Page 64 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 64

1-54 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู

อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคมการเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเน่ืองตลอด
ชีวิต นอกจากจะให้ความหมายโดยวิเคราะห์จากค�ำท่ีเป็นองค์ประกอบของ “การศึกษาตลอดชีวิต” แล้ว
นักการศึกษาหลายท่านได้วิเคราะห์โดยพิจารณาว่า การศึกษาตลอดชีวิตเป็นการศึกษาที่ผสมผสานใน 2 มิติ
คือ มิติที่ 1 เป็นการพิจารณาในแนวตั้งว่าการศึกษามีความจ�ำเป็นแก่บุคคลในทุกช่วงชีวิต ต้ังแต่เกิดจนตาย
ไม่เฉพาะเม่ือบุคคลอยู่ในวัยเรียนเท่านั้น มิติท่ี 2 เป็นการพิจารณาในแนวนอนว่า การศึกษากับชีวิตเป็นส่ิงที่
เชอ่ื มโยงกนั การศกึ ษาหรอื การเรยี นรจู้ งึ ควรผสมผสานกลมกลนื เขา้ กบั การดำ� เนนิ ชวี ติ นนั่ คอื การผสมผสาน
ระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อช่วยพัฒนาบุคคลในทุก ๆ
ด้านอย่างสมบูรณ์จากแนวคิดดังกล่าวสามารถสรุปความหมายของการศึกษาตลอดชีวิตได้ว่า “การศึกษา
ตลอดชีวิต” เป็นการศึกษาในภาพรวมท้ังหมด ซึ่งครอบคลุมท้ังการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลทุกช่วงอายุตั้งแต่เกิดจนตาย โดยในแต่ละช่วงชีวิต
บุคคลอาจได้รับการศึกษารูปแบบใดรูปแบบหน่ึงหรือหลายรูปแบบผสมผสานกัน เป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับ
วถิ กี ารดำ� เนนิ ชวี ติ ของบคุ คล สมั พนั ธก์ บั ปจั จยั ตา่ ง ๆ ทเี่ กย่ี วขอ้ งกบั การดำ� เนนิ ชวี ติ ทงั้ ด้านสงั คม สง่ิ แวดล้อม
ศาสนาเศรษฐกิจ การเมือง ท้ังนี้ เพ่ือมุ่งพัฒนาบุคคลอย่างเต็มศักยภาพ ให้มีความรู้ทักษะ และประสบการณ์
อย่างเพียงพอต่อการด�ำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการปรับตัวเข้ากับสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมท่ี
เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสมในทุกช่วงชีวิต

       1.2 	ความสำ� คญั ของการศกึ ษาตลอดชวี ติ เนื่องจากการศึกษามีความจ�ำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ในทุกช่วง
อายุ เพราะมนุษย์ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมส่ิงแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะใน
สภาวการณ์ปัจจุบัน ความจ�ำเป็นของการศึกษาจะย่ิงดูชัดเจนมากขึ้น เพราะมีความเปล่ียนแปลงเกิดข้ึน
มากมาย ซ่ึงมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และต่อการด�ำเนินชีวิต ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนั้นนับวัน
จะเกิดข้ึนอย่างรวดเร็วและซับซ้อนมากขึ้น เกินกว่าที่จะใช้ความรู้ท่ีสะสมมาเม่ือสมัยอยู่ในวัยเรียนมาช่วยได้
การศกึ ษาทบี่ คุ คลได้รบั เมือ่ อยใู่ นชว่ งวยั เรียนนัน้ เปน็ เพยี งสว่ นหนงึ่ ของชีวิตเทา่ น้ัน อาจเรยี กว่าเปน็ เครื่องมือ
พื้นฐานท่ีจะช่วยให้บุคคลแสวงหาความรู้ได้ต่อไป ช่วงชีวิตหลังวัยเรียนเป็นช่วงชีวิตที่ยาวนานกว่าหลาย
เท่า ประเทศต่าง ๆ ได้ตระหนักถึงความส�ำคัญและความจ�ำเป็นของการท่ีประชาชนจะต้องได้รับการศึกษา
ตลอดชีวิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในศตวรรษท่ี 21 ซึ่งเป็นยุคของความเจริญและความเปล่ียนแปลงอย่าง
รวดเร็วของวิทยาการและเทคโนโลยี เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร ความจ�ำเป็นที่ประเทศต่าง ๆ ต้องน�ำการศึกษา
ตลอดชีวิตไปเป็นแนวคิดหลักในการจัดการศึกษาของประเทศนั้น สามารถสรุปได้ว่ามาจากปัจจัยส�ำคัญ
ต่อไปนี้ คือ ความเปล่ียนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและอาชีพการงาน การเปล่ียนแปลงทางด้านสังคมและ
วฒั นธรรม ความเจรญิ กา้ วหนา้ ทางวทิ ยาการและเทคโนโลยี ความเปลยี่ นแปลงทางดา้ นการเมอื งการปกครอง
การปล่ียนแปลงทางด้านความเป็นอยู่การด�ำเนินชีวิต การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และข้อจ�ำกัดของ
การจัดการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่ิงเหล่าน้ีมีผลกระทบต่อประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม และมีผล
กระทบต่อเนื่องถึงกันท่ัวโลก เพราะฉะนั้น การศึกษาจะเป็นเคร่ืองมือท่ีจะช่วยเตรียมประชาชนให้มีความ
พร้อม มีภูมิคุ้มกันท่ีจะเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างเท่าทัน และสามารถปรับตัวได้อย่าง
เหมาะสม
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69