Page 57 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 57

ปรัชญา ทฤษฎีและแนวคิดทางการศึกษา 1-47

เรื่องท่ี 1.3.1 	แนวทางการจดั การศึกษา

       การจัดการศึกษาเป็นหน้าท่ีส�ำคัญของรัฐบาลทุกประเทศ เห็นได้จากการแถลงนโยบายรัฐบาลของ
ประเทศต่าง ๆ รวมท้ังของประเทศไทย ที่ต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาหรือ
การให้การศึกษาเป็นภาระส�ำคัญของสังคม แม้ว่าการศึกษาจะเป็นเร่ืองเฉพาะของบุคคล แต่สังคมก็จะต้อง
ดูแลให้คนในสังคมได้รับการศึกษาที่ดีเพื่อประโยชน์แก่บุคคล สังคม และประเทศชาติ

       การจัดการศึกษาของไทยได้มีแนวทางท่ีมุ่งพัฒนาคนและสังคมอย่างชัดเจนมาโดยตลอด ในท่ีนี้จะ
เสนอแนวทางการจัดการศึกษาไทยในอดีตก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การจัดการศึกษา
ในช่วง พ.ศ. 2475-2542 และการจัดการศึกษาในช่วง พ.ศ. 2542-2550

1. 	แนวทางการจัดการศึกษาไทยในอดตี ถึงก่อนการเปลีย่ นแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

       การศึกษาของไทยในอดีตก่อนมีระบบโรงเรียนเป็นการศึกษาในบ้าน วัด วัง ส�ำนักต่าง ๆ รวมทั้งการ
ศึกษาท่ีศาสนาต่าง ๆ จัดข้ึน ซ่ึงเป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ทางวิชาการ วิชาชีพและการอบรมส่ังสอนศีลธรรม
ในดา้ นการเผยแพรค่ วามรใู้ นรชั สมยั พระบาทสมเดจ็ พระนง่ั เกลา้ เจา้ อยหู่ วั ไดโ้ ปรดฯ ใหจ้ ารกึ สรรพตำ� ราตา่ ง ๆ
ทว่ี ดั พระเชตุพนวมิ ลมงั คลารามราชวรมหาวหิ ารเพอื่ ให้ประชาชนไดศ้ กึ ษาเลา่ เรียน นบั วา่ เปน็ แนวทางทสี่ ำ� คญั
ในการใหก้ ารศึกษาโดยมติ อ้ งเรยี นในชน้ั เรียน ตอ่ มาเม่อื มีการคกุ คามของจกั รวรรดินยิ มตะวนั ตกตอ่ ประเทศ
เพ่ือนบ้าน ได้มีความสนใจในการศึกษาวิทยาการจากตะวันตกมากข้ึน ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูประบบราชการและระบบการศึกษาซึ่งนับได้ว่าเป็นการปฏิรูปการศึกษา
คร้ังแรก ทรงจัดตั้งโรงเรียนหลวงข้ึนในพระบรมมหาราชวัง เม่ือ พ.ศ. 2414 และโรงเรียนส�ำหรับราษฎร คือ
โรงเรียนวัดมหรรณพาราม เม่ือ พ.ศ. 2427 ต่อมาได้จัดต้ังโรงเรียนในหัวเมืองทั่วประเทศ ท้ังน้ีทรงประกาศ
โดยชัดเจนว่าการศึกษาเป็นเรื่องส�ำคัญที่จะต้องจัดให้ราษฎรได้เล่าเรียนได้เสมอกัน ได้มีการจัดท�ำโครงการ
ศึกษา จัดท�ำหลักสูตร จัดต้ังโรงเรียนในระดับต่าง ๆ อย่างสอดคล้องกันท้ังระบบ ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ทรง
ขยายการศึกษาให้กว้างขวางข้ึน ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติประถมศึกษาฉบับแรก เมื่อ พ.ศ. 2464
ได้พยายามชักจูงให้พลเมืองเห็นความส�ำคัญของวิชาชีพและการพาณิชย์ ได้มีการจัดต้ังโรงเรียนอาชีวศึกษา
ประเภทต่าง ๆ ได้ยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เม่ือ พ.ศ. 2459
เน่ืองจากทรงมีพระราชด�ำริเห็นสมควรจะขยายการศึกษาในโรงเรียนให้กว้างขวางขึ้น คือ ไม่เฉพาะส�ำหรับ
ผู้ที่จะเล่าเรียนเพื่อรับราชการเท่านั้น ผู้ใดท่ีมีความประสงค์จะศึกษาวิชาชั้นสูงก็ให้เข้าเรียนในโรงเรียนนี้ได้
ท่ัวกัน อย่างไรก็ตาม ผู้ได้รับการศึกษาส่วนใหญ่ประสงค์ที่จะเข้ารับราชการ และมุ่งเรียนวิชาสามัญมากกว่า
วิชาชีพ

       ส�ำหรับแนวคิดทางการศึกษาในสมัยเร่ิมมีระบบโรงเรียนนี้ สุมน อมรวิวัฒน์ และคณะ (2541: 104)
ไดว้ เิ คราะหเ์ อกลกั ษณข์ องการศกึ ษาไทยในเชงิ แนวคดิ และเอกลกั ษณเ์ ชงิ วธิ กี ารทางการศกึ ษา ไวใ้ นการศกึ ษา
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62