้ การจัดการ
ศึกษาขั้นพ้ืนฐานเพ่ือพัฒนาความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตย ส่วนการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ตอนปลายเน้นการพัฒนาแรงงานระดับกลางและเพ่ือการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาซ่ึงเป็นการศึกษาวิชาการ
และวชิ าชพี ชนั้ สงู เพอื่ การประกอบอาชพี สง่ิ ทแี่ ตกตา่ งไปจากแนวคดิ และจดุ มงุ่ หมายการจดั การศกึ ษายคุ กอ่ น
คอื การเนน้ การจดั การศกึ ษาใหส้ อดคลอ้ งกบั ความตอ้ งการทางเศรษฐกจิ และสงั คมของประเทศ รวมทง้ั ความ
ต้องการแรงงานด้วย การจัดการศึกษาจึงถูกช้ีน�ำด้วยระบบและความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคมเป็น
ส�ำคัญ

       ใน พ.ศ. 2517 ได้มีความพยายามที่ถือได้ว่าเป็นการปฏิรูปการศึกษาคร้ังท่ีสอง คณะกรรมการวาง
พื้นฐานเพ่ือปฏิรูปการศึกษาซึ่งแต่งต้ังโดยรัฐบาลได้จัดท�ำข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการศึกษาโดยได้ศึกษา วิเคราะห์
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63