Page 45 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 45
นวัตกรรมการศึกษา เทคโนโลยีการศึกษาและสารสนเทศในวิชาชีพครู 11-35
2.7.2 คอ่ ย ๆ เปลย่ี นทลี ะสว่ น ในกรณีนี้จะเป็นการน�ำระบบใหม่เข้ามาใช้ทีละระบบตามความ
พร้อมของหน่วยงาน วิธีน้ีการเปล่ียนระบบจะค่อยเป็นค่อยไปทีละหน่วยงานจนครบท้ังระบบ ซ่ึงจะใช้เวลา
นานในการเปลี่ยนระบบ แต่ก็มีข้อดี คือ ท�ำให้ตรวจสอบข้อบกพร่องของระบบได้ง่ายเน่ืองจากเป็นการ
ตรวจสอบระบบเล็ก ๆ ทีละระบบ
2.7.3 ใช้ระบบเก่าควบคู่กับระบบใหม่ เป็นการน�ำระบบใหม่มาใช้ควบคู่กับระบบใหม่ไปสัก
ระยะหน่ึง เม่ือผู้ใช้งานคุ้นเคยกับระบบใหม่แล้วจึงค่อยปรับใช้ระบบใหม่ วิธีน้ีค่อนข้างจะเปลืองเวลาและ
แรงงานมาก เนื่องจากจะต้องท�ำงานท้ังกับระบบใหม่และระบบเก่า
2.8 การบำ� รงุ รักษาระบบ (systems maintenance) เมื่อได้น�ำระบบสารสนเทศใหม่มาใช้แล้ว ก็มิใช่
ว่าการพัฒนาระบบจะเสร็จส้ิน งานท่ียังจะต้องท�ำต่อไป คือ การบ�ำรุงรักษาระบบ เพราะหลังจากใช้งานก็มัก
จะพบว่าระบบยังมีข้อบกพร่องท่ีต้องแก้ไขอยู่อีก หรือจะต้องมีการปรับปรุงหรือปรับเปล่ียนให้ระบบสมบูรณ์
ข้ึน จะต้องมีการบ�ำรุงรักษาและปรับปรุงอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพดีอยู่เสมอ หรือให้เหมาะสมกับ
สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยที ่ีเปลีย่ นไป การบำ� รงุ รกั ษานจ้ี ะตอ้ งท�ำอย่างต่อเนื่องและสม�่ำเสมอ และสดุ ทา้ ย
ก็คือจะต้องมีการประเมินระบบท่ีพัฒนาขึ้นมา ว่าสามารถใช้งานได้ผลตามที่ได้ออกแบบมาหรือไม่
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานปัจจุบันมีมากขึ้นตามล�ำดับ แต่การพัฒนาและน�ำไป
ใช้อย่างได้ผลน้ันจะต้องค�ำนึงถึงปัจจัยหลายประการ ได้แก่
1) ผู้บริหารจะต้องเข้าใจอย่างแท้จริงและให้การสนับสนุนอย่างต่อเน่ือง
2) ทรัพยากรด้านต่าง ๆ และงบประมาณต้องมีอย่างเพียงพอ
3) การวางแผนการพัฒนาต้องละเอียดรอบคอบ
4) การพิจารณาความเสี่ยงและข้อจ�ำกัดต่าง ๆ
5) ระบบติดตามและตรวจสอบการท�ำงานของระบบ
หากด�ำเนินการได้ตามนี้ การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาก็จะประสบผลส�ำเร็จได้
หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเร่ืองที่ 11.2.3 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 11.2.3
ในแนวการศึกษาหน่วยที่ 11 ตอนที่ 11.2 เร่ืองที่ 11.2.3